'ทีพีไอพีพี' ทุ่ม 1.2 หมื่นล้าน ชูนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียวปี 2569

'ทีพีไอพีพี' ทุ่ม 1.2 หมื่นล้าน ชูนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียวปี 2569

"ทีพีไอพีพี" ทุ่ม กว่า 1.2 หมื่นล้าน ดันนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียว มั่นใจ ปี 2569 เดินทางสู่เป้าหมาย Net Zero แนะรัฐสร้างแรงจูงใจดันตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทย  

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP กล่าวในงานสัมมนา ROAD TO NET ZERO : โอกาสความท้าทายทางธุรกิจ จัดโดย "ฐานเศรษฐกิจ" ใน Session :  Net zero-Carbon Credit ความท้าทายกับโอกาสทางธุรกิจ หัวข้อ Net Zero : ความท้าทายกับโอกาสทางธุรกิจ ว่า บริษัทจะใช้กลยุทธ์สู่เป้าหมาย Net Zero คือ  Journey to Net Zero  

ดังนั้น ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจถึงแผนดำเนินธุรกิจทั้งกลุ่ม คือ TPI ย่อมาจาก T: Technology ซึ่งทั้งกลุ่มบริษัทฯ จะใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อจะดำเนินธุรกิจ P : Products ซึ่งสินค้าที่จะผลิตยั่งยืนและดีที่สุดเพื่อตอบทุกโจทย์ของชีวิตลูกค้าและ I : Innovation หรือนวัตกรรมเพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ มีความยืนยัน โดยจะผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะผลิตสินค้าให้ดีที่สุด

"ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่ อินโนเวชั่น บริษัทฯ สัญญาจะเป็นผู้นำด้านธุรกิจขยะสู่พลังงาน และเป็นโรงไฟฟ้าสีเขียว 100% และเติบโตไปพร้อมกับ CSR สร้างความยั่งยืนไปพร้อมกับนโยบาย BCG

\'ทีพีไอพีพี\' ทุ่ม 1.2 หมื่นล้าน ชูนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียวปี 2569

สำหรับการเติบโตโดยเริ่มจากปี ค.ศ. 2019 จนถึงปี ค.ศ. 2021 บริษัทฯ มีกำลังการผลิต 440 เมกะวัตต์ โดย 40 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง ที่รับมาจากบริษัทแม่ อีก 220 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และอีก 180 เมกะวัตต์ เป็นไฮไลท์ คือ โรงไฟฟ้าขยะ ดังนั้น การเดินทางปี ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) บริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง 40 เมกะวัตต์ และจะเพิ่งกำลังผลิตจากโซล่าฟาร์มและวินเทอร์ไบน์อีก 85 เมกะวัตต์ และอีก 420 จะเป็นโรงไฟฟ้าขยะ และไม่มีถ่านหินเหลืออยู่เลย

นายภัคพล กล่าวว่า บริาทฯ จะมีการลงทุน 3 ส่วน คือ 1. เปลี่ยนโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าขยะ 2. สร้างโรงไฟฟ้าขยะนอกโรงงานของบริษัทฯ และ 3. เพิ่มโซล่าฟาร์มและวินเทอร์ไบน์ ดังนั้น อันดับแรกคือ เปลี่ยนโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าขยะเป็น 6 เฟส โดยเฟสที่ 1 ดำเนินการสำเร็จไปแล้วประมาณ 10% เฟสที่ 2 แล้วเสร็จไปตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา 15% ส่วนเฟสที่ 3 แล้วเสร็จเมื่อต้นปีที่ผ่านมา 15% รวมทั้งหมด 40% ที่สำเร็จไปแล้ว

ส่วนเฟสที่ 4 เฟส  5 และเฟส 6 กำลังปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จช่วงเดือนส.ค. 2567-เม.ย. 2568 จึงกล้าพูดได้ว่าภายในปี 2569 เป็นต้นไป จะกลายเป็น Net Zero 

ทั้งนี้ หากนับการเดินทางสู่เส้นทาง Net Zero ตั้งแต่ปี 2022 กำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 440 เมกะวัตต์ โดยเป็นถ่านหิน 220 เมกะวัตต์ ซึ่งมากถึง 50% ต่อมาปี 2024 กำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่ 513 เมกะวัตต์ มีถ่านหินลดลงเหลือเพียง 150 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วน30% และปี 2026 กำลังผลิตจะขึ้นเป็น 545 เมกะวัตต์ และจะเป็นไฟฟ้าสีเขียวทั้งหมด สู่เส้นทาง To be Green Power Plant-Coal Free  

\'ทีพีไอพีพี\' ทุ่ม 1.2 หมื่นล้าน ชูนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียวปี 2569    

สำหรับการลงทุนต่อไป จะสร้างโรงไฟฟ้าเล็ก ๆ นอกโรงงาน คือที่จังหงัดสงขลา จำนวน 7.92 เมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตก่อสร้างคาดจะเริ่ม COD ประมาณต้นปี 2568 ส่วนในจังหวัดนครราชสีมา อีก 9.9 เมกะวัตต์ คาดว่าจะ COD ได้ในปี 2569 ในขณะที่ Solar รวม 80 เมกะวัตต์ และ Wind 5 เมกะวัตต์ โดยโซลาร์ฟาร์ม จะทยอย COD ปี 2567-2568 ส่วน Wind Turbine จะ COD ปี 2569

"ทั้งหมดที่พูดมา คือ การที่เราเปลี่ยนแปลง คือการเปลี่ยนแปลงจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมาเป็นโรงไฟฟ้าขยะ ผสานพลังงานแสงอาทิตย์และลม ด้วยการลงทุนช่วงปี 2021-2026 กว่า 12,000 ล้านบาท"

นอกจากนี้ บริษัทฯ พร้อมจะเข้าไปช่วยบริหารจัดการบ่อขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้เข้าไปบริหารบ่อขยะที่จังหวัดนครราชสีมา บ่อขยะที่จังหวัดชลบุรี ทำให้พื้นที่สะอาดขึ้น ขยะหายไป สามารถกำจัดขยะ 60-70% และเชื่อว่า 5 ปีต่อจากนี้ จะกำจัดขยะออกได้หมด หลังจากนั้นเทศบาลสามารถเอาที่ดินไปทำเป็นโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สวนสาธารณะ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจใได้ดีกว่าการเป็นแค่บ่อขยะ ดังนั้น การที่บริษัทฯ ช่วยกำจัดขยะไม่ใช่ช่วยแค่สิ่งแวดล้อมแต่เป็นการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจด้วย 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนจากถ่านหินเป็นขยะ จะต้องใช้จำนวนขยะค่อนข้างเยอะ หลายคนบอกว่าขยะจะเป็นทองที่หายากซึ่งจริง ๆ แล้วขยะในประเทศไทยมีเยอะมาก โดยปริมาณก่อนเกิดโควิดมีถึง 71,000 ตันต่อวัน ซึ่งปัจจุบันต่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขยะเกิน 50% ของประเทศแล้ว ใช้ขยะเพียงแค่ 10,000 ตันต่อวัน ดังนั้นยังมีอีก 6 ใน 7 ของขยะที่ยังถูกทิ้งในบ่อขยะ ต่อให้เราเพิ่มกำลังการผลิตก็ยังไม่เพียงพอกับการกำจัดขยะทั้งหมดที่ยังถูกผลิตอยู่

สำหรับความท้าทายของการเป็นโรงไฟฟ้าสีเขียว คือ ตลาดคาร์บอน ซึ่งราคาซื้อขายต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป (EU) จะอยู่ที่ราว 80 ยูโร ส่วนจีนจะอยู่ที่ประมาณ 7 ดอลลาร์ในขณะที่ราคาของประเทศไทยไม่ได้ถึงเศษเสี้ยวของประเทศเหล่านั้น ดังนั้น การจะแก้ไขนั้น จึงจะขอยืมคำพูดของนักธุรกิจ อเมริกา เคยระบุว่า ศีลธรรมการทำความดีไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอกาสทางธุรกิจต่างหากที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นี่คือสิ่งที่ตนเคยพูดมา 2 ปีแล้ว ดังนั้น การที่เอกชนจะเข้าไปลงทุนเพื่อเป็น Net Zero ภาครัฐจะต้องมีแรงจูงใจมีการลงโทษสำหรับผู้ที่ยังไม่ทำและให้รางวัลสำหรับผู้ที่ดำเนินการอย่างจริงจัง