ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero

ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero

ความร่วมมือในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากนานาประเทศทั่วโลก ไทยในฐานะภาคีเครือข่ายที่ประกาศลดก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2065

ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ที่มีการลงทุนใน 17 ประเทศ และส่งออกสินค้ามากกว่า 40 ประเทศ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)

เส้นทางสู่ Net Zero ของซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ที่เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ (Feed) การเลี้ยงสัตว์ (Farm) และการแปรรูปอาหาร (Food) ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ ควบคู่กับแนวทางการดำเนินธุรกิจตาม BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

บริษัทแรกและบริษัทเดียวที่ยกเลิกใช้ถ่านหิน 100%

พีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้แสดงความมุ่งมั่นต่อองค์กร Science Based Target Initiative (SBTi) ช่วยภาคธุรกิจในการกำหนดเป้าหมายการ ลดก๊าซเรือนกระจกโดยอ้างอิงจากหลักการภูมิอากาศวิทยา (climate science) สอดคล้องกับเป้าหมายของ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยที่ซีพีเอฟได้กำหนดให้ใช้ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของซีพีเอฟทั่วโลกในปี 2020 เป็นปีฐาน เพื่อวางแผนและกำหนดเป้าหมายของซีพีเอฟทั่วโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ Net Zero


 

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงคิดเป็น 15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก ซึ่ง ซีพีเอฟ เป็นบริษัทแรกในไทยที่ประกาศยกเลิกใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในประเทศไทย ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 190,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเทียบกับการปลูกต้นไม้ 18 ล้านต้น หรือ 88,000ไร่ โดยใช้พลังงานชีวมวล (Biomass) ประเภทไม้สับ ซึ่งเป็นไม้โตเร็วในเขตร้อนชื้น เป็นเชื้อเพลิงใน boilers เพื่อผลิตไอน้ำทดแทนการใช้ถ่านหินในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมด 12 โรงงาน

ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero

สัดส่วนพลังงานทดแทน 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) โดยปัจจุบัน สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 690,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หรือเทียบกับการปลูกต้นไม้จำนวน 73 ล้านต้น ถือเป็น 1 ใน 5 องค์กรในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารและมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุด โดยพลังงานหมุนเวียนที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 65 เมกะวัตต์ และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 100 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2568
 

ฟาร์มสุกร-คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ใช้ไบโอแก๊ส

ซีพีเอฟ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในฟาร์มสุกร โดยนำระบบไบโอแก๊ส (Biogas) มาเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทน เป็นต้นแบบของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ใหักับหน่วยธุรกิจอื่นๆ และถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรรายย่อย (คอนแทรค ฟาร์มมิ่ง) เพื่อร่วมกันผลักดันภาคปศุสัตว์มีส่วนร่วมในการ ลดภาวะโลกร้อน ให้กับโลกอย่างยั่งยืน โดยนำมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม ช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าในฟาร์มสุกรของบริษัททั้ง 98 แห่ง ได้ถึง 50-80% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมด เช่นเดียวกับในคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 7 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ร้อยเอ็ด อุดรธานี จันทบุรี และสงขลา ผลิตไบโอแก๊สจากมูลไก่เป็นกระแสไฟฟ้าใช้เองในสถานประกอบการ ช่วยลดกลิ่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าลง 70-80% โดยทั้งในส่วนของฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ที่มีการติดตั้งระบบไบโอแก๊ส ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 490,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero

มุ่งมั่นผลิตผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อน

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน  ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Products) ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น หมู ไก่ กุ้ง และอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กว่า 700 รายการ ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และ 30 รายการ ได้รับรองฉลากลดโลกร้อน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 1.483   ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ล่าสุด อบก. รับรองฉลากลดโลกร้อน “ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่สด” ของซีพีเอฟ  25 รายการ ได้แก่ ไข่ไก่เคจฟรี และไข่ไก่สดปลอดสารขนาดบรรจุต่างๆ ซึ่งประมาณการผลิตภัณฑ์ไข่ไก่สดสามารถช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้นกว่า 532,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

การวัดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์และจัดทำฉลากลดโลกร้อนของผลิตภัณฑ์ ทำให้ในปี 2022 บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียว (CPF Green Revenue) ที่ 33% พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050

ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero

ชูนโยบาย Biodiversity ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า

อีกด้านหนึ่ง บนเส้นทางสู่ Net Zero ของซีพีเอฟ ชูนโยบายร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ประกาศนโยบายต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า 100% ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) รวมไปถึงการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับทำอาหารสัตว์ มาจากแหล่งผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ช่วยปกป้องพื้นที่ป่าไม้ได้ถึง 2 ล้านไร่ และภายในปีพ.ศ. 2573 วัตถุดิบหลักอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง จะมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดเช่นกัน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการ 

ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero ซีพีเอฟ บนเส้นทางร่วมกู้วิกฤติภาวะโลกร้อน สู่ Net Zero