‘ครม.’ ไฟเขียว ‘แพคเกจ EV 3.5’ 3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าต่อเนื่อง

‘ครม.’ ไฟเขียว ‘แพคเกจ EV 3.5’  3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าต่อเนื่อง

"เศรษฐา" นั่งหัวโต๊ะ "ครม." ไฟเขียวมาตรการ "แพคเกจ EV 3.5" วงเงิน 3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าในไทยให้เติบโตต่อเนื่อง

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) ระยะเวลา 4 ปี (2567-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เสนอ

โดยเป็นมาตรการที่จะสนับสนุนการใช้รถ EV ในประเทศไทยต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3.0 ทีจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนผลิต EV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้มาตรการ EV -3.5 จะเริ่มเริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 ไปจนถึง 31 ธ.ค.2570

สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะมีผลใช้บังคับในช่วงปี 2567 - 2570 โดยครอบคลุมทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยสิทธิประโยชน์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้

  1. กรณีรถยนต์ฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kVh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คันในปีที่ 1 75,000 บาท/คัน ในปีที่ 2 และ 50,000 บาท/คัน ในปีที่ 3 - 4 สำหรับรถที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 50,000 บาพ/คัน ในปีที่ 1 35,000 บาพ/คัน ในปีที่ 2 และ 25,000 บาท/คัน ในปีที่ 34
  2. กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ
  3. กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 KWh จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน ตลอดระยะเวลา 4 ปี เฉพาะส่วนที่ผลิตในประเทศ

นอกจากนี้ ภายใต้มาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรขาเข้าไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า สำเร็จรูป (CBU) ที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 - 2568) และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจาก ร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับ

ส่วนการสนับสนุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ในปี 2570 โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 แล้วหากมีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ให้สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ของแต่ละมาตรการ ภายใต้มาตรการ EV3.5

กรมสรรพสามิตคาดว่าจะมียานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนตลอดระยะเวลา 4 ปี จำนวนประมาณ 830,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถนต์ไฟฟ้า 454,000 คัน รถจักรยานนต์ไฟฟ้า 346,000 คัน และรถกระบะ ไฟฟ้า 30,000 คัน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 34,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 4 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการEV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงปลายปี 2566 สามารถยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567

ทั้งนี้ บีโอไอจะร่วมกับกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงาน จัดการ ประชุมผู้ประกอบการรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของมาตรการ EV 3.5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและ เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ประกอบการและ

หน่วยงานภาครัฐ ในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ C asean ห้องประชุม Auditorium ชั้น 10 อาคาร CW Tower ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ