‘ภากร’ตลท. เสนอ 2 โจทย์ ถึง ‘คลัง’ พิจารณาก่อนเก็บภาษีเทรดหุ้น

‘ภากร’ตลท. เสนอ 2 โจทย์ ถึง ‘คลัง’ พิจารณาก่อนเก็บภาษีเทรดหุ้น

ภากร ตลท.เสนอ 2โจทย์ ถึงกระทรวงการคลัง ก่อนพิจารณาเก็บภาษีเทรดหุ้น ย้ำพิจารณาถึงผลกระทบนักลงทุน และต้องไม่ทำให้นักลงทุนเสียความสามารถแข่งขัน อ้อนขอเวลาให้นักลงทุนปรับตัว เตรียมตัว ก่อนเก็บภาษีบังคับใช้

     นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)กล่าวว่า กรณีที่มีการพูดถึง การจัดเก็บภาษี จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ Financial Transaction tax ที่ภาครัฐจะมีแนวโน้มนำมาใช้ภายในปี 2565 ขอเรียนว่า ตลท.รับทราบ และได้ให้ข้อมูลกับกระทรวงการคลัง รวมถึงผู้กำกับ สำนักงานก.ล.ต. ในสิ่งที่ตลท.มีข้อมูล และได้วิเคราะห์ ให้กับภาครัฐ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นนโยบายของภาครัฐที่มองว่า ปัจจุบันมีความจำเป็นที่ต้องเก็บภาษีดังกล่าว เพราะมีการยกเลิกการเก็บภาษีในช่วงหลายปีที่ผ่าน และปัจจุบันมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 
       อย่างไรก็ตาม ในมุมของตลท.ได้มีข้อเสนอ และข้อฝากให้ภาครัฐพิจารณา คือ จะทำอย่างไรให้กระทบต่อจำนวนนักลงทุนที่เหมาะสม เพราะการเก็บภาษีดังกล่าว หากเก็บตามปริมาณการเทรด หรือหลักบางอย่าง ก็จะควบคุมไม่ให้กระทบต่อนักลงทุนได้ รวมถึง อัตราภาษีที่เหมาะสม ต้องไม่ทำให้ความสามารถการแข่งขันของตลาดทุนไทยแตกต่างกับตลาดทุนอื่นๆที่เป็นคู่แข่ง หรือที่เราใช้เป็นมาตรฐาน ที่น่าจะเป็นเหตุผลที่ควรนำมาพิจารณาด้วย

     ซึ่งในมุมของตลท. หากมีนโยบายดังกล่าว สิ่งที่อยากให้พิจารณา คือ จำนวนทรานเซกชัน ที่เริ่มเก็บภาษี เป็นการเก็บภาษีแบบใด ขึ้นอยู่กับการขายหรืออย่างไร และสอง คือปริมาณการเก็บภาษี สอดคล้องกับการแข่งขัน สอดคล้องกับความสามารถการจ่ายนักลงทุนอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ฝากกระทรวงการคลังพิจารณา 
    อย่างไรก็ตาม หากดูการเก็บภาษีในตลาดทุนในประเทศอื่นๆในภูมิภาค และคู่แข่งกับเรา เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร เวียดนาม เกาหลี ไต้หวัน อินโด มีการเก็บภาษีจาก Transaction tax และ Stamp Duty tax แทบทุกประเทศ แต่ไม่เท่ากัน  อย่าง ฮ่องกง มาเลเซีย  มีการเก็บ Stamp Duty tax ขณะที่ ไต้หวัน เวียดนาม เกาหลี อินโด มีการเก็บจาก  Transaction tax  ที่มีการเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดโควิด-19 เช่นอินโด ที่เพิ่งประกาศ Transaction tax มาเลเซีย ก็มีการประกาศออกมาปีก่อน ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐกำลังจะออกมา  ก็เป็นไปตามนโยบายของหลายประเทศ ที่มีการเก็บเงินภาษีเพื่อมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ 

      ส่วนการกำหนดอัตราภาษีทั้ง เรท และปริมาณที่เก็บจากทรานเซกชั่น ที่ 0.1% นั้น ตลท.ไม่ได้เสนอ แต่เป็นการกำหนดของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ส่วนอัตราภาษีที่เหมาะสมนั้น คงต้องแล้วแต่กระทรวงการคลังจะพิจารณา

     แต่สิ่งที่ควรจะนำมาวิเคราะห์ คือ 0.1% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน รวมถึง commission fee ต่างๆที่เก็บกับนักลงทุน มีความใกล้เคียง เหมาะสมกับต่างประเทศเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ซึ่งก็ต้องแล้วแต่การพิจารณาของกระทรวงการคลัง 
    สำหรับกรณีที่มีการ พูดถึงกรณี การจัดเก็บภาษีที่ 0.1% ของการขายหุ้นที่เกินกว่า 1ล้านบาทขึ้นไป ส่วนนี้จะนำมาสู่การจัดเก็บรายได้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาทนั้น ตลท.มองว่า เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง
    ส่วนกรณีนี้จะทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมากขึ้นหรือไม่นั้น ปัจจุบันนักลงทุนไทยมีการไปลงทุนในต่างประเทศ และทั่วโลกอยู่แล้ว บนต้นทุนที่ต่ำขึ้นเรื่อยๆ    

      ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า การพิจารณา Transaction tax ที่ต้องคิดถึงการลงทุน หากเทียบกับในต่างประเทศอย่างไรด้วย ซึ่งการลงทุนต่างประเทศมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสีย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ปีหน้า ตลท.จะมีการเปิดผลิตภัณฑ์การลงทุนจากต่างประเทศ ที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินหลักร้อย หลักพัน เหล่านี้ถือเป็นการปรับตัวเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น 
    อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การเก็บภาษีดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนการซื้อขายหุ้นของนักลงทุน สูงขึ้นแน่นอน และอาจมีนักลงทุนบางประเภท ที่ได้รับถูกผลกระทบ โดยเฉพาะ High frequency trading ทั้งที่เป็นนักลงทุนในประเทศ และในต่างประเทศที่ซื้อขายเร็ว โดยหวังที่จะกำไรระยะสั้นๆ คงมีผลกระทบ เพราะต้องรอให้สินทรัพย์ หรือตราสารเคลื่อนไหวมากกว่าเดิม ถึงซื้อขายได้ ดังนั้นก็อาจกระทบต่อวอลุ่มการซื้อขายส่วนนี้ 
    “สิ่งที่เราเสนอไป เราวิเคราะห์ให้เห็นว่า อัตราภาษี และแต่ละประเทศเป็นเท่าไหร่ จะกระทบต่อนักลงทุนกลุ่มไหนบ้างอย่างไร หากปริมาณการซื้อขายผันแปลจะกระทบต่อกลุ่มไหนบ้าง เราไม่ได้พูดถึงระดับภาษี แต่พูดถึง 2 เรื่อง ที่นำมาวิเคราะห์ จากทรานเซกชั่น และปริมาณการซื้อขาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระทบใครบ้าง ส่วนจะพิจารณาอย่างไรก็แล้วแต่การพิจารณาของกระทรวงการคลัง” 
    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการดำเนินการ หรือนำมาใช้ อยากให้มีเวลา ที่ทำให้นักลงทุนทราบล่วงหน้า หรือพิจารณาช่วงที่เหมาะสม อย่างน้อยจะได้รู้ว่าผลกระทบมีอะไรบ้าง นักลงทนจะได้ปรับตัว industrial จะได้มีการวางแผนระบบ เรื่องการเก็บข้อมูล การเก็บภาษีให้ได้ทันเวลา เมื่อภาครัฐออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับภาครัฐ ยิ่งมีเวลามากยิ่งดี จะได้มีเวลาเตรียมตัว 
    ส่วนเหตุผลที่แม้จะประกาศข่าวการเก็บภาษีออกมา แต่ตลาดตกใจค่อนข้างน้อยนั้น มองว่า เรื่องดังกล่าวอาจมีการพูดถึงมาสักระยะแล้วก่อนหน้า ดังนั้นนักลงทุนน่าจะรับข่าวไปแล้ว ขณะเดียวกัน ในช่วงการซื้อขายช่วงธ.ค. เป็นช่วงที่วอลุ่มการซื้อขายค่อนข้างน้อย ทำให้ผลกระทบน้อยกว่าปกติ  
     ส่วนการเก็บภาษีครั้งนี้ จะทำให้เทรดดิ้งระยะสั้น การเก็งกำไรหายไปหรือไม่นั้น มองว่ามีสองด้าน วอลุ่มเทรด ยิ่งมีสภาพคล่องยิ่งเยอะยิ่งดี เพียงแต่สภาพคล่องดังกล่าวเกิดขึ้น จากเรียลดีมานด์ซัพพลายอย่างไรบ้าง แต่หากสภาพคล่องเกิดจากการปั่นตลาด การเปรียบคนอื่นๆ เราก็คงไม่อยากได้ แต่หากสภาพคล่องมาจากการซื้อขายจริง ผมมองว่ายิ่งมากยิ่งดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องควบคุมสภาพคล่องแบบที่ไม่ต้องการอย่างไร