ธปท.เปิด 5 ซีนาริโอ อนาคต “แบงก์ไทย” ยุคดิจิทัล

ธปท.เปิด 5 ซีนาริโอ อนาคต “แบงก์ไทย” ยุคดิจิทัล

ธปท.กาง 5 ซินาริโอ แบงก์ไทยในโลกดิจิทัล ชี้อนาคตจะเห็นผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้น หวั่นแบงก์หายตัว หากไม่ปรับตัว

          นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายเสถียรภาพระบบการเงินและยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าว ในหัวข้อ “ถึงเวลาปรับตัวเพื่อเปลี่ยน Restart ธุรกิจการเงินแบงก์พาณิชย์ ฝ่ามหันตภัยโควิด-19 จัดโดยโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) 2564 ว่า ปัจจุบันเริ่มเห็นผู้ให้บริการทางการเงินไทย เริ่มปรับรูปแบบในการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น  เริ่มต้นที่เห็นเกิดขึ้นแล้ว ในปัจจุบัน            Sceario  1: Better Bank ธนาคารพาณิชย์ยังเป็นผู้ให้บริการที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง โดยเริ่มเห็นแบงก์ไทย มีการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อเพิ่มประสทิธิภาพธุรกิจทางการเงินหลัก
      Scenario 2 : New Bank เริ่มเห็นผู้ให้บริการรายใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเข้ามามากขึ้น เริ่มเห็นผู้เล่นหน้าใหม่ นิวแบงก์ หรือนอนแบงก์ เข้ามาให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น เหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้น 

      และสิ่งที่จะเห็นมากขึ้นในระยะข้างหน้าคือ Scenario 3 :Distributed bank ซึ่งมองว่าแบงก์ แบบดั่งเดิมยังคงเป็นผู้เล่นในตลาด และสามารถแข่งขันได้ แต่จะมีผู้ให้บริการใหม่ๆเข้ามา ทำให้แบงก์ลีบเล็กลง หากไม่เกิดการแปลงแปลง ซึ่งจะทำให้แบงก์เป็นผู้เล่นที่เล็กลงเรื่อยๆ 
      ดังนั้น แบงก์จะหยุดนิ่งไม่ได้ อาจเห็นการปรับตัว โดยการสร้างความเชื่ยวชาญเฉพาะด้านขึ้นมา โดยเฉพาะในส่วนให้บริการอื่นๆ หรือการจับมือ ร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มความกระฉับกระเฉง รวดเร็วเพราะแบงก์มีความมั่นคง และคนมีความเชื่อมั่นแบงก์อยู่แล้ว แต่การจับมือกับผู้เล่นใหม่ๆ พันธมิตรต่างๆ จะช่วยผนวกให้การให้บริการต่างๆรวดเร็วมากขึ้น 
     Scenario 4 : Relegated bank ที่แบงก์จะเริ่มหายไป ไปฝังอยู่ใน ecosystem หรือเป็นผู้ให้บริการอยู่หลังบ้านแทน เหมือนกรณีเดียวกันในต่างประเทศ ที่เริ่มเห็นแบงก์หายไป แต่แบงก์จะกลายเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่น อยู่หลังแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก และไม่รู้ว่าการให้บริการทางการเงินต่างๆผ่านแบงก์ไหนบ้าง

    สุดท้าย Scenario 5 : Disintermediated bank ธนาคารพาณิชย์ จะเริ่มลดบทบาทความสำคัญ ที่มีต่อระบบการเงินในฐานะตัวกลางทางการเงิน และถูกแทนที่ด้วยแพลตฟอร์ม หรือเทคโนโลยีที่เป็นตัวกลางในการสร้าง Trust หรือความน่าเชื่อถือ ระหว่าง Party ต่างๆ 
     “สิ่งที่เราจะเห็นอย่างน้อยสำหรับทิศทางแบงก์ไทยในระยะข้างหน้า เราเชื่อว่า เห็นแน่นอนใน Scenario ที่ 3และ 4  แต่หากอนาคต แบงก์จะไปสู่ Scenario 5 คือไม่มีแบงก์ เหล่านี้ก็ต้องมีประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะในภาวะปกติ การไม่มีตัวกลางทางการเงิน การให้บริการทางการเงินก็รวดเร็วถูก แต่ในยามวิกฤติ ที่ระบบการเงินไม่ทำงาน ติดขัด เราก็ยังไม่รู้ว่าระบบต่างๆจะเป็นอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ต้องคิดเหมือนกัน”