ต้นทุนเครื่องดื่มชูกำลังพุ่ง! ฉุดมั่งคั่ง "คาราบาวกรุ๊ป" กำไรหดตัว 21%

ต้นทุนเครื่องดื่มชูกำลังพุ่ง! ฉุดมั่งคั่ง "คาราบาวกรุ๊ป" กำไรหดตัว 21%

สถานการณ์ต้นทุนการผลิตสินค้าที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากราคาพลังงาน วัตถุดิบ น้ำตาล บรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว อะลูมิเนียม ฯ กดดันความมั่งคั่งเจ้าพ่อเสถียร เสถียรธรรมะ แห่งอาณาจักรคาราบาวกรุ๊ป ทั้งปี 66 ยอดขายโต แต่ "กำไร" ดิ่ง 21%

ระยะเวลา 20 ปี ที่ “เสถียร เสถียรธรรมะ” และสหาย เช่น แอ๊ด คาราบาว , ณัฐชไม ฯ ร่วมกันลงขันปลุกปั้นเครื่องดื่มชูกำลัง “คาราบาวแดง” วันนี้สร้างการเติบโตถึง “หมื่นล้านบาท” กลายเป็น “เศรษฐี” แถวหน้าของเมืองไทย

ในปี 2565 ธุรกิจเผชิญความยากลำบากครั้งสำคัญ คือวิกฤติโควิด ทำให้สถานการณ์ค้าขาย กำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเต็มที่ ทว่า ซ้ำร้ายคือการรับมือสงครามรัสเซีย-ยูเครน ชนวนเหตุขัดแย้งที่ลามโลก โดยเฉพาะกระทบ “ราคาพลังงาน” ให้อยู่ในช่วง “ขาขึ้น”

พลังงานคือหนึ่งในต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ อย่างกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง โรงงานผลิตขวดแก้ว ที่ใช้พลังงานมหาศาล และต้องเดินเครื่องผลิต 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วันแบบไม่มีวันพักด้วย รวมถึงบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียม ที่ขยับขึ้นไม่แพ้กัน

อีกวัตถุดิบการผลิตคือ “น้ำตาล” ยังแพงขึ้นซ้ำเติมผู้ประกอบการ ครั้นจะ “ปรับสูตร” ลดหวาน อาจได้อานิสงส์ภาษี แต่อาจไม่ได้ใจผู้บริโภค ในเรื่อง “รสชาติ” หากไม่คุ้นลิ้นชินปาก อาจย้ายหนีไปซบแบรนด์ที่อร่อยโดนใจกว่า

ต้นทุนเครื่องดื่มชูกำลังพุ่ง! ฉุดมั่งคั่ง \"คาราบาวกรุ๊ป\" กำไรหดตัว 21% ค่าขนส่ง เป็นอีกตัวแปร เพราะรู้กันดีว่า เครื่องดื่มชูกำลังขายขวดละ 10 บาทมาเกือบ 20 ปี ไม่เคยขึ้นราคาเลย แต่เครื่องดื่มเป็นสินค้าที่มี “น้ำหนักมาก” จึงโดนค่าขนส่งแย่งกำไรไปไม่น้อย

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผลประกอบการของ “คาราบาวกรุ๊ป” หรือ CBG แม้รายได้จากการขายปี 2565 จะเติบโต 11% มีมูลค่า 19,215 ล้านบาท แต่ “กำไรสุทธิ” ลดลงถึง 21% หรือสร้างความมั่งคั่งได้ 2,286 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรสุทธิ 2,881 ล้านบาท

“กำไรลดลง สาเหตุหลักเกิดการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและหีบห่อหลัก ตลอดจนต้นทุนพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น” บริษัทให้เหตุผลในรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ

มาแยกดูยอดขายสินค้าในปี 2565 มีทั้งหมวดหมู่ที่ฟื้นตัวและยัง “ชะลอ” อย่างการขายสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัท ทำเงิน 12,591 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.2% โดยตลาดต่างประเทศคือตัวพยุง ส่วนการรับจ้างจำหน่าย 5,350 ล้านบาท เติบโต 50% เพราะประสิทธิภาพการขายผ่านรถเงินสด สินค้าหลากหลาย เป็นต้น ขณะที่รายได้อื่น เช่นการผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วป้อนลูกค้านอกเครือ 807 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%

ต้นทุนเครื่องดื่มชูกำลังพุ่ง! ฉุดมั่งคั่ง \"คาราบาวกรุ๊ป\" กำไรหดตัว 21%

สินค้าใหม่ "คันโช คูณสอง" เจาะตลาดพรีเมียมและตั้งราคาใหม่

บริษัทยังรายงานสถานการณ์การขายสินค้าแบรนด์ตัวเอง หรือคาราบาวแดง ยอดขายในประเทศอยู่ที่ 5,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% ช่วงปลายปีบริษัทมีสินค้าใหม่อย่าง “คันโช คูณสอง” มาเสริมทัพเครื่องดื่มชูกำลังและเจาะตลาดพรีเมียม

ส่วนการส่งออกไปต่างประเทศมีมูลค่า 6,829 ล้านบาท ลดลง 1% แต่มีกลุ่มประเทศที่ยังสร้างการเติบโตได้ เช่น กลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามหรือ CLMV โดยไฮไลต์เวียดนาม มีออเดอร์เพิ่มทำให้ส่งออกโต 60%

อังกฤษเป็นอีกฐานทัพธุรกิจสำคัญของคาราบาวกรุ๊ป บริษัทสร้างรายได้จากการขายเติบโต 48% สินค้าพระเอกคือกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลังอัดก๊าซ ตอบสนองตลาดอังกฤษและภาคพื้นยุโรป พร้อมสานเป้าหมายการเป็นแบรนด์ระดับโลกหรือ Global Brand หนึ่งในฝันใหญ่ที่ต้องไปให้ถึงของเจ้าพ่อคาราบาวอย่าง “เสถียร”

 

อ่านเพิ่มเติม : 

ต้นทุนเครื่องดื่มชูกำลังพุ่ง! ฉุดมั่งคั่ง \"คาราบาวกรุ๊ป\" กำไรหดตัว 21%

ในยุคต้นทุนพุ่ง กระทบเครื่องดื่มชูกำลังจน “บิ๊กแบรนด์” ขยับขึ้นราคากับเรียบร้อยแล้ว เริ่มจาก “เบอร์ 1” อย่าง “M-150” นำร่องไปปีก่อน แต่ได้รับผลกระทบ จนต้องออกสินค้าราคา 10 บาท มารักษาส่วนแบ่งตลาด ล่าสุดเป็นคิวของ “กระทิงแดง” ที่สูตรคลาสสิค ขอขยับจากขวดละ 10 บาท เป็น 12 บาท แต่ตัวอื่นต้องตรึงราคาไว้ ซึ่งแน่นอนว่า “สูตรขายดี” และสัดส่วนขายมาก มีต้นทุนมาก ต้องขยับราคาให้ครอบคลุมต้นทุนแพง

คู่แข่งตบเท้าขึ้นราคา แต่ “คาราบาวแดง” ประกาศผ่านหน้าเพจ Facebook ว่า ไม่ขึ้นราคา ยังขาย 10 บาทเหมือนเดิม เพิ่มเติมบอกคุณประโยชน์และความ “คุ้มค่า” กว่า แต่งานนี้ ความเห็นผู้บริโภคกลับบอกร้านค้าก็ขายเครื่องดื่มชูกำลังคาราบาวแดงขวดละ 12 บาทเหมือนกัน ..ประมาณว่า..ตรึงราคาตรงไหน?