30 หุ้นแห่ลงทุนธุรกิจอีวี เทรนด์ใหญ่ดันการเติบโต

30 หุ้นแห่ลงทุนธุรกิจอีวี เทรนด์ใหญ่ดันการเติบโต

สิ้นคำประกาศของนานาประเทศรวมทั้งไทยในเวทีโลก COP26 ที่สก็อตแลนด์ถึงการเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดการใช้พลังงานจากถ่านหินและฟอสซิลสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า(EV) ให้เร็วขึ้น แรงสะเทือนครั้งใหญ่ให้กับหุ้นที่เกี่ยวข้องยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมสตาร์ทวิ่งทันที

ด้วยไทยได้ประกาศแผนผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 15 ล้านคัน (ประมาณ 1 ใน 3 ของยานยนต์ทั่วประเทศ) ภายในปี 2578 และปลายปี 2564 จะออกมาตรการสนับหนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางคาดการร์เป็นไปได้ทั้งการลดหรือยกเว้นภาษีให้กับการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้ามาจำหน่ายในประเทศในช่วงแรก

กระแสยานยนต์ไฟฟ้าเป็นธีมใหญ่ของทั่งโลกที่หันมาเน้นลงทุนด้านนี้กันอย่างคึกคัก ผ่านบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง “เทสลา” ที่สามารถปิดดีลการขายรถไฟฟ้าให้กับบริษัทบริการรถเช่าของโลก อย่าง “เฮิร์ซ“ 100,000 คัน ถือเป็นคำสั่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้าครั้งใหญ่ที่สุด มูลค่า 4.2 ล้านดอลลาร์

เมื่อรวมกับปัจจัยข้างต้นแล้วในมุมมองการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ EV จึงเต็มไปด้วยความคาดหวังการเติบโต และธุรกิจแห่งอนาคต  จากความต้องการ EV Car ช่วยหนุนความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และปัจจุบันคำสั่งซื้อก็ยังหนาแน่น

เมื่อมาไล่ดูบริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยขยับตัวเข้าไปสู่ EV กันอย่างคึกคัก บมจ.ปตท. (PTT) ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Foxconn ด้วยการจัดตั้ง บริษัทร่วมทุน 3,220 ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย    ทั้งแบตเตอรี่  และ Platform Drivetrain หรือ Motor ในช่วง 5-6  ปี มีเป้าหมายการผลิตในระยะแรก 50,000 คัน/ปี และขยายเป็น 150,000 คัน/ปี ในอนาคต

อ่านข่าว : น้ำมันแพง ตัวเร่ง-ราคา ตัวรั้ง อีวี จับตารัฐหนุนปรับโครงสร้างราคา

ขณะที่ในกลุ่มบริษัทลูก PTT บมจ.โกลบอล เพาเวอร์  ซินเนอร์ยี่ (GPSC)  หันมาตั้ง โรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน (Energy Storage Unit) ด้วยเทคโนโลยี Semi-solid ตั้งแต่ก.พ.2563   โครงการดังกล่าวมีประมาณ 1,100 ล้านบาท

ที่ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง จะมีกำลังการผลิตในระยะแรกอยู่ที่ 30 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งคาดว่าโรงงานจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการผลิต (Start of Regular Production) ภายใน ไตรมาส 2 ปี 2564 ช่วงแรกโรงงานจะผลิตแบตเตอรี่ ทั้งในส่วน Mobility และ Stationary ป้อนให้กับ โรงงานอุตสาหกรรม สถานีอัดประจุธุรกิจขนส่ง เช่น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า และการประยุกต์ใช้งาน 

ขณะที่ผู้เบิก EV ในไทย บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA)  เตรียมเปิดตัวโรงงานแบตเตอรี่เฟสแรก 1กิกะวัตต์ และยังมีบริษัทย่อย บมจ.เน็กซ์ พอยท์ (NEX)   เป็นผู้ผลิตและรับจ้างผลิต รถบัส EV  มีลูกค้าสำคัฐ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เบื้องต้น  300 คัน

หรือแม้แต่ บมจ. บ้านปู (BANPU) ถือว่าเป็นธุรกิจพลังงานฟอสซิล ได้เปลี่ยนมาลงทุนในกรีน เอเนอร์ยี่ ผ่าน “บ้านปู เน็กซ์ ” เข้าลงทุนธุรกิจแบตเตอรี่กำลังการผลิตอยู่ที่ 1 กิกะวัตต์/ชั่วโมง และตั้งเป้าหมายการเติบโตของกำลังการผลิตไว้ที่ 3 กิกะวัตต์/ชั่วโมง ในปี 2568

30 หุ้นแห่ลงทุนธุรกิจอีวี เทรนด์ใหญ่ดันการเติบโต

ด้านธุรกิจกลางน้ำกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ยกให้หุ้นใหญ่ 3 บริษัท บมจ.เดลต้า  อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)  หรือ  DELTA   ,บมจ.เคซีอี  อีเลคโทรนิคส์  (KCE) , บมจ. ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA)   

และ บมจ. เอสวีไอ (SVI) ได้รับประโยชน์เต็มซึ่งแต่ละบริษัทเข้าผลิตอุปกรณ์ป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก รวมไปถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่ม Tier 2  ต่างหันมารับออร์เดอร์ยานยนต์ไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

สุดท้ายกลุ่มธุรกิจปลายน้ำถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้าทำดำเนินธุรกิจได้ง่าย ผ่านการให้บริการสถานีชาร์ทไฟฟ้า หรือการให้บริการเดินรถไฟฟ้า อุปกรณ์สายไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของธุรกิจเข้าขยายและเพิ่มรายได้ในส่วนนี้ 

อาทิ บมจ. แสนสิริ (SIRI) ร่วมมือกับชาร์จ แมเนจเม้นท์ (SHARGE) ติดตั้ง EV Charging Station ในโครงการที่อยู่อาศัยของแสนสิริ ใน 28 โครงการ  หรือ บมจ.เอทีพี30 (ATP30) ให้บริการบริหารจัดการการเดินรถโดยสารไฟฟ้ามินิบัส (E-Bus)  กับบริษัมย่อย PTT  และธุรกิจรถไฟฟ้าให้เช่ากับ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด

เรียกได้ว่า กระแสยานยนต์อีวีเป็นจุดสตาร์ทให้กับบริษัทจดทะเบียนหันมาเน้นการใช้เทคโนโลยีและ พลังงานสะอาด ที่จะมาพร้อมกับการเติบโตในอนาคตและกลายเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้กับหุ้นในสายตานักลงทุนเน้นมองอนาคตเป็นหลัก