‘เจ เวนเจอร์ส’ เปิดทางกลุ่มเจมาร์ท เดินหน้าดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น

‘เจ เวนเจอร์ส’ เปิดทางกลุ่มเจมาร์ท เดินหน้าดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น

‘เจ เวนเจอร์ส’ เรือธง ของกลุ่ม บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)หรือ JMART ในการลงทุนธุรกิจด้านเทคโนโลยี ถืิอเป็น 1 ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่ตั้งเป้าลงทุนในอนาคต เสริมแกร่งรายได้

นายกิติพัฒน์ ชลวุฒิ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่า ‘เจ เวนเจอร์’ บริษัทย่อยของเจมาร์ทซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี เตรียมเข้าลงทุนบริษัทบริษัท พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป จำกัด หรือ PRTR เป็นบริษัทจัดหางานระดับแนวหน้าของประเทศไทยจำนวน 90 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 15% มีมูลค่าตามราคาที่ IPO ซื้อขายวันแรก สู่การเป็นพาร์ทเนอร์เพื่อเสริมกลยุทย์การลงทุนระยะยาว และเชื่อมต่อบริษัทในเครือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเทคโนโลยีที่เจเวนเจอร์สมีไปช่วยเสริมบริษัทพาร์ทเนอร์ให้สามารถเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับJMART ด้วย

นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด กล่าวว่า ‘เจ เวนเจอร์ส’ ช่วยให้กลยุทธ์ ‘ดิจิทัล อินฟอร์เมชั่น’ สามารถทำยอดขายออนไลน์ในไตรมาส 1 ปี 2565 เพิ่มขึ้น 120% มีมูลค่า 233 ล้านบาท จาก 106 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการสร้างการรับรู้ในเจฟินในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แคมเปญในเจมาร์ทสโตร์ดอทคอม ที่สามารถนำเจฟินมาแลกได้ 

รวมทั้ง JFIN Staking ทำให้คนเข้ามาอยู่ในอีโคซิสเต็มของเจฟินมากขึ้น เพื่อเป็นมาร์เก็ตเพลสของผู้ถือเหรียญ ทั้งการอัพเกรดรีแบรนด์แอปพลิเคชั่น ‘J.ID’ เป็น ‘Join’ และ ‘Jfin Coin’ พร้อมกับล่าสุดในการทำ ‘NFT Stamp’ ร่วมกับไปรษณีย์ไทย ซึ่งจะช่วยให้ครึ่งปีหลังมีรายได้เติบโตขึ้น

คาดปีนี้พลิกมีรายได้โตเกิน10ล้านบาท

“นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัดผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีในเครือกลุ่มบริษัทJMART เปิดเผยว่า คาดว่าปีนี้บริษัทจะพลิกกลับมาทำกำไรอยู่ที่ประมาณหลัก10ล้านบาทจากปีก่อนกำไร 1.12 ล้านบาทและมีกำไรติดลบตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปี 2563 ตั้งแต่ที่เริ่มต้นจากการออกเหรียญคริปโทเคอรร์เรนซี่หรือ ‘เจฟิน คอยน์’ จากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้มีการวางแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาดิจิทัล อินฟอร์เมชั่น ซึ่งเป็นเป้าหมายสำหรับการทำธุรกิจในอนาคต

“วันนี้สิ่งที่เจเวนเจอร์สมองเห็นอนาคตในช่วง 5 ปีที่แล้ว ปีนี้ถือเป็นรีเทิร์นนิ่งพ้อยท์ ที่บริษัทสามารถกลับมาทำกำไรปีนี้ปี โดย ณ ปัจจุบัน ตั้งแต่ต้นปีเป็นเวลา 7 เดือนบริษัทสามารถทำกำไรได้ประมาณ 7 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถทำรายได้เกิน 10 ล้านบาทสิ้นปีนี้ ซึ่งรายได้ที่กลับมาเป็นบวกในปีนี้ มาจากการดำเนินตามกลไกที่เราได้วางเอาไว้ และจะเติบโตขึ้นตาม J Curve ภายใต้กลุ่มเจมาร์ท”

โดยในปี 2564 เจเวนเจอร์ส มีรายได้รวม56.17 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ1.11 เพิ่มขึ้น110.36% จากปี 2563 ที่มีรายได้อยู่ที่

10.16ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม631.45ล้านบาท ซึ่งบริษัทสามารถมีกำไรในปี 2564 เป็นปีแรกหลังจากที่ขาดทุนติดต่อกัน 4 ปี ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาองค์และนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต

สร้างกลไกเศรษฐศาสตร์ใน‘เจฟิน’

แม้ว่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะเติบโตตามกลไลของสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในตลาดอย่าง ‘บิตคอยน์’ แต่บริษัทเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะขับเคลื่อนธุรกิจนี้ ทำให้ขณะเดียวกันเจฟินพยายามสร้างเศรษฐศาสตร์ของเหรียญเจฟิน ให้มีมูลค่าของตัวมันเอง ตั้งแต่ที่เปิดขายเหรียญ ในเฟส 1 ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2560 ในการสร้างการรับรู้เหรียญเจฟิน ด้วยการใช้เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม แต่ไม่ได้พัฒนาต่อเนื่อง จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ไม่เห็นชอบกับรูปแบบดังกล่าว 

ทำให้บริษัทพัฒนาต่อไปยังรู้แบบของ ‘เจฟิน เชน(JFIN Chain)’ ด้วยการพยายามสร้างแอปพลิเคชั่นบนเจฟินเชนในรูปแบบของ DeFi (Decentralized Finance) บริการทางการเงินที่สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งหากมีคนเข้ามาใช้งานการสร้างแอพบนเจฟินเชนมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ดีมานด์ของเจนฟินโทเคนมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งบริษัทมีบริการรองรับ จากการมีเหรียญเจฟินคอยน์ บล็อกเชน ทั้งเจฟินเชน (JFIN Chain) และเอ็กซ์เชน (X Chain) สำหรับภาคการศึกษา และมี จอย กระเป๋าเงินสินทรัพย์ดิจิทัล

“จอย”เป็นเว็บ3 Enterprise Wallet สร้างเพื่อพาร์ทเนอร์และออกแบบให้เหมาะกับคนใช้มากที่สุดเพื่อทำให้เขาเข้ามาคอนเน็คกับอีโคซิสเต็มของเราให้มากที่สุด

สำหรับทั้ง 3 อย่างที่เรามีเป็นธุรกิจที่สามารถรองรับการเติบโตจากกลุ่มพาร์ทเนอร์สามารถขับเคลื่อนไปในอีโคซิสเต็ม ทำให้สินทรัพย์และการทำกิจกรรมทำให้เกิดการหมุนเวียน เหมาะสำหรับลูกค้าในกลุ่มองค์กร มหาวิทยาลัย และสังคม ซึ่งการเปิดตัว“จอย”ถัดจาก“เจฟินเชน”ทำให้กลไกทั้งหมดนำไปสู่การทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นให้กับกลุ่มเจมาร์ทรวมถึงพันธมิตรที่จะเข้ามาใช้งานร่วมกันได้