เช็คสิทธิ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนธันวาคม 2564 ได้สิทธิอะไรบ้าง?

เช็คสิทธิ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนธันวาคม 2564 ได้สิทธิอะไรบ้าง?

เช็คสิทธิ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนธันวาคม 2564 ได้รับเงินเยียวยาอะไรบ้าง? กรมบัญชีกลาง โอน เงินโอนเข้า "บัตรคนจน" วันที่เท่าไร?

ติดตาม กรณี "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือบัตรคนจน ในเดือนธันวาคม 2564 ได้รับสิทธิอะไรบ้าง หลังจากก่อนหน้านี้ ครม. อนุมัติวงเงินกู้ให้กระทรวงการคลัง จำนวน 54,506 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564

 

วันนี้ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ได้รวบรวมสิทธิที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน จะได้รับในเดือนธันวาคม 2564  เป็นเดือนสุดท้ายของปีนี้ มีสิทธิอะไรบ้าง? และจะได้วันที่เท่าไร?

วันที่ 1 ธันวาคม 2564 (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

  • วงเงินซื้อสินค้า 700/800 บาทต่อเดือน (เป็นวงเงินเดิม 200/300 บาท และวงเงินจากโครงการเพิ่มกำลังซื้อ 500 บาท)
  • ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย
  • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน
  • ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน
  • ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ขสมก./ MRT/ BTS และ ARL 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

วันที่ 18 ธันวาคม 2564  (สามารถกดเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

เดือนธันวาคม 2564 วงเงินค่าน้ำ และ ค่าไฟฟ้า ดังนี้

  • ค่าไฟฟ้า ประมาณ 1.9 ล้านครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิ เท่านั้น)

- กรณีค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิ์ค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน

- กรณีใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ในวงเงิน 315 บาทต่อครัวเรื่อนต่อเดือน

- กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ เป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด

  • ค่าน้ำประปา ประมาณ 186,625 ครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น)

สนับสนุนค่าน้ำประปาวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

- กรณีที่ใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท และจะต้องชำระส่วนที่เกิน 100 บาท ด้วยตนเอง

- กรณีที่ใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท จะไม่ได้รับการสนับสนุนวงเงินค่าน้ำประปาจำนวน 100 บาท โดยที่ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระในการชำระค่าน้ำประปาทั้งหมด

วันที่ 22 ธันวาคม 2564  (สามารถกดเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

ผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" จะได้รับเงิน 200 บาท ถึงเดือนกันยายน 2565 เมื่อรวมกับเบี้ยความพิการที่ได้รับจำนวน 800 บาท/คน/เดือน รวมเป็นจำนวน 1,000 บาท/คน/เดือน

เงินจำนวนนี้สามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้ โดยกรมบัญชีกลางได้กำหนดวันจ่ายเบี้ยความพิการเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเดือนต่อ ๆ ไป ประมาณวันที่ 22 ของเดือน 

นอกจากนี้ยังเพิ่มเงินให้อีก 300 บาท สำหรับกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้ที่ไม่สามารถ เข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง)

ส่วนผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนค่าไฟฟ้า สามารถลงทะเบียนได้ผ่านทางเว็บไซต์ MEA สำหรับการชำระเงินค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงนั้น ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องจ่ายเงินเองไปก่อน จากนั้นกรมบัญชีกลางจะโอนเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคืนในภายหลัง

 

เกณฑ์การพิจารณาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รอบใหม่ เป็นอย่างไร? 

  • คลังเผยหลักเกณฑ์เบื้องต้น ของผู้ที่อยากได้สิทธิบัตรคนจน รอบใหม่ ปี 2565 ดังนี้
  • รายได้ของครอบครัวจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท (เดิมมีการพิจารณารายได้เป็นรายบุคคล)
  • ใช้หลักเกณฑ์เรื่องทรัพย์สินมาพิจารณา 
  • หากไม่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนได้ที่ จุดรับลงทะเบียน
  • ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรายเก่า จะต้องลงทะเบียนใหม่

คุณสมบัติ 

  • มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

  • มีรายได้ไม่เกินกว่า 100,000 บาทต่อปี

  • ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน หรือมีได้ไม่เกิน 100,000 บาท (เช่น เงินฝากธนาคาร สลากออมทรัพย์ ตราสารหนี้)  

  • ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือหากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิบ้านพร้อมที่ดิน ต้องมีบ้านหรือทาวน์เฮาส์ไม่เกิน 25 ตารางวา ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร และกรณีเป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร สามารถมีพื้นที่ได้ไม่เกิน 10 ไร่

  • หากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร สามารถมีพื้นที่ได้ไม่เกิน 1 ไร่

 

ขั้นตอนการลงทะเบียน ดังนี้

  1. ผู้ที่ต้องการลงทะเบียน สามารถเลือกธนาคารที่สะดวกได้ตามรายชื่อธนาคาร ดังนี้ 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) 2. ธนาคารออมสิน และ 3. ธนาคารกรุงไทย

  2. แสดงหลักฐานยืนยันตนด้วย บัตรประชาชน

  3. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม แจ้งข้อมูลส่วนตัว เช่น รายได้ ทรัพย์สิน หนี้สิน และอื่นๆ

  4. เก็บหลักฐานไว้ยืนยันการลงทะเบียน

 

 

ที่มา: กรมบัญชีกลาง