"ค่าเงิน"หนุนส่งออกรูปเงินบาท 5 เดือน โตแรง 23% แต่ขาดดุลสะสม 2.13แสนล้านบาท

"ค่าเงิน"หนุนส่งออกรูปเงินบาท 5 เดือน โตแรง 23% แต่ขาดดุลสะสม 2.13แสนล้านบาท

พาณิชย์เผย ส่งออก 5 เดือนรูปเงินบาทโต 23% ขณะส่งออกรูปดอลลาร์ โต 12.9% ปมนำเข้าพลังงาน ส่วนส่งออกสินค้าเกษตร-อุตสาหรกรรมเกษตรแรงไม่ตก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยเดือน พ.ค. 2565  การส่งออก มีมูลค่า 25,509.0 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว10.5 % เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  การนำเข้า มีมูลค่า 27,383.2 ล้านดอลลาร์ขยายตัว 24.2 % ดุลการค้าขาดดุล 1,874.2 ล้านดอลลาร์ขณะที่ 

ภาพรวมการส่งออก5 เดือนแรกของปี 2565 ม.ค. ถึง พ.ค. การส่งออก มีมูลค่า 122,631.8 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว12.9 % การนำเข้ามีมูลค่า 127,358.3 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 20.2 % ดุลการค้า 5 เดือนแรกขาดดุล 4,726.6 ล้านดอลลาร์

นายจุรินทร์กล่าวถึงมูลค่าการค้าในรูปเงินบาทเดือน พ.ค. 2565 การส่งออก มีมูลค่า 854,372 ล้านบาท ขยายตัว 19.3 % การนำเข้า มีมูลค่า 928,890 ล้านบาท ขยายตัว34.0% ดุลการค้าขาดดุล 74,518 ล้านบาท

ภาพรวมการส่งออก5 เดือนแรกของปี 2565 ม.ค. ถึง พ.ค. การส่งออกมีมูลค่า 4,037,962 ล้านบาท ขยายตัว23.2 % การนำเข้า มีมูลค่า 4,251,796 ล้านบาท ขยายตัว 31.1 % ดุลการค้า 5 เดือนแรก ขาดดุล 213,834 ล้านบาท

 "การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับดีขึ้น สะท้อนถึงอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และการใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน"

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ ได้ดังนี้  ตลาดหลัก ขยายตัว 12.3 % โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ 29.2 % อาเซียน 8.3 % การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับดีขึ้น สะท้อนถึงอุปสงค์จากประเทศคูคาที่ยังขยายตัวได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และการใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน 

สำหรับภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ ได้ดังนี้ ตลาดหลัก ขยายตัว 12.3 % โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ 29.2 % อาเซียน 8.3 % CLMV คือ ประเทศ กัมพูชา ลาว สหภาพเมียนมาร์ และเวียดนามอยู่ที่ 13.1 % ขณะที่ตลาด จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป กลับมาขยายตัว 3.8 % 6.2 % และ 12.8 % ตามลำดับ" 

“แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไปของประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกไทยยังขยายตัวได้ดี และเชื่อมั่นว่า ตัวเลขการส่งออกในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทรงตัว ความต้องการอาหารจากทั่วโลกที่สูงขึ้น พร้อมปัจจัยหนุนด้านราคาสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน ภาคบริการท่องเที่ยวของหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว และการมีปริมาณเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ ล้วนส่งผลดีต่อการส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจได้รับแรงกดดันบ้างจากสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่เป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ”

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ส่งออกสูงได้แก่ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว25.8 % ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้งขยายตัว27.6 % ขยายตัวในรอบ 5 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ไต้หวันผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังขยายตัว81.4 % ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปขยายตัว32.5 % ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย”

ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว4.2 % ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือนโดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันขยายตัว23.3 % ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สิงคโปร์ กัมพูชาผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว10.0% ขยายตัวในรอบ 5 เดือน ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นแผงวงจรไฟฟ้าขยายตัว6.4 % ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ ไต้หวัน

รายงานข่าวแจ้งว่า การนำเข้า 5 เดือนแรกปี 2565 เป็นการนำเข้าสินค้ากลุ่มเชื้อเพลิงในรูปดอลลาร์ ขยายตัวถึง 84.4%   ขณะที่การนำเข้าก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม สูงถึง 200%