เส้นทาง “เทพรัตน์”ว่าที่ผู้ว่ากฟผ. ลุ้นต่อ“พลังงาน-ครม.”เห็นชอบ

เส้นทาง “เทพรัตน์”ว่าที่ผู้ว่ากฟผ.  ลุ้นต่อ“พลังงาน-ครม.”เห็นชอบ

การเปลี่ยนผ่านด้านการบริหารงานสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ อย่าง กฟผ.ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบขณะเดียวกันก็มีเงื่อนไขของห่วงเวลาที่ต้องไม่ล่าช้าจนสร้างความเสียหายต่อแผนการทำงานโดยรวม

สำหรับองค์กรใหญ่อย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รอว่าที่ผู้ว่าการคนใหม่มานานหลายเดือนหากนับตั้งแต่

ผู้ว่าการคนเดิมคือบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.ที่ได้ครบวาระไปแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2566ทำให้แผนการลงทุนและการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆล่าช้าออกไป 

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 10 รายชื่อคณะกรรมการบริหาร กฟผ. (บอร์ดกฟผ.) ชุดใหม่ภายหลังมีการเปิดรับสมัครตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งบอร์ดกฟผ. ได้เข้าสู่ขั้นตอนการแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คนใหม่ (คนที่ 16)

ล่าสุด คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 มีมติเห็นชอบการยืนยันเสนอชื่อให้นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. ตามที่คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการเสนอ โดยขั้นตอนจากนี้ กฟผ. จะนำเสนอกระทรวงพลังงาน และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

สำหรับนายเทพรัตน์ เคยมีชื่อเข้าสู่การพิจารณาเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่ากฟผ.หลายครั้งโดยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 2 พ.ค. 2567 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเป็นประธานเห็นชอบให้นายเทพรัตน์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่ากฟผ.แต่ผลการพิจารณาครั้งนี้ ต้องส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาซึ่งการประชุมครม.เมื่อ 6 มิ.ย.2567  ได้รับทราบผลการพิจารณากกต. ในเรื่องต่างๆที่รัฐบาลรักษาการได้เห็นชอบแล้วส่งให้ กกต.พิจารณาตามขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เสนอให้ที่ประชุม ครม.รับทราบในส่วนของผลการพิจารณาผู้ว่ากฟผ. คนใหม่นั้น กกต.ไม่อนุมัติตามที่ ครม.เสนอเนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ควรรอการพิจารณาของรัฐบาลใหม่ก่อน

 ต่อมา กกต. ได้ส่งหนังสือกลับมาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)วันที่ 6 ก.ย. 2566 โดยเนื้อหาใจความระบุว่า ตามที่ครม. ได้เคยส่งเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการ กฟผ. มา ให้ทบทวน บัดนี้ เมื่อได้รัฐบาลใหม่ จึงไม่อยู่ในกรอบที่ กกต. จะพิจารณา จึงได้ส่งเรื่องคืนดังนั้น สลค.

จากนั้นเมื่อ 13 ก.พ.2567 ครม.อนุมัติคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือบอร์ด กฟผ.ชุดใหม่และที่ประชุมวาระแรกได้ข้อสรุปชื่อผู้ว่ากฟผ.คนใหม่แล้ว สำหรับภารกิจเร่งด่วนที่ผู้ว่าการ กฟผ. ท่านใหม่จะต้องเร่งดำเนินการ ประกอบด้วย

1. การแก้ปัญหาด้านวิกฤติพลังงานโดยเฉพาะสถานการณ์ด้านเชื้อเพลิง ที่ต้องการ ผู้ว่าฯ เป็นผู้ตัดสินใจ 2. การบริหารสภาพคล่องจากการร่วมรับภาระค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ที่เหลืออีกกว่า 9 หมื่นล้านบาท แทนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ รวมถึงการแก้ปัญหาค่าเชื้อเพลิงด้วย

3. แก้ปัญหาผลกระทบต่อการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาล ที่หาก กฟผ. จะต้องกู้เงินเพิ่มจะต้องให้รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งวงเงินที่สามารถค้ำประกันให้แก่หน่วยงานรัฐในภาพรวมอาจไม่เพียงพอทั้งนี้ ที่ผ่านมา กฟผ. ได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง และบริหารภาระค่า Ft แล้ว รวม 110,000 ล้านบาท ซึ่งหาก กฟผ. ต้องไปกู้เงินเพิ่ม สัดส่วนหนี้ของ กฟผ. จะสูงเกินไปกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของ กฟผ. ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น รวมถึงกระทบต่อเพดานหนี้สาธารณะของประเทศขยับตัวสูงขึ้นด้วย

4. จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ปรับลดค่าไฟฟ้างวดเดือนก.ย.-ธ.ค. 2566 จากมติสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)เดิมที่ 4.45 บาทต่อหน่วย เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย รวมถึงงวดเดือนม.ค.-เม.ย. 2567 รับภาระเหลือ 4.18 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้กฟผ. จะต้องแบกรับภาระค่า Ft ต่อไปอีก ซึ่งเดิมจะได้รับเงินชดเชยราวงวดละ 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะรับภาระถึงงวดเดือนเม.ย. 2568 นั้น อาจจะต้องขยายไปจนถึงงวดสิ้นปี 2568

ตามขั้นตอนกว่าจะได้ผู้ว่ากฟผ.คนใหม่ต้องผ่านทั้ง กระทรวงพลังงาน และรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปซึ่งคราวนี้คาดว่าขั้นตอนต่างๆจะผ่านฉลุยและได้เริ่มทำงานกันเสียที