'เสถียร' นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ รุกน้ำเมาสีอำพัน 'เบียร์' ต่อกร 'สิงห์-ช้าง'

'เสถียร' นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ รุกน้ำเมาสีอำพัน 'เบียร์' ต่อกร 'สิงห์-ช้าง'

ตลาดเบียร์ 200,000 ล้านบาท จะไม่มีแค่ "สิงห์-ช้าง" ยืนหยัดยิ่งใหญ่ เพราะผู้ท้าชิงใหม่ "เจ้าพ่อคาราบาว กรุ๊ป" อย่าง "เสถียร" อาจหาญต่อกร นำประสบการณ์จากโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง การรุกธุรกิจเหล้า สู่การทุ่มทุนใหญ่ 4,000 ล้าน เสิร์ฟเบียร์ 2-3 รายการ เขย่าบัลลังก์เจ้าตลาด

นับเป็นอีกก้าวใหญ่ของ “เสถียร เสถียรธรรมะ” ประธานกรรมการ บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด หรือเจ้าพ่อคาราบาว กรุ๊ป ซึ่งตลอดเส้นทางการขับเคลื่อนธุรกิจ สร้างอาณาจักรเครื่องดื่มชูกำลัง “ท้าชน” ยักษ์ในตลาด จนฝ่าการแข่งขัน หาช่องทางการเติบโต

ล่าสุด เตรียมควักเงินลงทุนก้อนโตในรอบ 6 ปี ด้วยการควักเงินราว 4,000 ล้านบาท เพื่อสร้างไลน์การผลิตน้ำเมาสีอำพันหรือ “เบียร์” และเตรียมเปิดตัวเข้าทำตลาดในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566

“เป็นการลงทุนใหญ่เกือบเท่าการเปิดโรงงานเหล้าที่จังหวัดชัยนาท” เสถียร กล่าว และย้อนภาพการลงทุนโรงงานเหล้าเกิดขึ้นเมื่อปี 2550 ด้วยเม็ดเงินกว่า 3,000 ล้านบาท เนรมิตพื้นที่ 816 ไร่ สร้างโรงงานเพื่อผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบครบวงจร ประเดิมสุราขาว "ข้าวหอม” ออกสู่ตลาด ปัจจุบันสามารถฝ่าวงล้อมยักษ์ ทำเงินเติบโตปีละ 50%

การเปิดตัว “เบียร์” ปลายปี แม้เจ้าตัวจะบอกว่าเน้นเจาะตลาดทุกเซ็กเมนต์ แต่น้ำหนักจะอยู่ในตลาดบน ส่วนแบรนด์มีความเป็นไปได้ในการต่อยอด “คาราบาวแดง” หรือ “ตะวันแดง” ซึ่งธุรกิจภายใต้ เจ้าพ่อเสถียร มีทั้ง “โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง”

ส่วนบริวมาสเตอร์ ส่งตรงจากเยอรมัน เพื่อตอกย้ำเจ้าแห่งตลาดเบียร์ ต้องยกให้ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองเบียร์” และสินค้าจะมีทั้งอยู่ในบรรจุภัณฑ์ “ขวดแก้ว” และ “กระป๋อง”

\'เสถียร\' นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ รุกน้ำเมาสีอำพัน \'เบียร์\' ต่อกร \'สิงห์-ช้าง\' โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงถือเป็น “ฐานทัพ” น้ำเมาสีอำพันอันยอดเยี่ยมของ เสถียร เพราะนอกจากจะเป็นต้นน้ำในการผลิตเบียร์สด หลากลายรสชาติ หลากสไตล์ เช่น โรเซ่ ไวเซ่นส์ฯ หรือรวมๆมีราว 10 รสชาติ ออกมาเสิร์ฟผู้บบริโภคกลุ่มเป้าหมาย

การมีร้านดังกล่าวยังเป็น “ช่องทางจำหน่าย” ที่ทำให้รู้ความต้องการ พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายด้วย ยิ่งกว่านั้น ร้านอาหาร ผับ บาร์ ฯ หรือ On-Premise ถือเป็นช่องทางหลักในการค้าขายสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

การทำตลาดสุรา โดยเฉพาะ “สุราสี” ที่บริษัทมีทั้งเทนโดะ ยังมีโซจู ยี่ห้อ “แทยัง” การจะขายสินค้าสร้างการเติบโต On-Premise คือหัวใจสำคัญ ทว่า การจะขายผ่านช่องทางดังกล่าว “เบียร์” คือสินค้าหลัก ที่ร้านอาหาร ผับ บาร์ ฯ นิยมขาย ดังนั้นเมื่อ “ขาด” น้ำเมาสีอำพันพระเอก ทำให้ “อำนาจต่อรอง” ทางการค้า “ลด” บริษัทจึงต้องรับมาและแก้โจทย์ ด้วยการลงทุนใหญ่ 4,000 ล้านบาท ผลิตเบียร์สู่ตลาดนั่นเอง

การลงทุนดังกล่าว บริษัทสามารถมีกำลังการผลิตเบียร์ราว 400 ล้านลิตรต่อปี แต่ผลิตขั้นแรกราว 200 ล้านลิตรต่อปี

ขณะที่ตลาดเบียร์ มีมูลค่าราว 200,000 ล้านบาท หรือเชิงปริมาณราว 2,000 ล้านลิตร คาดการณ์หลังบริษัทเสิร์ฟสินค้าเข้าทำตลาดจะเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโต ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคในยุคดิจิทัลรับรู้สินค้า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น จึงมีทางเลือกและรู้ว่า ต้องบริโภคหรือไม่ต้องบริโภคสินค้าแบรนด์ที่มีเท่านั้น

\'เสถียร\' นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ รุกน้ำเมาสีอำพัน \'เบียร์\' ต่อกร \'สิงห์-ช้าง\' โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง

“ผู้บริโภคเปิดรับสินค้าทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น อย่างตอนเราทำเหล้าข้าวหอมสร้างยอดขายเติบโตปีละ 50% บริษัททำกำไรเกือบพันล้านบาทแล้ว ดังนั้นเราเข้ามาตลาดเบียร์น่าจะเติบโต”

สำหรับเส้นทางธุรกิจของ “เจ้าพ่อเสถียร” ล้วนเป็นเกมต่อกรยักษ์ใหญ่ หรือมุ่งเป็นแจ๊ค ผู้ล้มยักษ์ แต่มิติของเสถียรมองว่าการแข่งขันในสมรภูมิการค้า มีอยู่แล้ว การโดดสู่สนามแต่ละครั้งไม่คิดว่าจะต้องแข่งขันกับ “ใคร” แต่มอง “โอกาส” เป็นสำคัญ

'เสถียร' ทุ่มทุนลุยธุรกิจสุราชนยักษ์

'ช้าง' เขย่าบัลลังก์ 'สิงห์' เร่งโค่นผู้นำตลาดเบียร์

'เสถียร' เบ่งอาณาจักรสู่ 'แสนล้าน'

“ถ้าคิดว่าแข่ง อาจกลัวเขา(คู่แข่ง)ก่อน ตอนทำสุรามองว่าตลาดในประเทศจะมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเหรอ น่าจะมีโอกาสให้กับเราเช่นกัน หรือตอนทำค้าปลีกซีเจ ไม่รู้ว่าคนอื่นทำยังไง แต่เราซื้อกิจการซีเจ มาแล้ว พอเห็นโอกาส จึงต่อยอดทำร้านถูกดี พลิกโชห่วยให้รวย โดยใช้เงินทุน เทคโนโลยี การตลาดไปช่วย”

อย่างไรก็ตาม โจทย์การทำ “เบียร์” ในขณะนี้คือการตั้ง “ราคาขาย” จะเป็นเท่าใด

“พอเราทำเหล้า เป็นไฟต์บังคับให้ต้องทำเบียร์ เพราะถ้าไม่มีเบียร์ โอกาสโตยาก เนื่องจากเหล้าสี เทนโดะ วิสกี้ หรือแทยังโซจู ต้องขายใน On-Premise แต่ช่องทางเหล่านี้ขายเบียร์เยอะสุด เราต้องทำเบียร์เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง”

\'เสถียร\' นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ รุกน้ำเมาสีอำพัน \'เบียร์\' ต่อกร \'สิงห์-ช้าง\'

ขุมพลังธุรกิจ-แบรนด์ ก่อนขึ้นชก 'สิงห์-ช้าง' ชิงตลาดเบียร์

สำหรับภาพรวมตลาดเบียร์มูลค่า "แสนล้าน" กลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ ของตระกูล "ภิรมย์ภักดี" มีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอมากมาย เช่น สิงห์ ลีโอ มายเบียร์ สโนวี่ฯ ยังเป็น "ผู้นำ" โดย "ลีโอ" มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ขณะที่ ไทยเบฟเวอเรจของ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" มีทั้งเบียร์ช้าง ช้าง เอสเปรสโซ ลาร์เกอร์ เฟดเดอร์บรอย อาชาฯ  มีส่วนแบ่งตลาด "รดต้นคอ" เบอร์ 1 เพราะช่องว่างหรือส่วนต่าง "แคบสุด" ในรอบ 13 ปี ขณะที่ตลาดพรีเมี่ยม "ไฮเนเก้น" ยังยืนหนึ่ง มีส่วนแบ่งตลาดมากสุด 

เมื่อหน้าใหม่ท้าชิง ต้องติดตาม ผลลัพธ์ การเติบโตจะเป็นอย่างไร จะชน "สิงห์-ช้าง" สูสีแค่ไหน เพราะเบอร์ใหญ่ คงไม่ยอมให้ใครโค่นบัลลังก์ง่ายๆ