บล.กสิกรไทย เตือนระวังแรงขาย Sell in May ช่วงครึ่งแรกเดือนพ.ค.

บล.กสิกรไทย เตือนระวังแรงขาย Sell in May ช่วงครึ่งแรกเดือนพ.ค.

บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยครึ่งแรกเดือนพ.ค. เผชิญกับเหตุการณ์ Sell in May ท่ามกลางแรงกดดันดอกเบี้ยขาขึ้น-Real yields เป็นบวก-สงครามรัสเซียยูเครน มองเงินเฟ้อในประเทศยังสูง หนุน BEM ขึ้นค่าบริการ ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐยิ่งกว้างขึ้น กดบาทอ่อนค่า หนุนหุ้นส่งออก

บล.กสิกรไทย มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนพ.ค. จะเผชิญกับเหตุการณ์ Sell in May ประเมินกรอบแนวรับรอบนี้ 1,610-1,630 จุด และแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,585 จุด และมีแนวต้านที่ 1,666 จุด โดยยังไม่แนะนำเพิ่มพอร์ตลงทุน ควรรอดูทิศทางในช่วงครึ่งเดือนหลัง 

โดยยังมีความวิตกกังวลต่ออัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ โดย Bond Yield สหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กลายเป็น Sentiment ลบต่อกลุ่มการเงิน (MTC, SAWAD, CHAYO, MICRO ฯลฯ) และกังวลประเด็น Real Yield เป็นบวกหรือ Yield adjusted inflation ปัจจุบันขยับขึ้นมาเป็นบวก จากก่อนหน้า Real yields  ติดลบมากกว่า 1% มา 3 ปีนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 

ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังทรงตัวสูง โดยล่าสุดผลประชุม OPEC+ มติยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแผนการผลิตน้ำมัน สำหรับเดือน มิ.ย.65 โดยรวมราคาน้ำมันดิบโลก Brent ล่าสุดยังยืนเหนือ 110 ดอลลาร์/บาร์เรล KS ยังแนะนำหุ้นพลังงาน PTEEP, SPRC, BCP

ด้านปัจจัยในประเทศ การรายงานเงินเฟ้อไทย (CPI) เดือน เม.ย.65 (+4.7% YoY) ออกมาต่ำกว่าตลาดคาด แต่ในเชิง MoM เงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น (+0.4% MoM) ด้าน Core CPI (+2%) ออกมาตามคาด ทิศทางเงินเฟ้อที่สูงคาดจะบวกต่อหุ้น BEM การปรับราคาค่าโดยสารครั้งต่อไปจะขึ้นอยู่กับเงินเฟ้อพื้นฐาน  

อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มเงินเฟ้อไทยคาดยังทรงตัวสูง แต่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทย คาดยังทรงตัวต่ำที่ 0.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ สวนทางกับดอกเบี้ยสหรัฐที่เป็นขาขึ้น ณ.สิ้นปี 2565 ตลาดคาดจะอยู่ที่ 2.25-2.75%  ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสหรัฐและไทยกว้างขึ้น หนุนเงินไหลออกและมีโอกาสหนุนให้เงินบาท/ดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่า กลายเป็น Setiment บวกต่อหุ้นส่งออก (ASIAN, GFPT, SAPPE)   

ส่วนประเด็นที่ให้น้ำหนักและติดตามช่วงนี้ คือ 

1.) การรายงานงบงวด 1Q65 อาทิ  FPT, PSL, THCOM, TPCH, ZEN ฯลฯ

2.) ติดตามการเก็บภาษีขายหุ้น (FTT) ล่าสุด กรมสรรพากร เผยว่าการจัดเก็บภาษีอยู่ระหว่างการพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสม คาดจัดเก็บจากการขายหุ้นเท่านั้น แต่ล่าสุดสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ส่งหนังสือค้านต่อกระทรวงการคลังเพื่อค้านการจัดเก็บ KS ประเมินผลกระทบหากเกิดขึ้นคาด 

      2.1) รัฐจะมีรายได้มากขึ้นจากการเก็บภาษี  

      2.2) FTT จะทำให้มูลค่าการซื้อขายของตลาดลดลง  

      2.3) ความนิยมในการซื้อขายหุ้นในตลาดลดลงส่งผลให้ค่า PE ของหุ้นและตลาดต่ำลง ต้นทุนการเงินของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น

      2.4) แรงจูงใจในการเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดน้อยลง

ธีมการลงทุน

1.) หุ้นคุณภาพ (Value & Qaulity)  อาทิ  BRI, AEONTS, KKP, KTB, DCC  

2.) Theme หุ้นแนวโน้มกำไรไตรมาส 2 จะดีต่อ  อาทิ  PTTEP, CPALL, BH, BDMS, PR9, AWC, CENTEL, MINT, SHR, AOT, CPN, DTAC, PSL, RBF, TVO, EPG  

3.) Theme แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า  แนะนำหุ้นส่งออก (ASIAN, SAPPE, GFPT, EPG)

4.) Theme หุ้นเปิดเมือง (Reopen) BEM, MAJOR

กลุ่มแนะนำชะลอการลงุทุน คือ

1.) Global play อาทิ กลุ่มปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ จากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกมีความน่าจะเป็นสูงขึ้นที่เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย  กลุ่ม Global Play มีเพียง Sector เดียวที่ยังแนะนำลงทุน คือ กลุ่มโรงกลั่น อาทิ SPRC, ESSO, TOP ฯลฯ ตามทิศทางค่าการกลั่นที่ปรับตัวสูงขึ้นทำ All time high 

2.) หุ้นกลาง-เล็กที่ Valuation แพง PE สูง

หุ้นแนะนำในสัปดาห์หน้า

Top pick :  DTAC (ราคาพื้นฐาน 57.5 บาท) ปัจจัยหนุน คือ 1.) การจ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงานและกำไรสะสมก่อนการซื้อหุ้นสามัญแบบสมัครใจ (VTO) 2.) พัฒนาการเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ KS ยังคงมุมมองดีลจะผ่าน แต่จะล่าช้า 1-3 เดือน

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

-9 พ.ค. : รายงานการส่งสินค้าออกของจีน (ปีต่อปี) เดือน (เม.ย.) ตลาดคาด  13% YoY จาก 14.7% YoY ในเดือน มี.ค. และปริมาณการนำเข้าสินค้าของจีน (ปีต่อปี) (เม.ย.) ตลาดคาด 8% YoY จาก -0.1% YoY ในเดือน มี.ค. 

-10 พ.ค. : ดัชนีการใช้จ่ายภาคครัวเรือน (ปีต่อปี) เดือน (มี.ค.) ตลาดคาด 2.7% YoY จาก 1.1% YoY ในเดือน ก.พ., ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมันจากสถาบัน ZEW เดือน พ.ค. ตลาดคาด -48 จุด

-11 พ.ค. : ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีน (เดือนต่อเดือน) เดือน เม.ย. ตลาดคาด -0.1% MoM และ 1.2% YoY, ดัชนีผู้ผลิต (PPI) ของจีน (ปีต่อปี) (เม.ย.) ตลาดคาด 7.9% YoY จาก 8.3% YoY ในเดือน มี.ค., ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) ตลาดคาด 0.4% MoM  

 -12 พ.ค. : ดุลงบประมาณธนาคารกลางสหรัฐ (เม.ย.) ตลาดคาด -191.0 B   จาก -193.0 B ในเดือน มี.ค., รายงานประจำเดือนของ OPEC, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ เดือน เม.ย. ตลาดคาด -0.5% MoM และ 10.6% YoY

-13 พ.ค. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค Thomson Reuters IPSOS ของจีน ( พ.ค.), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกน (พ.ค.)