SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

ประเทศไทยถือเป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านการเติบโตของอุตสาหกรรม E-commerce ในบทความนี้ผมขอนำข้อมูลสถิติในมิติต่าง ๆ มาฉายภาพให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพัฒนาการของ e-commerce ในบ้านเรา

ในปี 2022 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สูงถึงร้อยละ 60 (รูป 1) ซึ่งระดับดังกล่าวเป็นระดับที่เทียบเท่าสัดส่วนของผู้บริโภคในประเทศจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย และสัดส่วนดังกล่าวยังสูงกว่าผู้บริโภคในออสเตรเลียและญี่ปุ่น

นอกจากนี้ประมาณครึ่งหนึ่งของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะมาจากการซื้อผ่าน smartphone ซึ่งในบางครั้งถูกเรียกว่า m-commerce

การเติบโตของอุตสาหกรรม e-commerce ในไทยจึงสามารถสรุปได้ว่าเกิดจากอัตราการเข้าถึง smartphone ในประเทศไทยที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 และการเข้ามาให้บริการของผู้ให้บริการประเภท online marketplace ที่คิดค้น mobile application สำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

รูป 1 สัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปี 2022 (ที่มา We Are Social; DataReportal; Meltwater)

 

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Worldpay ที่รวบรวมมูลค่าซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง e-commerce เปรียบเทียบกับยอดค้าปลีกทั้งหมดพบว่า ในประเทศไทยสัดส่วนดังกล่าวได้สูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ไปแล้ว ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังมีการคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นมากกว่าร้อยละ 30 ในปี ค.ศ. 2025

อย่างไรก็ตาม มูลค่าธุรกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยใน 1 ปี ต่อผู้ซื้อสินค้า 1 คน ในไทย ถึงแม้จะมีการเติบโตจากเพียง 168 เหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2017 เป็นมูลค่าสูงกว่า 500 เหรียญสหรัฐในปีค.ศ. 2022

โดยได้รับอานิสงค์บวกจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่มูลค่าธุรกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ต่อรายใน 1 ปี นี้ก็ยังต่ำกว่ามูลค่าที่เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ (รูป 2)

SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

รูป 2 รายได้เฉลี่ยต่อผู้ซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง e-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ที่มา Statista Digital Market Insights)

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของไทยยังกระจุกตัวอยู่ในสินค้าและบริการที่มีราคาไม่สูงมากนัก และหากเป็นสินค้าราคาสูงผู้บริโภคในไทยยังคงสบายใจมากกว่ากับการซื้อผ่านช่องทางร้านค้าแบบดั้งเดิม

ข้อดีสำคัญของการเติบโตของ e-commerce ในประเทศไทย คือการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้โดยง่าย และสามารถเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของตนได้ทันทีผ่านช่องทางออนไลน์

ข้อมูลจาก ETDA (รูป 3) แสดงให้เห็นว่ามูลค่ายอดขาย e-commerce ของผู้ประกอบธุรกิจรายเล็กในไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเป็นเกือบ 2 พันล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่ามูลค่ายอดขายของผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่แล้ว

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธุรกรรม e-commerce แบบ Business-to-customers (B2C) ในไทยมีสัดส่วนที่สูงขึ้นมากจากเพียงร้อยละ 37 ในปีค.ศ. 2018 เป็นประมาณร้อยละ 50 ในปีค.ศ. 2021

การค้าขายในรูปแบบ e-commerce ในประเทศไทยจึงถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs สามารถทำธุรกิจได้อย่างสำเร็จ

SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

SMEs กับ E-commerce ในไทย รุ่งกว่าที่คิด | รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น

รูป 3 ลักษณะของธุรกรรม e-commerce (บน) และมูลค่ายอดขายจำแนกตามขนาดของธุรกิจ (ล่าง) ในประเทศไทย ที่มา ETDA

 

ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่ภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ควรให้ความสนใจคือระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัล (digital literacy) ของผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ในไทยว่าจะมีทักษะที่เพียงพอต่อการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล (digital transformation) จนตนเองได้รับประโยชน์สูงสุดจาก e-commerce ได้หรือไม่

ผู้เขียนจะเสนอในตอนต่อไป คอยติดตามกันนะครับ