ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’ เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่

ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’  เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่

3 ธุรกิจสร้างรายได้ให้กับอาณาจักรครอบครัว “อุดมคุณธรรม” ทว่า ล่าสุดรุกแตกไลน์สู่เซ็กเตอร์ใหม่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างน้ำแร่ธรรมชาติแบรนด์ “ซิกตี้ ดีกรี (6ty Degrees) เป็นกิจการลำดับที่ 4 ที่เข้ามาลงทุนและแบ่งขุมทรัพย์ตลาด

“มานิต อุดมคุณธรรม” อาจเป็นที่รู้จักกันในแวดวงธุรกิจของเมืองไทยอย่างยาวนาน เพราะเป็น “ตำนาน” ในฐานะผู้ร่วมปลุกปั้นห้างค้าปลีกอย่าง “โรบินสัน” สร้างแบรนด์ยีนส์ “พีเจ” เป็นผู้นำตลาดในอดีตยาวนานกว่าทศวรรษ เป็นต้น

ระยะหลัง “มานิต” อาจไม่มีบทบาทเด่นในการบริหาร เพราะหลายปีมุ่งมั่นพลิกพื้นที่เขาใหญ่หลายร้อยไร่ให้เป็นผืนป่า เพื่อลุยโปรเจกต์ “สวอนเลค” ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และยังมี “โรงแรม” บนจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

3 ธุรกิจสร้างรายได้ให้กับอาณาจักรครอบครัว “อุดมคุณธรรม” ทว่า ล่าสุดเห็นการแตกไลน์สู่เซ็กเตอร์ใหม่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างน้ำแร่ธรรมชาติแบรนด์ “ซิกตี้ ดีกรี (6ty Degrees) เป็นกิจการลำดับที่ 4 ที่เข้ามาลงทุนและรุกตลาด

ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’  เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่

มานิต อุดมคุณธรรม

ทั้งนี้ ทายาทคนโต รีน่า อุดมคุณธรรม ผู้ก่อตั้ง บริษัท แร่เบฟเวอเรจ จำกัด รับบทแม่ทัพในการขับเคลื่อนธุรกิจน้ำแร่ธรรมชาติ “ซิกตี้ ดีกรี”

“สินค้าจำเป็นหรือ FMCG ถือเป็นธุรกิจเซ็กเตอร์ที่ 4 ที่ครอบครัวเข้ามาลงทุน”

การบุกตลาดน้ำแร่ เกิดขึ้นเพราะไปหาที่ดินในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาโรงแรม 5 ดาว สร้างโรงแรมที่มีออนเซ็นชั้นยอด แต่จุดเปลี่ยนระหว่างหาทำเลทอง เจอความร้อน ทำให้สำรวจพื้นที่และค้นพบแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ มีการส่งตัวอย่างน้ำแร่ไปตรวจสอบคุณภาพที่ 3 สถาบันรับรองแร่ธาตุ ได้แก่ SGS ประเทศออสเตรเลีย INTERTEK ประเทศอังกฤษ และ ALS ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การันตีคุณภาพ

นอกจากนี้ มานิต เห็นคุณภาพจึงเปลี่ยนแผน ชี้แนะ “รีน่า” ให้นำน้ำแร่ธรรมชาติเสิร์ฟผู้บริโภคชาวไทย แทนที่จะสร้างโรงแรม ประกอบกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนระหว่าง “โรงงานน้ำแร่ธรรมชาติ” กับ “โรงแรม” การคืนทุนอย่างแรกดีกว่า

ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’  เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่ จากที่ดินจะสร้างโรงแรมออนเซ็น สู่การทุ่ม 1,000 ล้านบาท ผุดโรงงานน้ำแร่ธรรมชาติ

บริษัทจึงพลิกพื้นที่ 300 ไร่ ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่มาสร้างโรงงานน้ำแร่ “RARE” เนื้อที่ 18 ไร่ ภายใต้งบลงทุน 1,000 ล้านบาท เพื่อผลิตน้ำแร่ยี่ห้อ “ซิกตี้ ดีกรี” กำลังผลิต 8.5 แสนขวดต่อวัน ขนาด 520 มิลลิลิตร(มล.) และขนาด 1.25 ลิตร

เฟสถัดไปจะลงทุนอีกหลายร้อยล้านบาท เพื่อผลิตน้ำแร่ซิกตี้ ดีกรี ในรูปแบบขวดแก้ว และสปาร์กกลิ้ง ซึ่งจะเปิดตัวเข้าสู่ตลาดช่วงปลายปี 2566

“ครอบครัวทำธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์และโรงแรม เมื่อเข้าสู่ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค และเป็นตลาดเครื่องดื่ม น้ำแร่ มีการแข่งขันสูงมาก ทำให้เราต้องลงทุนนำเทคโนโลยีสุดทันสมัยจากประเทศเยอรมันมาใช้ในกระบวนการผลิต เพราะเราไม่เคยอยู่ในหมวดธุรกิจนี้ ตอนทำก็คิดว่าทำให้ดีสุด ยิ่งสินค้าที่ต้องบริโภคเข้าสู่ร่างกายต้องพิถีพิถัน อีกจุดแข็งคือการมีแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติเป็นกำแพงสำคัญเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน เพราะโอกาสที่จะหาแหล่งน้ำแบบนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย”

ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’  เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่ รีน่า อุดมคุณธรรม ทายาทคนโตเคลื่อนธุรกิจครอบครัว 

เนื่องจากที่ดินแปลงนี้มีขนาดใหญ่ 300 ไร่ นอกจากผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ บริษัทยังมองการต่อยอดไปสู่การพัฒนาโครงการดูแลสุขภาพครบวงจรหรือ wellness รวมถึงโครงการที่อยู่อาศัย และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหมวดอื่นๆเสริมความแข็งแกร่งในอนาคต

“แผนระยะยาวจะพื้นที่ 300 ไร่นี้จะพัฒนาสิ่งใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปได้หมด รวมถึงเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย”

สำหรับโรงงานน้ำแร่ธรรมชาติ RARE ลงทุนหลักพันล้านบาท บริษัทมองระยะการคืนทุนภายใน 5 ปี หากนำที่ดินดังกล่าวพัฒนาโรงแรมตามความตั้งใจตอนต้นคาดว่าจะใช้เวลาคืนทุนนานกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อใช้การบริหารจากโรงแรมเครือข่ายหรือเชนชั้นนำของโลก แต่หากไม่ใช้เชนในการบริหารอาจใช้เวลาราว 3 ปีในการคืนทุน

ทายาท ‘อุดมคุณธรรม’  เบ่งอาณาจักรครอบครัวสู่ธุรกิจน้ำแร่ โครงการ "สวอนเลค" กับต้นไม้นับหมื่น

การบุกตลาด FMCG ยอดขายและ “กำไร” เป็นเป้าหมายธุรกิจอยู่แล้ว ทว่า ปรัชญาการเคลื่อนอาณาจักรของตระกูล “อุดมคุณธรรม” คือการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ดีสุด มาพร้อมกับส่งมอบ “คุณค่า” ให้ลูกค้าเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก อสังหาฯ และโรงแรม

“เวลาทำธุรกิจเราต้องการมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค นี่คือโจทย์หลัก แล้วยอดขาย กำไรจะตามมาเอง เหมือนตอนพัฒนาอสังหาฯ คุณพ่อใช้เวลา ทุ่มเทกับการปลูกต้นไม้ถึง 4 หมื่นต้น จนคนมองว่าบ้า ทำให้พื้นที่โครงการสวอนเลค 80% เป็นต้นไม้และส่วนกลาง ตอนนั้นคนมองว่าเป็นไปไม่ได้ ทำแล้วต้องเจ๊งอย่างเดียว แต่สุดท้ายก็สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า”