การเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจโลก ต่อทิศทางธุรกิจ/อุตสาหกรรมข้างหน้า

การเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจโลก  ต่อทิศทางธุรกิจ/อุตสาหกรรมข้างหน้า

เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภาคบริการมากขึ้นภาคบริการมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกจากสัดส่วน 62.0% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกในปี 2551มาเป็นประมาณ 65.1% ปี 2560

โดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส มีสัดส่วนภาคบริการสูงเฉลี่ย 75% ของ GDP 

พัฒนาการของเทคโนโลยีจะผลักดันให้ Modern Services เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น นับเป็นปัจจัยท้าทายของเศรษฐกิจไทยที่ต้องเร่งปรับตัวไปสู่ธุรกิจแบบ Modern Services เพื่อเกาะกระแสการเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

การค้าโลกมีแนวโน้มทวีความตึงเครียดต่อเนื่องจากการใช้มาตรการกีดกันการค้าเพิ่มขึ้น โดยองค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่าในรอบ 1 ปี (ต.ค. 2561-ต.ค.2562) สมาชิก WTO ใช้มาตรการกีดกันการค้าระหว่างกันมากถึง 102 มาตรการ ครอบคลุมมูลค่าการค้า 7.5 แสนล้านดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 7 ปีและเพิ่มขึ้น 27% จากปีก่อนหน้า

การใช้มาตรการกีดกันการค้าอาจเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของไทย โดยเฉพาะการใช้มาตรการต่างๆ ระหว่างสหรัฐ และจีนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2561 กดดันภาคส่งออกของไทยให้ชะลอลงตามเนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย แต่อีกด้านหนึ่ง ไทยสามารถปรับตัวโดยใช้โอกาสจากการเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) เป็นผู้ส่งออกสินค้าทดแทนทั้งในตลาดสหรัฐ และจีนได้มากขึ้น

เทคโนโลยีสมัยใหม่ กำลังเข้ามาพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมสู่การปฏิรูปเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งนอกจากจะเน้นการแข่งขันด้านผลิตภาพตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของโลก (Global Megatrend) ที่กำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เต็มรูปแบบแล้ว ภาคอุตสาหกรรมยังหันมาเน้นความยั่งยืนของห่วงโซ่การผลิตหลังได้รับผลกระทบของ COVID-19 โดยเทคโนโลยีหลักที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมในช่วง 3 ปีหน้า อาทิ 5G technology: ระบบบริการบรอดแบนด์ 5G

The Internet of Things (IoT): IoT Devices ,Drone: อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล ,Edge Computing: ระบบประมวลผล Big Data ,Artificial intelligence (AI): การใช้ปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ,Blockchain: ระบบการเก็บและบันทึกข้อมูลแบบกระจายฐานข้อมูล (Distributed ledger technology) ,Quantum Computing: การพัฒนาระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ผ่านอนุภาคย่อยของอะตอมแทนการใช้เลขฐานสอง ซึ่งจะเพิ่มความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ 3D printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3-มิติควบคุมการออกแบบและผลิตสินค้าด้วยระบบดิจิทัลที่มีต้นทุนต่ำและมีความรวดเร็ว ​Cultured meat / Plant-based meat: เป็นการผลิตเนื้อสัตว์จากสเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบทั้งเนื้อวัว ไก่ หมู และปลาทูน่า

ห่วงโซ่มูลค่าโลกโฉมใหม่ หลังการระบาดใหญ่ของ COVID-19 การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่การผลิต ในภาคอุตสาหกรรมเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ผู้ประกอบการพยายามลดความซับซ้อน และลดระยะทางของแหล่งผลิต ให้ใกล้กับประเทศของตนเองมากขึ้น โดยกระจายฐานการผลิตไปในหลายประเทศที่ใกล้แหล่งผลิตมากขึ้น และอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้ห่วงโซ่มูลค่าโลกมีแนวโน้มสั้นลง กระจายตัวมากขึ้น และมีความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค (Shorter, More Diversified and More Regionalized) จากการคาดการณ์ลักษณะของห่วงโซ่มูลค่าโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2568)

ประเมินว่า อุตสาหกรรมของไทย จะมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกมากขึ้น และโดยส่วนใหญ่จะยังอยู่ที่อุตสาหกรรมปลายน้ำ โดยอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่ามากขึ้น จากขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมที่ไทย อาจมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าน้อยลง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมเกษตร และเหมืองแร่ เป็นต้น