นักวิชาการชี้หมดยุคดอกเบี้ยต่ำ ตามต่างประเทศ

ในภาวะปัจจุบันที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเป็นขาขึ้น หากประเทศไทยไม่ขยับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นตามก็จะเกิดเป็นส่งครามดอกเบี้ย สิ่งที่จะได้รับผลกระทบคือเงินจะไหลออกจากประเทศ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเงินบาทอ่อนค่าซึ่งจะไปกระทบกับราคาพลังงาน

หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล ระบุ ในภาวะปัจจุบันที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเป็นขาขึ้น หากประเทศไทยไม่ขยับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นตามก็จะเกิดเป็นส่งครามดอกเบี้ย สิ่งที่จะได้รับผลกระทบคือเงินจะไหลออกจากประเทศ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือเงินบาทอ่อนค่าซึ่งจะไปกระทบกับราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างแน่นอน แต่จะขึ้นเร็วหรือแรงหรือไม่นั้นต้องหาจุดสมดุล ซึ่งคาดว่าจะขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปครั้งละ 0.25% ต่างจากสหรัฐฯ ที่ขึ้นแรงและเร็ว

อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.คณิสร์ แสงโชติ ระบุ ช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยทั่วโลกเป็นช่วงขาลง ซึ่งกล่าวได้ว่าการที่ดอกเบี้ยต่ำในช่วงที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องปกติของระบบเศรษฐกิจ หลายๆประเทศทั่วโลกขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว หากประเทศไทยไม่ขยับดอกเบี้ยขึ้นตามก็จะได้รับผลกระทบจากสงครามค่าเงิน

ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน

ด้านคณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ระบุ จากสภาวะสถานการณ์และเศรษฐกิจในปัจจุบันสร้างความตระหนกให้กับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ SME ไปจนถึงระดับบุคคล สิ่งเหล่านี้คือความกังวลของทุกธุรกิจทุกคน การตั้งรับอย่างถูกวิธี รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างมาก

คณะพาณิชยศาสตร์ฯ โดยคณาจารย์ภาควิชาการธนาคารและการเงิน จึงได้จัดทำคู่มือการดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินชีวิตอย่างไรให้รอดทุกเรื่องในท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งหมดนี้ กับ 7 CBS Series 7 ทางรอดวิกฤตเงินเฟ้อ #รู้แล้วรอด ถอดบทเรียนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ใน 7 เรื่องสำคัญ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและนำไปใช้ได้จริง ทั้งเรื่อง เงินเฟ้อ ราคาพลังงาน อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท หนี้ครัวเรือน การออม และการลงทุน โดยจะเผยแพร่ ผ่านทาง facebook และ Youtube Live ได้ทางเฟสบุ๊ก CBS Chula และ CBS Academy