"Non-Bank" Sector (18 มิ.ย.63)

"Non-Bank" Sector (18 มิ.ย.63)

ความกังวลเรื่องกฎเกณฑ์ของทางการกลับมาอีกครั้ง

Event

Sector update

lmpact

ความกังวลเรื่องกฎเกณฑ์ของทางการกลับมาอีกครั้ง

ตลาดกำลังเป็นกังวลกับความเสี่ยงเรื่องกฎเกณฑ์ของทางการเกี่ยวกับการลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (P-loan) ลิสซิ่ง และสินเชื่อจำนำทะเบียน ซึ่งถูก ธปท.ควบคุมโดยตรง เราคิดว่าการลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผู้บริโภคเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยเหลือลูกหนี้
ที่ได้รับผลกระทบจาก covid-19 เนื่องจากมาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบางมาตรการจะสิ้นสุดในปลายเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ภาพแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ non-bank โดยรวมเปลี่ยนแปลงไป

มาตรการดอกเบี้ยต่ำที่ 12% สำหรับบัตรเครดิต และ 22% สำหรับ P-Loan ที่ใช้ในปัจจุบันไม่ประสบผลมากนัก

ธปท. แนะนำให้ธนาคาร และนอนแบงก์ลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือแค่ 12% (จากเพดานที่ 18%) และลดอัตราดอกเบี้ย P-Loan เหลือ 22% (จากเพดานที่ 28%) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก covid-19 โดยให้มีผลเป็นเวลา 3 เดือน จากเดือนเมษายน 2563-มิถุนายน 2563 แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ไม่ค่อยได้ผลเพราะมีลูกหนี้แค่ไม่กี่รายเท่านั้นที่ได้เข้าร่วม เนื่องจากเงื่อนไขที่ธปท.และสถาบันการเงินไม่เอื้ออำนวย KTC เผยว่ามีลูกหนี้ที่มีมูลหนี้รวมแค่ 200-300 ล้านบาท (<1% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด) ที่มีคุณสมบัติสามารถเข้าโครงการนี้ได้ ในขณะที่ของ MTC มีลูกหนี้ที่มีมูลหนี้รวม 1.2 พันล้านบาท (ประมาณ 2% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด) ยื่นขอเข้าร่วมโครงการ

...น่าจะมีการผ่อนคลายเกณฑ์ลงอีก

ในกรณีฐาน เราคิดว่า ธปท. น่าจะผ่อนคลายเกณฑ์หลักลงอีก และสนับสนุนให้ทั้งธนาคาร และ nonbank ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจาก covid-19 โดยให้ครอบคลุมทั้งหนี้ที่ยังสร้างรายได้ และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพื่อลดภาระหนี้ของประชาชน และเพิ่มรายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยป้ องกันความเสี่ยง NPL ของทุกสถาบันการเงิน ทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือดอกเบี้ยจะไม่ได้มีแค่ 2-5% ของพอร์ตสินเชื่อ

Non-bank กำลังถูกกดดันจากการบังคับใช้นโยบาย

หากมาตราการลดดอกเบี้ยถูกนำมาใช้ ธนาคารจะไม่ถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญเพราะสินเชื่อผู้บริโภค (P-loan และบัตรเครดิต) คิดเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับสินเชื่อรวม แต่ non-bank จะถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า ซึ่งระดับความแรงจะขึ้นกับ ธปท. และการบังคับใช้นโยบาย ดังนั้น เราจึงมองว่าผลกระทบของนอนแบงก์ แต่ละแห่งจะไม่เท่ากัน (SAWAD>KTC>MTC) ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการดอกเบี้ยต่ำ

Valuation and action

ในปัจจุบัน KTC คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเพดาน โดยคิดดอกเบี้ย P-loan อยู่ที่ประมาณ 25% และดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ 15% ทั้งนี้ ถ้าหากมีลูกค้าในพอร์ต 10% ยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการดอกเบี้ยต่ำก็จะทำให้รายได้ลดลง 250 ล้านบาท หรือประมาณ 4% ของกำไรปีนี้ และคิดเป็นประมาณ 3% ในกรณีของ MTC แต่
อย่างไรก็ตาม SAWAD จะถูกกระทบหนักกว่าเพราะในปัจจุบันคิดดอกเบี้ยสูงกว่าคู่แข่ง ดังนั้น เราจึงมองว่า downside ของ yield สินเชื่อจะมากกว่า MTC ประมาณ 1.5x

Risks

มีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ย NPL เกิดใหม่ ความเสี่ยงเรื่องการตั้งสำรอง