‘บูติคนิวซิตี้’ปรับทัพธุรกิจแฟชั่น ตั้งรับทุกปัจจัยโตแกร่งอย่างยั่งยืน

‘บูติคนิวซิตี้’ปรับทัพธุรกิจแฟชั่น ตั้งรับทุกปัจจัยโตแกร่งอย่างยั่งยืน

'บูติคนิวซิตี้’ อาณาจักรเสื้อผ้า ในเครือสหพัฒน์ ปรับทัพองค์กรใหญ่ในรอบ 40 ปี สร้างแบรนด์มุ่งไปสู่สินค้าเสื้อผ้าที่ทำให้ทุกคนสวมใส่แล้วมีความสุข มีสไตล์ตัวเอง เดินหน้าสร้างธุรกิจสู่ความยั่งยืน วางเป้าองค์กรพร้อมโตแบบแข็งแกร่งรับมือทุกปัจจัย

กว่า 4 ทศวรรษที่ “บูติคนิวซิตี้” อาณาจักรธุรกิจเสื้อผ้าในเครือสหพัฒน์ ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสตรีสำเร็จรูปรายแรกของไทย ได้สยายปีกเข้าไปในทุกสมรภูมิมีกลุ่มสินค้าแฟชั่นที่หลากหลาย แต่จากสถานการณ์โควิด-19  เป็นแรงปะทุทำให้ธุรกิจแฟชั่นต้องปรับทัพองค์กรครั้งใหญ่เพื่อรับมือความไม่แน่นอนต่างๆ พร้อมปักหมุดหมายธุรกิจสู่ความยั่งยืนมากขึ้น

ประวรา เอครพานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ BTNC ผู้ออกแบบและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นหญิงในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้มีการปรับองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคต! วาง 4 เสาหลัก ประกอบด้วย "Customer First" มุ่งจำหน่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ส่งเสริมบุคลิกภาพให้แก่ผู้สวมใส่ ทั้งสะดวกสบาย คุณภาพดีทนต่อการใช้งานและดีต่อสุขภาพ 

"Timeless Design" สินค้าใช้ได้อย่างยาวนาน มีรูปแบบสอดคล้องกับเวลา ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นโดยไม่ล้าสมัย "Circular economy" มีกระบวนการออกแบบและเลือกวัตถุดิบ ที่ได้มาตรฐาน พร้อมคำนึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด  และ "Keep Learning" การพัฒนาองค์กรต่อเนื่อง และเปิดรับสิ่งใหม่ เพื่อต่อยอดการทำงาน

“ภาพจำของบริษัทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคือ การเป็นกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูป แต่ในปีนี้และปีต่อๆ ไป จะค่อยๆ ทยอยปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าเสื้อผ้าในเครือใหม่ เพื่อทำให้ทุกคนรู้สึกถึงความมั่นใจในการสวมใส่และการสร้างความสุขในการสวมใส่ ที่ทุกคนสามารถมีสไตล์ในแบบของตัวเอง”

‘บูติคนิวซิตี้’ปรับทัพธุรกิจแฟชั่น ตั้งรับทุกปัจจัยโตแกร่งอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ บูติคนิวซิตี้ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนองค์กรและปรับพนักงานทุกคนพร้อมเข้าสู่ดิจิทัลที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยความรวดเร็ว อีกสิ่งที่ทำควบคู่กันคือ การปรับภาพของกลุ่มสินค้าแฟชั่นในเครือใหม่มุ่งนำเสนอสินค้าที่ทำให้ทุกคนสวมใส่ได้อย่างมีความสุขและเกิดความมั่นใจในตัวเอง เพราะทุกคนสามารถมีสไตล์แฟชั่นในรูปแบบของตัวเองได้

พร้อมกันนี้ ได้กำหนดเป้าหมายระยะยาวผลักดันธุรกิจเสื้อผ้าที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน (Circular Economy) ตามเทรนด์อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในโลกที่ต่างมุ่งสู่ “กรีน อินดัสตรี” ซึ่งบริษัทกำลังเร่งปรับระบบ กระบวนการผลิต การออกแบบ ดีไซน์ทุกอย่างให้สอดคล้องกับเรื่องนี้ ‘บูติคนิวซิตี้’ปรับทัพธุรกิจแฟชั่น ตั้งรับทุกปัจจัยโตแกร่งอย่างยั่งยืน

“โจทย์ท้าทายที่ผ่านมา โควิดทำให้ร้านค้าไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ จำเป็นต้อง reset องค์กรใหม่ นำดิจิทัลมาปรับใช้เพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรมีความลีนมากที่สุด ควบคู่การสร้างสินค้าแฟชั่นที่มีความยั่งยืนและเป็นผลดีต่อโลก ร่วมลดคาร์บอนเครดิต”

ล่าสุด บริษัทได้นำผ้าส่วนเกินที่เหลือจากการผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นประมาณ 80% ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อไม่ให้เหลือขยะในภาคอุตสาหกรรม หรือ Fabric zero Waste alliance ที่จะทำให้เกิดการ upcycle นำมาพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ และเกิด recycle นำผ้าส่วนเกินมาใช้ประโยชน์ โดยร่วมมือกับ แบรนด์ “ลฤก” นำผ้าที่ไม่ได้ใช้มาผลิตดอกไม้ที่มาใช้ตกแต่งพวงหรีด 

โดยแบรนด์“ลฤก” ทำพวงหรีดเป็นแบบเสื่อและอาสนะมาจากพลาสติกรีไซเคิล 100% พร้อมร่วมมือ บริษัท เดอะแพคเกจจิ้ง จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติก นำเศษผ้าที่เหลืออยู่มาใช้ผลิตสู่กระเป๋าแบรนด์ มีมี่ (Mimi) กระเป๋ารักษ์โลก ที่มีความทนทานอย่างมาก จึงช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น

บริษัทยังพร้อมเปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นเกิดการต่อยอดสู่สินค้าใหม่ เพื่อร่วมลดขยะจากอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์ตามเป้าหมายการทำธุรกิจด้วยความยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Net Zero) ในปี 2593 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในปี 2608

‘บูติคนิวซิตี้’ปรับทัพธุรกิจแฟชั่น ตั้งรับทุกปัจจัยโตแกร่งอย่างยั่งยืน

สำหรับกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าในเครือมีความหลากหลาย อาทิ แบรนด์ Guy laroche เป็นเสื้อผ้ากลุ่มลำลอง, GSP เสื้อผ้าผู้หญิง, Lof-fi-ciel เสื้อผ้าเดรส, Jousse เสื้อผ้าสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ , Stephanie เสื้อผ้าเชิ้ต เสื้อสูทสำหรับผู้หญิง และ Mimi เสื้อยืดสำหรับกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงมีสินค้ากลุ่มเครื่องแบบสำหรับองค์กรชั้นนำ “UNIFORM SPECIALIZER" ที่มีลูกค้าองค์กรรายใหญ่ในประเทศใช้บริการจำนวนมาก นอกจากนี้มีแบรนด์เสื้อผ้าเพื่อคุณหมอ Medgrade ที่ทำมาช่วงโควิด 

ทั้งหมดนี้จะนำเสนอแต่ละแบรนด์ให้มีภาพลักษณ์และคาแรกเตอร์ที่ชัดเจน เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดภาพจำในแบรนด์และไม่เกิดการทับซ้อนกัน สินค้าวางจำหน่ายผ่านช่องทางร้าน เอ-เมส มัลติสโตร์ (A’ MAZE Multistore) เป็นร้านของบริษัท ปัจจุบันมี 30 สาขาทั่วประเทศและช่องทางออนไลน์ AmazeMulitistore.com

ประวรา กล่าวต่อว่า ภาพรวมตลาดเสื้อผ้าตั้งแต่ปี 2566 มีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่อง จากสถานการณ์ในประเทศที่กลับมาปกติแล้ว ต่างจากช่วงโควิดตลาดชะลอตัวลง เชื่อว่าจากนี้ผลประกอบการจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมความสามารถในการรับมือทุกปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในอนาคต!cc