"เศรษฐา" อาสาเป็น "เซลส์แมน" นำทีมประเทศไทย โรดโชว์เปิดตลาดการค้า - ดึงลงทุน

"เศรษฐา" อาสาเป็น "เซลส์แมน" นำทีมประเทศไทย โรดโชว์เปิดตลาดการค้า - ดึงลงทุน

“เศรษฐา” ปลุกโรดโชว์ เปิดตลาดให้สินค้าไทย ทำหน้าที่นายกฯ เซลส์แมน เตรียมพานักธุรกิจ – ตลาดหลักทรัพย์ โรดโชว์ต่างประเทศในฐานะทีมประเทศไทย สั่งทูตประเทศสำคัญเจรจาเอกชน ลั่นลงทุนระบบน้ำ สร้างเงินหมุนเวียนในประเทศกว่า 90% ของการลงทุน ฟื้นภาคประมงไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว ในหัวข้อ “The Big Change: Empowering Thailand’s Economy” ภายในงาน “Thailand Economic Outlook 2024 Change the Future Today” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” วันนี้ (4 ต.ค.66) ว่าการพูดเรื่องเศรษฐกิจไทยจากมุมมองของหลายคนที่มองว่าประเทศไทย เป็นเหมือนรถที่เก่า และวิ่งช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นเรื่องที่มีมุมมองตรงกัน เพราะตนก็มาจากภาคธุรกิจเราเห็นตรงกันในเรื่องของปัญหาอุปสรรคที่ขีดกั้นไม่ให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปข้างหน้าได้ แต่ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีวันนี้ ไม่อยากให้มองว่าเป็นนายกฯ แต่อยากให้มองในฐานะที่เป็นนักธุรกิจคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากทุกท่าน ให้มานำพาประเทศไทย ก้าวข้ามอุปสรรค และก้าวไปข้างหน้าได้

\"เศรษฐา\" อาสาเป็น \"เซลส์แมน\" นำทีมประเทศไทย โรดโชว์เปิดตลาดการค้า - ดึงลงทุน

“วันนี้ผมไม่อยากให้มองว่าเป็นนายกฯ แต่อยากให้มองในฐานะที่เป็นนักธุรกิจคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากทุกท่านให้มานำพาประเทศไทย ไปสู่จุดหมายที่สามารถไปถึงได้ จะได้มีความเข้าอกเข้าใจร่วมกันแล้วคิดตามบริบทของผมไปด้วยว่า อยู่ในสถานะเดียวกัน การที่เราเหมือนรถยนต์ที่ยังวิ่งช้าเหมือนกับเปรียบเทียบว่าเราสู้เพื่อนบ้านไม่ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงตัวเลขที่ออกมาก็เป็นตัวชี้วัดที่ต่างกรรมต่างวาระ เราก็ไม่ควรพูดถึงรัฐบาลก่อน เพราะท่านเองก็มีปัญหา และข้อจำกัด แต่ในช่วงที่มีเวลาที่วิธีแก้ไขเวลานี้เป็นเวลาของรัฐบาลนี้เราก็ต้องทำต่อไปให้ได้ดีที่สุด”นายกรัฐมนตรีกล่าว

ทั้งนี้ยอมรับว่าเครื่องยนต์ของประเทศวันนี้ เดินช้ามาก ในช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยออกไปเชิญชวนนักลงทุนในต่างประเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม ออกไปติดต่อกับต่างประเทศเยอะมาก ผู้นำของเขาเป็นเหมือนกับเซลส์แมน ซึ่งหน้าที่ของผมก็คือ เซลส์แมน ต้องออกไปขายความเชื่อมั่น ไปขายให้นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นในประเทศไทย ให้ได้ เป็นหน้าที่ และภารกิจหลักที่จะทำให้ประเทศมีการลงทุนมากขึ้น  และเรื่องนี้ต้องช่วยกันทำในหลายๆ ภาคส่วน เช่น ต่อไปนี้ทูตที่อยู่ในประเทศสำคัญๆ ต้องพบปะนักลงทุนมากขึ้น และจะต้องไม่กลัวนักลงทุน ต้องไม่กลัวที่จะเจอภาคเอกชน

รัฐบาลต้องไม่กลัวเวลาเจรจาทวิภาคีกับต่างชาติต้องยอมที่จะให้นักธุรกิจไปด้วย โดยจะเห็นบริษัทที่มีความพร้อมจะไปโรดโชว์ในต่างประเทศ มีความภาคภูมิใจในการออกไปพบปะกับนักลงทุนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นที่ยุโรป ที่อเมริกา ทั่วทุกภูมิภาค เรามีนโยบายอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรพูดให้หมดอธิบายให้เข้าใจ เราจะมีบริษัทใหญ่ตามไปด้วยในระยะกลาง และในระยะยาว เราจะมีบริษัทขนาดกลางติดตามไปด้วย ถือเป็นการออกไปเชื้อเชิญการไปบอกกล่าวว่าประเทศไทยคือ สถานที่ ที่เขาควรจะมาลงทุน

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า องค์กรของรัฐที่ต้องมีการปรับปรุงการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยมีการพูดคุยกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยนั้นมีความแข็งแกร่งต้องเป็นศูนย์กลางในการเอาบริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ต้องออกไปโรดโชว์ส่งสัญญาณว่าประเทศไทยเป็นแหล่งระดมทุนที่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้ และถือว่าส่งสัญญาณว่าประเทศไทย มีความเหมาะสมในการลงทุน

 

\"เศรษฐา\" อาสาเป็น \"เซลส์แมน\" นำทีมประเทศไทย โรดโชว์เปิดตลาดการค้า - ดึงลงทุน

“เราไปในฐานะทีมไทยแลนด์เราต้องมาช่วยกันพูด ช่วยกันให้ความมั่นใจกับนักลงทุนตรงนี้จะเป็นบริบทใหม่ในการทำงานของรัฐบาลนี้ ในการที่ผมเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าไม่ขัดกับกฎหมายหรือหลักนิติธรรมที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ ที่รัฐบาลสามารถทำได้ อยากเชิญผม อยากให้ทุกท่านมีความพร้อมในการที่จะเดินทางออกไปร่วมกับผม ไปช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามา เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ช่วยยกระดับ ความมั่นใจที่ทั่วโลกจะมีให้เราถือเป็น  “next step” และ “next chapter” ของไทยที่เราเปิดประเทศอย่างเต็มที่”  

   สำหรับการปรับปรุงเรื่องอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุน เช่น ในเรื่องของระบบกฎหมายที่ยังมีความซับซ้อนไม่เอื้อให้เกิดการทำธุรกิจที่ตรงไปตรงมา ถามว่าเรื่องนี้ง่ายหรือไม่ ไม่ง่ายแต่ต้องมีความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ บริษัทที่ตนไปเจอหลายบริษัทไม่ได้ลงทุนนอกประเทศเป็นครั้งแรกแต่ลงทุนในหลายประเทศหลักการคิด และการที่ตกลงกับหลายประเทศเป็นหลักการที่เป็นอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยมีหลักการอยู่เยอะบางหลักการก็ไม่เป็นอินเตอร์เราก็ต้องทำลายกำแพงตรงนี้ ให้ได้เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยเรามีความพร้อมที่จะเปิดประตูในการแข่งขันให้เต็มที่ ถือว่าเป็นภารกิจใหญ่ของประเทศไทย ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

“ภารกิจนี้เป็นภารกิจใหญ่แล้ว ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ง่าย ผมไม่สามารถทำคนเดียวไม่ได้ เอกชนต้องร่วมด้วยช่วยกันต้องมีความเชื่อ ต้องมีความหวังว่าถ้าเราไปด้วยกัน เราจะทำได้ เราจะเชิญต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ ในบริบทใหม่ของกระทรวงการต่างประเทศ ออกจากจัดการเรื่องของโปรโตคอลกระทรวงการต่างประเทศ ก็ต้องมีเซลส์แมนที่ดีต้องเป็นหัวหอกสำคัญออกจากจัดการเรื่องของโปรโตคอลกระทรวงการต่างประเทศ ก็เจรจาติดต่อเอฟทีเอควบคู่กับกระทรวงพาณิชย์ รัฐบาล และตัวของนายกรัฐมนตรีเองเพื่อที่จะเปิดประตูการค้าขายให้ได้มากขึ้น”

สำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เริ่มจากภาคที่มีคนอยู่มากคือ ภาคเกษตรกรรมของไทย ถือว่าเป็นภาคส่วนที่น่าสงสารมากที่สุดภาคหนึ่ง เพราะคนจำนวนมากยากจน และขาดความรู้ การที่เราต้องพักหนี้ 13 ครั้งในระยะเวลา 9 ปี และพักหนี้อีกเป็นครั้งที่ 14 ไม่ได้เป็นความประสงค์ของเกษตรกร เพราะตัวของเกษตรกรเองก็มีศักดิ์ศรี เกษตรกรเองก็อยากที่จะประกอบอาชีพ อยากที่จะมีรายได้มีการใช้หนี้ใช้สินได้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องช่วยเหลือจุนเจือ แต่เหตุผลที่เราต้องพักหนี้ พักแล้วพักอีก พักแล้วไม่จบก็เพราะมีปัญหาหลายด้านในภาคเกษตร และแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ซึ่งทำไปแล้วในเรื่องของการลดค่าของชีพ เช่น การพักหนี้เกษตรกรทำเป็นครั้งที่ 14 แต่รัฐบาลจะไม่ประกัน จำนำ แต่จะเน้นรายได้สุทธิ รายได้เกษตรกร ซึ่งรายได้เกษตรจะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในสี่ปีนี้ โดยการที่ไปเปิดตลาดใหม่ใหม่อย่างเช่น ตลาดในแอฟริกาตลาดที่ไม่มีความมั่นคงในอาหาร ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงในอาหาร ประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางอาหารสูงขึ้นอยู่ด้วยในอนาคต เราต้องสนับสนุนเขา ต้องให้องค์ความรู้เกษตรกร เราต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ต้องสร้างมูลค่าให้กับสินค้าไทยเพื่อให้รายได้เข้ากระเป๋าเกษตรกรให้ได้มากยิ่งขึ้น

ในประเด็นแรกคือ เรื่องไม่ท่วม ไม่แล้ง ถ้าแก้ได้ รัฐบาล มีนโยบาย แต่หากเราทำได้สำเร็จเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะไปได้ไกลมากกว่านี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเรื่องน้ำเป็นเรื่องที่เราต้องทำทั้งระบบ เมื่อวานนี้ตอนเย็นตนเข้าไปที่พรรคเพื่อไทย เพื่อที่จะเจอ สส. ไปคุยกับ สส.มีคนพูดเรื่องน้ำท่วม หลายพื้นที่มี สส.12 คน เข้ามาพูด เรียนตรงๆ ว่างง สับสน จนมี สส. คนหนึ่งมาบอกว่าเป็นภาคอีสานทั้งหมด ต้องจัดการบูรณาการเรื่องน้ำอธิบายให้ สส.ฟัง ว่าการบริหารจัดการน้ำทั้งว่าการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดไม่ให้ท่วมให้แล้งมีอะไรบ้างแล้ว แผนระยะยาวของรัฐบาลจะมีอย่างไร ที่ไม่ให้เกิดปัญหานี้เกิดขึ้นในภาพรวม ตนได้พูดคุยกับคุณวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ โดยให้ข้อมูลว่าถ้าลงทุนในระบบไฮเทคซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และเหมาะสมจะทำ แต่การส่งเสริมการลงทุนแบบนี้เงินจะออกไปนอกประเทศ 90% แต่ในทางกลับกัน ถ้าลงทุนในระบบน้ำ และชลประทานทุกๆ 100 บาท เช่น การลงทุนไม่ท่วมไม่แล้ง เงินจะอยู่ในประเทศ 90% เพราะใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนเป็นเทคโนโลยีในประเทศ

“รัฐบาลนี้สนับสนุนเรื่องนี้ สัปดาห์นี้ผมจะลงไปในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมทุกปี และเชื่อว่าใน 3 เดือนจากนี้ จะเกิดเรื่องของการลงทุนที่ชัดเจนแล้วมีอะไรดีขึ้นรออยู่”

ส่วนเรื่องอุตสาหกรรมน้ำในอุตสาหกรรม หากกำลังเชิญชวนเอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนซึ่งในเรื่องของไฮเทคเทคโนโลยีแต่เรื่องของอิเล็กทรอนิกส์มีความต้องการน้ำอย่างมาก รัฐบาลต้องให้ความมั่นใจ และให้เขามีความมั่นใจได้ในเรื่องน้ำ รัฐบาลต้องให้ความมั่นใจ และให้เขามีความมั่นใจได้ในเรื่องน้ำถ้าหากทำให้เค้ามั่นใจไม่ได้ก็จะมีปัญหาในเรื่องการดึงดูดนักลงทุน เรายืนยันแล้วเราต้องทำให้ได้ เวลาผมเดินทางไปต่างประเทศไปคุยไปติดต่อกับบริษัทขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นไมโครซอฟต์ Google เทสลา หรือว่าบริษัท ไมโครชิพอื่นๆ ที่เรากำลังจะทำต่อไปนี้เป็นการลงทุนนับล้านล้านบาท เราอยากให้เขาเข้ามา และยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้สูงขึ้นเพื่อทำให้จีดีพีของเราโตให้ได้ไม่ยังงั้นจีดีพีของเราจะโตไม่ได้ไม่ยังงั้นขีดความสามารถในการแข่งขันของเราจะเติบโตไม่ได้

อีกภาคส่วนที่น่าสงสารคือ เรื่องของภาคประมง เราเคยส่งออก 3.5 แสนล้านบาท วันนี้เราต้องนำเข้า 5 แสนล้าน แต่วันนี้ตั้งใจว่าต้องฟื้นฟูภาคประมงให้มาส่งออกได้มากขึ้น เพื่อให้ประมงไทยกลับมาดำรงชีวิตต่อเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในอาหาร เราสามารถทำการประมงไปในน่านน้ำอื่นๆ ได้ในทรัพยากรที่มีความพร้อมเราต้องเตรียมความพร้อมให้กับชาวประมงทั้งอุปกรณ์ แล้วก็ความรู้ซึ่งในโลกยังมีตลาดของอาหารทะเลอยู่เยอะมาก เราก็ต้องไปเจรจากับ EU เรื่อง IUU เราต้องต่อรองกันใหม่ เพราะตลาด EU เราส่งออกไปแค่ 8% เท่านั้น