“สุพัฒนพงษ์”เผยคนไทยแบกรับต้นทุนการดูดก๊าซคาร์บอนปีละ7-8 แสนล้าน

“สุพัฒนพงษ์”เผยคนไทยแบกรับต้นทุนการดูดก๊าซคาร์บอนปีละ7-8 แสนล้าน

“สุพัฒนพงษ์” ย้ำ การทุกคนต้องช่วยกันควบคุมสภาพภูมิอากาศ เผยต้นทุนดูดก๊าซคาร์บอนปีละ7-8 แสนล้านบาท หนุน กฟผ.ปลุกคนไทยร่วมปลูกป่า 1 ล้านไร่ ดันไทยมุ่งสู่ Carbon Neutrality ตั้งเป้าโครงการดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์จำนวน 1.2 ล้านตันต่อปี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนานกรัฐมนตรี และรัฐมรตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “พลังงาน นวัตกรรม สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” โดยความร่วมมือโครงการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าอย่างยั่งยืน ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่าประชาคมโลกมีความจำเป็นจะต้องช่วยกัน โดยเฉพาะการช่วยกันควบคุมสภาพภูมิอากาศให้อยู่ในระดับเท่าที่จะทำได้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมาจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การแปรปรวนของสภาพอากาศเกิดขึ้นตลอดเวลา คนในยุคก่อนเคยสัมผัสอากาศหนาวในเดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม แต่น่าเสียดายคนในยุคนี้ได้สัมผัสอากาศเย็นลดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศถือเป็นหน้าที่สำคัญของประชาชน ปัจจุบันประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ประมาณ 300-400 ล้านตันต่อปี ส่วนใหญ่มาจากโรงงานภาคอุตสาหกรรม หากจะดูดซับคาร์บอน 1 ตัน จะต้องใช้เงินกว่า 2,000 ล้านบาท ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินถึง 7-8 แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้น กฟผ. ได้ขานรับนโยบาย Carbon Neutrality ซึ่งนำมาวางเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานของ กฟผ. ทั้งในส่วนการผลิตไฟฟ้า ระบบส่ง พลังงานหมุนเวียน นวัตกรรม การสนับสนุนการชดเชยคาร์บอนไดออกไซต์ผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการปลูกป่าล้านไร่ตามแนวคิด “ EGAT Carbon Neutrality” เป้าหมายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งมีแผนในการปลูกป่าปีละหนึ่งแสนไร่ รวมจำนวนหนึ่งล้านไร่ ระหว่างปี ค.ศ. 2022-2031 ประกอบไปด้วยป่าอนุรักษ์ ป่าชายเลน ป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ โดยจะ Kick off โครงการฯ ปลูกป่าชายเลนที่จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ คาดว่าทั้งโครงการฯ จะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซต์จำนวน 1.2 ล้านตันต่อปี

ทั้งนี้ กฟผ.ถือเป็นต้นแบบองค์กรที่ผลิตกระแสไฟฟ้า และปรับเปลี่ยนเพื่อพลังงานสะอาด โดยจะเห็นได้จากนวัตกรรมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดกับพลังน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำ โดยโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน และนำพลังน้ำมาผลิตไฟฟ้าเสริมในช่วงที่ความเข้มแสงไม่เพียงพอหรือช่วงกลางคืน ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนที่ปกติแล้วจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ  ถือเป็นต้นแบบขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อว่าประเทศไทยเรามีศักยภาพ ที่จะทำสิ่งดีๆ อย่างนี้ให้เป็นตัวอย่างกับประชาคมทั่วโลก อนาคตเราจะเป็นต้นแบบที่ดีของประเทศที่ให้ความสำคัญต่อสารคาร์บอนต่ำและนำไปสู่การเป็นสมดุลของคาร์บอนให้ได้ในอนาคต

ประเทศไทยมีการประกาศแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 ซึ่งจะถึงเป้าหมายหรือไม่นั้น แต่จะเป็นปีที่ทำให้เร็วที่สุดได้ ดังนั้น กิจกรรม การประกาศนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของ กฟผ. (EGAT Carbon Neutrality) ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สมบูรณ์ของกระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหวังว่ากิจกรรมของกฟผ.จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ อยากให้ส่งต่อและทำให้เป็นตัวอย่าง เช่น โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดถือเป็นตัวอย่างที่ดี กฟผ.มีศักยภาพมากปรับเปลี่ยนตรงนี้ได้

นอกจากนี้ ในส่วนของการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า อนาคตจะต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ระบบสายส่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่น เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งบทบาทของกฟผ.ยังมีอีกมากที่จะเป็นต้นแบบ ระบบสายส่งก็จะต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอรองรับให้เกิดความเสถียรภาพ ในการจำหน่ายหรือจัดหาไฟฟ้าให้ประชาชนได้ใช้เหมือนกับที่กฟผ.ทำมาโดยตลอดในระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้งมา และต้องรักษาไว้เป็นรุ่นต่อรุ่นให้ได้ ถือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย เชื่อมั่นว่ากฟผ.จะบรรลุวัตถุประสงค์และสืบทอดไปต่อได้

สำหรับโครงการปลูกป่าล้านไร่ จะผลักดันให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม เชื่อว่าการสร้างการตระหนักรู้ให้เป็นหน้าที่อย่าเป็นเพียงหน้าที่ของกฟผ.เพียงอย่างเดียว อย่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ หรือรับบาลที่เกี่ยวข้อง แต่ปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้เป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยที่มีหน้าที่จะต้องปลูกป่าหรือสร้างกระบวนการดูดซับคาร์บอนเพื่อลดโลกร้อน หรือในที่สุดคือสภาพการแปรปรวนบนอากาศ เพราะถ้าไม่เริ่มวันนี้ คนรุ่นหลังก็จะดำรงชีวิตด้วยความยากลำบากมากขึ้น การทำในสิ่งที่เป็นต้นแบบจริงๆและสิ่งดีๆเหล่านั้น จะกลับคืนมาสู่ทุกคน แล้วจะเป็นสิ่งดีๆ สำคัญที่ส่งต่อให้ชนรุ่นหลังลูกหลานของพวกเราทุกคนต่อไป

“สุพัฒนพงษ์”เผยคนไทยแบกรับต้นทุนการดูดก๊าซคาร์บอนปีละ7-8 แสนล้าน

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในยุคที่โลกและประเทศไทยของเรากำลังเผชิญกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงและทวีคูณมากในปัจจุบัน กฟผ.ตระหนักถึงความสำคัญที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เพื่อให้เป้าหมายภายใต้หลักการสร้างสมดุลในการสร้างการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้กำหนดทิศทางเพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนภายใต้การเติบโตสู่สังคมคาร์บอนต่ำร่วมกัน สู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการตั้งแต่ต้นกำเนิด การดูดซับเก็บคาร์บอนอย่างมีส่วนร่วม และการสนับสนุนโครงการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือการปรับสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในปี2050 ตั้งเป้าผลิตพลังงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงไฮโดรเจนไว้ที่ 6.6 แสนล้านหน่วย  โดยกฟผ.มีการผลิตไฟฟ้าที่ได้รับจากสนับสนุนจากรัฐบาล 5,320 เมกะวัตต์ ในปี2036 เพื่อให้ได้พลังงานหมุนเวียนมาใช้อย่างเหมาะสมไม่กระทบต่อการผลิตไฟฟ้า ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้วางแนวทางในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าอนาคต โดยการเพิ่มปริมาณดูดเก็บก๊าซคาร์บอนจะเน้นไปที่โครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ภายในระยะเวลา 10 ปี พร้อมวางหลักการร่วมกับพันธมิตรผ่านแพลตฟอร์มบริหารจัดการมีการปลูกป่า โดยมุ่งเน้นปลูกป่าอนุรักษ์ชุมชนเศรษฐกิจ ปลูกป่าตั้งเป้าปีละ 1 แสนไร่ และได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชน การเพาะเลี้ยงอนุบาลต้นกล้า ขอให้ชุมชนช่วยดูแลต้นกล้า ช่วยกันปลูกและช่วยกันดูแล และใช้เทคโนโลยี ร่วมกับจิสด้า ตรวจสอบพื้นที่ และใช้โดรนตรวจเช็คสภาพโดยรวม

“สุพัฒนพงษ์”เผยคนไทยแบกรับต้นทุนการดูดก๊าซคาร์บอนปีละ7-8 แสนล้าน

สำหรับการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าของ กฟผ. ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 มีภารกิจหลักในการณรงค์ภาคประชาชนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของ กฟผ. นับเป็นรากฐานในการกำหนดมาตรฐานพลังงานขั้นต่ำ เป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้แล้วสำหรับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งงานฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของ กฟผ. เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ