เทียบฟอร์มFTA ในอาเซียน ไทยแพ้ขาด เวียดนาม-อินโดนีเซีย

เทียบฟอร์มFTA ในอาเซียน ไทยแพ้ขาด เวียดนาม-อินโดนีเซีย

ชำแหละ FTA ไทย กับ คู่แข่งทางการค้า”เวียดนาม-อินโดนีเซีย “ ไทยแพ้ขาดลอย ทั้งจำนวนประเทคู่ภาคี FTA ของไทยและมูลค่าการส่งออก ส่งผลให้เวียดนาม-อินโดนีเซีย  มีแต้มต่อทางการค้ามากกว่าไทย จี้เร่งดินหน้าเจรจFTA ต่อเนื่อง

การเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) หรือเอฟทีเอ ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ไทย  ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศ  เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่ไม่ใช่ภาษี โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ที่จัดทำไว้ ระบุว่า ปัจจุบันไทยมี FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้วทั้งหมด 15 ฉบับ ครอบคลุม 19 ประเทศ แบ่งเป็นแบบทวิภาคี  6 ฉบับ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย เปรู ชิลี   ระดับภูมิภาค 8 ฉบับ ได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาเซียน-จีน , อาเซียน-ญี่ปุ่น ,อาเซียน-เกาหลีใต้ ,อาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ,อาเซียน-อินเดีย ,อาเซียน-ฮ่องกง และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป ( Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

โดยฉบับล่าสุด คือ เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2567 ซึ่งรัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีฉบับที่ 15 ร่วมกับประเทศศรีลังกา (SLTFTA) ถือเป็นฉบับแรกภายใต้รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

เทียบฟอร์มFTA ในอาเซียน ไทยแพ้ขาด เวียดนาม-อินโดนีเซีย

 

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่ง  คือ เวียดนาม มีเอฟทีเอ 16 ฉบับคลอบคลุม 45 ประเทศ แบ่งเป็นระดับทวิภาคี 7 ฉบับ ได้แก่ ญี่ปุ่น ชิลี เกาหลีใต้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย คิวบา  สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร และระดับภูมิภาค  9 ฉบับ ได้แก่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาเซียน-จีน , อาเซียน-ญี่ปุ่น ,อาเซียน-เกาหลีใต้ ,อาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ,อาเซียน-อินเดีย ,อาเซียน-ฮ่องกง และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป และความตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนการค้าระหว่างภาคพื้นแปซิฟิก ( ซีพีทีพีพี )

ประเทศอินโดนีเซีย มี FTA  14 ฉบับ คลอบคลุม 22 ประเทศ แบ่งเป็นแบบทวิภาคี  6 ฉบับ ประกอบด้วย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ชิลี ออสเตรเลีย สมาคามการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และระดับภูมิภาค  8 ฉบับ  ได้แก่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อาเซียน-จีน , อาเซียน-ญี่ปุ่น ,อาเซียน-เกาหลีใต้ ,อาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ,อาเซียน-อินเดีย ,อาเซียน-ฮ่องกง และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป

เมื่อเทียบฟอร์มแล้วในการจัดทำ FTA  ไทยมีจำนวนประเทคู่ภาคี FTA  ของไทยน้อยกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย คลอบคลุมภูมิภาคเอเชีย โดเชียเนียและอเมริกาใต้ ขณะที่เวียดนามมี FTA   คลอบคลุมภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกาใต้ สหราชอาณาจักร แคนาดา เม็กซิโก โอเชียเนีย อเมริกาเหนือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย และคิวบา 

ส่วนอินโดนีเซียมี FTA   คลอบคลุมภูมิภาคเอเชีย โอเซียเนีย ยุโรป อเมริกาใต้ และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เป็นประเทศที่ไทยยังไม่มี FTA   ทำให้เวียดนามและอินโดนีเซียมีแต้มต่อทางการค้ามากกว่าไทย

ทั้งนี้ในปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าไปยังคู่ภาคี FTA มูลค่า  167,200 ล้านดอลลาร์ เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังคู่ภาคีFTA   มูลค่า 223,891 ล้านดอลลาร์ และอินโดนีเซียส่งออกสินค้าไปยังคู่ภาคีมูลค่า 181,666 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้การส่งออกสินค้าประเทศภาคีFTA ของเวียดนามและอินโดนีเซียที่ไทยยังไม่มี FTA  มูลค่า 39,975 ล้านดอลลาร์

เทียบฟอร์มFTA ในอาเซียน ไทยแพ้ขาด เวียดนาม-อินโดนีเซีย

“พาณิชย์จะต้องเร่งเครื่องเดินหน้าเจรจา FTA กับประเทศคูค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ขณะเดียวกันต้องเร่งส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยเพื่อให้มีความพร้อมในการปรับตัวภายใต้กรอบกติกาของโลกได้อย่างท่วงที”นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผอ. สนค.กล่าว

ปัจจุบันมีเอฟทีเอที่ไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา มี 7 ฉบับ โดยข้อตกลงที่คาดว่าจะเจรจาเสร็จสิ้นในปี 2567 ได้แก่ ข้อตกลงไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (CEPA) และข้อตกลงไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (TH-EFTA FTA)  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ โดย EFTA เป็นกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปที่ไทยยังไม่เคยมีเอฟทีเอ ด้วย ส่วนข้อตกลงเอฟทีเอ ที่คาดว่าจะเจรจาสำเร็จในปี 2568 ได้แก่ เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป (TH-EU FTA) และเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา (ACAFTA) ขณะที่เอฟทีเอที่มีแนวโน้มการเจรจาเสร็จสิ้นหลังปี 2568 ได้แก่เอฟทีเอไทย-ปากีสถาน ( PATHFTA), และเอฟทีเอไทย-ตุรกี (TRTHFTA) เป็นต้น

ทั้งนี้ยัง มีแผนที่จะเปิดการเจรจา FTA ฉบับใหม่เพิ่มเติม เช่น FTA ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ภูฏาน ไทย-อิสราเอล ไทย-สหราชอาณาจักร ไทย-กลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ไทย-สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ (SACU) ไทย-กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (PA) ไทย-ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (Mercosur) และไทย-กลุ่มประชาคมแอฟริกาตะวันออก (EAC)

จากข้อมูลเบื้องต้น ก็ยิ่งตอกย้ำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งเดินหน้าเจรจาFTA ให้คลอบคลุมประเทศคู่ค้าให้มากขึ้นเพื่อสร้างแต้มต่อทางการค้าให้กับประเทศ