‘ครม.’ ไฟเขียวปรับขึ้นค่าแรง 17 สาขาอาชีพสาขาอุตสาหกรรม – บริการ

‘ครม.’ ไฟเขียวปรับขึ้นค่าแรง  17 สาขาอาชีพสาขาอุตสาหกรรม – บริการ

ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 17 สาขาอาชีพ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ชี้ปรับให้เหมาะสมกับความสามารถ จูงใจให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานและเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีมติเห็นชอบให้ "ปรับขึ้นค่าแรง" 17 สาขาอาชีพ ตามที่ กระทรวงแรงงาน ได้เสนอเพื่อเป็นการปรับอัตราค่าแรงงานให้มีความเหมาะสมกับความสามารถ

 
โดยการปรับอัตราค่าแรงครั้งนี้จะอยู่ใรสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลอด"ค่าแรง" และผู้ที่จะได้ปรับขึ้นค่าแรงจะต้องได้รับใบรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแล้วเท่านั้น   

 

สำหรับรายละเอียดการปรับขึ้นอัตรา "ค่าแรง" ตามมติ ครม. ทั้ง  3 สาชา 17 อาชีพ  มีรายละเอียดดังนี้  
 
สาขาช่างอุตสาหกรรม 


1.ช่างระบบถ่ายกำลัง    495 บาท 

2.ช่างระบบปั้มและวาล์ว 515  บาท

3.ช่องประกอบโครงสร้างเหล็ก 500 บาท

4.ช่างปรับ  500 บาท

5.ควบคุมระบบงานเชื่อมมิก-แม็กด้วยหุ่นยนต์ 520 บาท

6.ช่างเทคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม  545-715 บาท
สาขาช่างเครื่องกล 

7.ช่างซ่อมรถแทรกเตอร์การเกษตร   465-620 บาท 

8.ควบคุมเครื่องจักรรถตักหน้าขุดหลัง 585  บาท

9.ควบคุมเครื่องจักรรถขุด  570 บาท

10.ควบคุมเครื่องจักรรถลากจูง 555 บาท

11.ควบคุมเครื่องจักรตัก   520 บาท

สาขาภาคบริการ 

12นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด)  500-600 บาท

13.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (นักวารีบำบัด) 500-600 บาท

14.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ  (สุคนธบำบัด) 500-600  บาท

15.พนักงานผสมเครื่องดื่ม  475-600 บาท

16.การเลี้ยงเด็กปฐมวัย 530 บาท

17.ช่างเครื่องช่วยคนพิการ  520-600  บาท


 
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2555 คณะกรรมการจ้าชุดที่ 18-21 ได้ กำหนดอัตราค่าแรง ตามมาตรฐานฝีมือแรงแล้วจำนวน 112 สาขา เมื่อรวมกับที่กำหนดใหม่ในครั้งนี้อีก 17 สาขา รวมเป็น 129 สาขา 
 

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจะส่งผลให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีค่าจ้างที่เหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือแรงงาน ความรู้ ความสามารถและการจ้างงานในตลาดแรงงาน

ส่วนลูกจ้างทั่วไปการปรับ "ค่าแรง" ถือเป็นแรงจูงใจให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานและเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น  ด้านผู้ประกอบการสามารถคัดเลือกแรงงานที่ฝีมือดีเข้าทำงาน ซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและมาตรฐาน ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเพราะจะไม่เกิดความผิดพลาดระหว่างการผลิต
 
รวมทั้งการปรับอัตรา "ค่าแรง" ใน 17 สาขาอาชีพจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานฝีมือในสาขาอาชีพที่ขาดแคลน   นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็ยที่ยอมรับทั้งในปละต่างประเทศ 
 
ส่วนการบังคับใช้ หรือ หากมีการผ่านมติครม. แล้ว นั้นลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแห่งชาติใน 17 สาขา ไม่วาก่อนหรือหลังที่มีการออกประกาศและมีผลบังคับใช้ หากมีความต้องการจะใช้สิทธิ์ให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในอาชีพและสาขาและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว  และเมื่อนายจ้างได้รับหนังสือแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้าง

นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป  หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ