ปรับสูงขึ้น ซื้อ SCC SCGP DELTA (27 มิ.ย. 65)

ปรับสูงขึ้น ซื้อ SCC SCGP DELTA (27 มิ.ย. 65)

คาดดัชนีฯ ปรับสูงขึ้น แนวต้าน 1,577 / 1,592 จุด แนวรับ 1,560 / 1,550 จุด แนะนำ ซื้อ SCC SCGP DELTA ทางเทคนิคยังคงมีสัญญาณ Oversold และจะเกิดสัญญาณซื้อเพิ่ม หากทะลุแนวต้าน 1,577 จุด

โมเมนตัมบวก คือ การคาดว่าเงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่ม Anti-Commodities Play และกลุ่มเทคโนโลยี ประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ G7-ผู้นำประชุมที่เยอรมนี (วันที่ 26-28 มิ.ย.) หำรือแผนควบคุมราคาน้ำมัน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่; ECB จัดงาน Forum (จนถึงวันที่ 29 มิ.ย.) เชิญประธาน FED, ECB, BOE และ BIS ร่วมงาน; USA รายงานสินค้าคงทนเดือน พ.ค.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT MEGA MINT KTB MAJOR (เพิ่ม CKP และขาย BLA) และพอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS DOHOME SIS SAT WICE PORT TOG

+ Window Dressing: COM7 ACE HMPRO LH AMATA BAM CRC TIDLOR RS SINGER BEC WHA GUNKUL BPP RATCH PLANB JMT RBF TTB STEC CPALL

+ 2Q22E Earnings Play: TIDLOR PTT TOP CPALL CRC BEC KCE MINT BDMS VGI SPRC BEM MAJOR PTTEP และ OSP

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: TFG GFPT ASIAN TWPC NER SAPPE KCE

+/- เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด: -กลุ่ม Inflation Hedging (Commodities): PTTEP TOP BANPU AGE KSL +กลุ่ม Anti-Commodities Play: SCC SCGP TASCO GULF GPSC KCE DELTA

+/- COVID-19 สายพันธุ์ BA.4, BA.5: +กลุ่มการแพทย์ กลุ่มฉีดวัคซีนและเครื่องมือแพทย์: BCH CHG IMH STGT -กลุ่มเปิดเมืองเปิดประเทศ: CRC CPALL MAKRO HMPRO BH BDMS SHR SPA MINT ERW AOT

+/- SET50 / SET100 Index (มีผลวันที่ 1 ก.ค.-30 ธ.ค. 2022): +JMART JMT BLA (SET50) FORTH ONEE PSL TIPH (SET100) –RATCH STGT COM7 (SET50) BPP RS SIRI TVO (SET100)

 

ปัจจัยลบ

- Thailand / Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา Foreign เป็นผู้ขายสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก -11,011.11 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -12,327 ล้านบาท และ MTD -32,629 ล้านบาท) แต่กลับมาเปิด Long SET 50 Index Future +5,118 สัญญา (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า เปิด Short SET50 Index Future -118,798 สัญญา และ MTD -127,106 สัญญา)

 

 

 

 

ปัจจัยบวก

+ Equities: ตลาดหุ้นเอเชียสัปดาห์นี้ คาดมีแรงซื้อคืนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มการแพทย์ และแรงขายหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อิงสมมติฐานเงินเฟ้อโลกผ่านจุดสูงสุด จากนโยบายเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อของธนาคารกลางโลก ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย จะเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจเพิ่มขึ้น

 

ประเด็นสำคัญ

      -  G7-ผู้นำประชุมที่เยอรมนี: (วันที่ 26-28 มิ.ย.) หารือแผนควบคุมราคาน้ำมัน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่

      -  ECB: จัดงาน Forum (จนถึงวันที่ 29 มิ.ย.) เชิญประธาน FED, ECB, BOE และ BIS ร่วมงาน      

      - USA: รายงานสินค้าคงทนเดือน พ.ค. คาดลดลง -0.4% MoM (Vs เดือน เม.ย. +0.4% MoM)

     - China: รายงาน Industrials Profits เดือน พ.ค. คาด -3% YoY (Vs เดือน เม.ย. —8.6% YoY)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวก ตามตลาดหุ้นภูมิภาค: ดัชนีฯ ทำจุดสูงสุดในช่วงเปิดตลาดที่ 1,570.62 จุด +13.01 จุด ก่อนอ่อนตัวลงมาต่ำสุดที่ 1,559.74 จุด ในช่วงบ่าย และรีบาวนด์ในชั่วโมงสุดท้ายมาปิดลาดที่ 1,568.76 จุด +11.15 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.59 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง +2.6% (SCC) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +2.4% (DELTA KCE) บรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร +1.68% (SCGP ADVANC DTAC) การแพทย์ +1.35% (CHG BCH THG) หุ้นบวก >4% SABUY CPR AS PICO PRG ARIN ACC A5 SE AS KUMWEL หุ้นลบ >4% BLA CFRESH BKD ROH CNT SUTHA CPH LDC CPI NCAP KAMART

 

 

 

 

 

 

 

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: DJIA +2.68% S&P500 +3.06% Nasdaq +3.34% รับข่าวดีจาก 1. ประธานเฟด สาขาเซนต์หลุยส์ Bullard ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะ Recession 2. ตลาดคาดว่าแผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดคาดว่าจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. 2023 ที่ 3.5% (จากเดิมคาด 4%) และ 3. ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่เดือน พ.ค. +10.7% MoM เป็น 696k ซึ่งดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะปรับลดลงเป็น 588k ทำให้ตลาดคลายกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก STOXX 600 +2.6% WoW สูงสุดรอบ 3 เดือน DAX +1.59% CAC40 +3.23% FTSE +2.68% นำขึ้นโดยกลุ่ม Health Care, Bank, Technology, ค้าปลีก หลังจากตลาดเริ่มปรับลดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางต่าง ๆ (ยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้ว ขยับตัวลดลง WoW) และการกลับมาร่วงลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นโมเมนตัมบวกต่อเศรษฐกิจและ ผลกำไรบจ.

+ น้ำมันและทองคำปิดบวก: WTI +USD3.35 ปิดที่ USD107.62/บาร์เรล Brent +3.07 ปิดที่ USD113.12/บาร์เรล วิตกอุปทานขาดแคลนจากข่าวบริษัทน้ำมัน แห่งหนึ่งของลิเบียต้องระงับการผลิตน้ำมันชั่วคราว เนื่องจากมีการประท้วงทางการเมือง ส่วนทองคำ +50 เซนต์ ปิดที่ USD1,830.30/ออนซ์ เนื่องจากการกลับมาอ่อนค่าของสกุลเงิน USD -0.23% เป็น 104.18 และแรงซื้อทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ประเด็นสำคัญ

+ China: ปักกิ่งไฟเขียวให้เด็กนักเรียนชั้นประถมและมัธยมทุกคนในกรุงปักกิ่ง สามารถกลับเข้าชั้นเรียนได้แล้วตั้งแต่วันจันทร์ที่จะถึงนี้ (27 มิ.ย.) เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลดลงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

+ USA: New Home Sales เดือน พ.ค. ดีกว่าคาดการณ์ โดยเพิ่มขึ้น +10.7% MoM เป็น 6.96 แสนหลัง สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ -1% MoM เป็น 5.88 แสนหลัง (Vs เดือน เม.ย. -12% MoM) อย่างไรก็ดี อัตรดาอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นใกล้ 6% และราคาบ้านที่อยู่ในระดับสูง (เฉลี่ย USD449,000 +15% YoY) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายบ้านใหม่ปรับลดลงใน 2-3 เดือนข้างหน้า

- USA / IMF: ปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจ USA ปีนี้ลงเป็น 2.9% (เดิม 3.7% เมื่อเดือน เม.ย.) เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ทำให้อุปสงค์ชะลอตัวลง แต่ก็คาดว่าสหรัฐฯ จะหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้อย่างเฉียดฉิว ส่วนในปี 2023 นั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 1.7% ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.3% และคาดว่าจีดีพีปี 2024 จะขยายตัวเพียง 0.8%

- USA: Michigan Consumer Sentiment เดือน มิ.ย. ถูกปรับลดตัวเลขลงเป็น 50 (Vs ประเมินครั้งแรกเดิม 50.2 และ 58.4 เดือน พ.ค.) ในเดือน มิ.ย. 2020 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนี current economic conditions ร่วงลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 53.8 (Vs คาด 56.4 และเดือน พ.ค. 63.3) โดย 79% ของผู้บริโภค (สูงสุดตั้งแต่ปี 2009) คาดว่าการดำเนินธุรกิจจะเลวร้ายลงในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีนี้ทรงตัวที่ 5.3-5.4% ไม่แตกต่างจากช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อ 5 ปีข้างหน้า ปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.1% (จาก 3% ในเดือน พ.ค.)

- Thailand / COVID-19 สายพันธุ์ BA.4 BA.5: องค์การอนามัยโลกให้ความเห็นว่าต้องเฝ้าระวัง BA.5 อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแอนติบอดีที่จะทำลายฤทธิ์ของเชื้อใช้ได้น้อย ยารักษาตอบสนองน้อยลง แต่ยังสรุปไม่ได้ว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม ขณะที่ฐานข้อมูลโลก GISAID พบ BA.5 สะสม 31,577 ตัวอย่าง ใน 62 ประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 25%

- Thailand: ดุลการค้าเดือน พ.ค. ขาดดุล -USD1.87bn. เนื่องจากนำเข้า +24.1% YoY และส่งออก +10.5% YoY (Vs คาด ขาดดุล -USD1.2bn. นำเข้า +17.3% YoY ส่งออก +6.7% YoY และเดือน เม.ย. ขาดดุล -USD1.91bn. นำเข้า +21.5% YoY ส่งออก +9.9% YoY) โดยเป็นการขาดดุลการค้าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง เนื่องจากนำเข้าเติบโตสูงกว่าคาด +24.1% YoY (Vs คาด +17.3% YoY และเดือน เม.ย. +21.5% YoY) เป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นและ Domestic Demand ที่แข็งแกร่ง หลังผ่อนคลายล็อกดาวน์

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT JMART KCE BCH

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: SCC SCGP DELTA

Derivatives: แนะเปิด Long S50M22 เก็งกำไรหลัง 10:30 น.