Sideways down เก็งกำไร ESSO BCP SEAOIL (3 พ.ค. 65)

Sideways down เก็งกำไร ESSO BCP SEAOIL (3 พ.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways down แนวต้าน 1,673 / 1,678 จุด (EMA 10 / 25 วัน) แนวรับ 1,660 จุด (EMA 25 สัปดาห์) / 1,655 จุด ทางเทคนิคเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงกรอบ Down Channel 1,682-1,648 จุด แนะนำเก็งกำไร ESSO BCP SEAOIL

ปัจจัยบวก คือ การเปลี่ยนเกณฑ์การกักตัวนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. คาดช่วยหนุนปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนปัจจัยลบ คือ การกังวลต่อค่าครองชีพและเงินเฟ้อพุ่ง หลังจากราคาน้ำมันดีเซลในประเทศเริ่มปรับสูงขึ้นเหนือระดับที่เคยกำหนดไว้เดิมของรัฐบาลที่ 30 บาท/ลิตร (เป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มสถานีบริการน้ำมัน ESSO BCP SPRC OR แต่เป็นลบต่อหุ้นอิงการบริโภคในประเทศ เช่น โลจิสติกส์ ค้าปลีก บริการรับเหมาก่อสร้าง) และการรอลุ้นผลประชุมเฟดวันพรุ่งนี้ (CME Group เผยผลสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดคาดว่าเฟดมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps. และเริ่มใช้มาตรการ QT วงเงิน USD95bn./เดือน) โดยความเสี่ยง เชิงลบจะมาจากสัญญาณหลังประชุมว่าเฟดยังคงสนับสนุนการเร่งคุมเข้มทางการเงินต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณถดถอย

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

     +KTX Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS DOD MC TFG UTP XO SAT PORT SMT (แนะนำขย PM) ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC JMART TCAP JMT BH AOT EA KKP MINT KTB BLA (ซื้อ SPRC ขายทำกำไร CENTEL)

     +กลุ่มเปิดประเทศ: AOT BA AAV BAFS MINT CENTEL BH BDMS CPALL CRC M SPA SHR

     +กลุ่ม Earnings Play: BCH SPRC TOP BDMS SINGER LPN IVL DELTA AP DCC GLOBAL PR9 เติบโต เพราะฐานต่ำ GFPT MAJOR SMD HANA เติบโต เพราะขาดทุนลดลง BAFS AOT

     +กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น: BBL KBANK KKP BLA TIPH

     +กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: KCE HANA SMT SAPPE TWPC NER SABINA

     +การลอยตัวน้ำมันดีเซล: +กลุ่มโรงกลั่นและสถานีบริการน้ำมัน ESSO BCP SPRC OR TOP

 

 

ประเด็นสำคัญ

      - ตลาดหุ้นปิดทำการวันนี้ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น

      - USA รายงาน Factory Orders เดือน มี.ค. คาดเติบโต +1.1% MoM (Vs เดือน ก.พ. -0.5% MoM)

      - USA รายงาน JOLTs Job Openings เดือน มี.ค. คาดเท่าเดิมที่ 11.266 ล้านคน

      - EU รายงาน PPI เดือน มี.ค. คาด +5% MoM, 36.3% YoY (Vs เดือน ก.พ. 1.1% MoM, 31.4% YoY)

      - UK รายงานภาคการผลิตเดือน เม.ย. คาด 55.3 (Vs เดือน มี.ค. 55.2)

      - Australia ผลประชุมธนาคารกลางคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.25% (Vs ปัจจุบัน 0.1%)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบเล็กน้อย: ดัชนีฯ ปรับขึ้นในช่วงเช้า ก่อนอ่อนตัวในช่วงบ่ายในกรอบแคบ 1,673.54–1,666.84 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,667.44 จุด -0.30 จุด วอลุ่มซื้อขาย 6.94 หมื่นล้านบาท นำลงโดยกลุ่มการแพทย์ -1.57% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -1.29% และนำขึ้นโดยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง +1.7% ธุรกิจการเกษตร +1.4% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ +1.3% หุ้นบวก >4% SEAOIL CENTEL ASAP UMS CAZ APP BBIK ADD UPOIC หุ้นลบ >4% THG ZIGA LANNA JUTHA CFRESH SMK KASET GCAP

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาปิดบวก ส่วนยุโรปปิดคละ: DJIA +0.26% S&P500 +0.57% NASDAQ +1.63% พลิกกลับมาเป็นบวก จากแรงซื้อคืนในช่วงท้ายตลาด  โดย Nasdaq ดีดตัวขึ้นกว่า 200 จุด จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ส่วน DJIA และ S&P500 ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มน้ำมันและกลุ่มธนาคาร ตลาดหุ้นยุโรป CAC40 -1.66% DAX -1.13% และ FTSE ปิดทำการ โดยถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากการเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอ ขณะที่การซื้อขายเป็นไปอย่างเบาบาง เนื่องจากตลาดหุ้นลอนดอนปิดทำการวันหยุดธนาคาร

 

+/- ราคาน้ำมันปิดบวก ส่วนทองคำร่วงแรง: WTI +48 เซนต์ ปิดที่ USD105.17/บาร์เรล Brent +44 เซนต์ ปิดที่ 107.58/บาร์เรล หลังมีรายงานว่า EU กำลังผลักดันการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย สร้างความกังวลถึงอุปทานน้ำมันในตลาดโลกตึงตัวมากขึ้น ส่วนราคาทองคำปิดลบแรงลดลง -USD48.10 ปิดที่ USD1,863.60/ออนซ์ โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ประเด็นสำคัญ

- EU: รายงาน 1Q22 GDP เติบโต +0.2% QoQ (ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ +0.3% QoQ) โดยสเปน +0.3% QoQ (ชะลอลงจาก +0.7% QoQ ใน 4Q21 และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ +0.5% QoQ เนื่องจาก Household Consumption หดตัว -3.7% QoQ สูงสุดตั้งแต่ 2Q20 จากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น) Germany +0.2% QoQ (ดีขึ้นจาก 4Q21 -0.3% QoQ และตลาดคาด +0.1% QoQ เพราะการลงทุนที่สูงขึ้น) ช่วยชดเชยการหดตัวครั้งแรกรอบ 5 ไตรมาสของ Italy -0.2% QoQ (รัฐบาลคาด 2022E GDP +3.1% จากเดิม 4.7%) ส่วน France ทรงตัว (Vs 4Q21 +0.8% QoQ และคาดการณ์ +0.3% QoQ เนื่องจากการหดตัวของ Household Consumption -1.3% QoQ Vs +0.6% QoQ ใน 4Q21) ส่วนหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ำ 1Q22 GDP ของ EU +5% YoY (Vs 4Q21 +4.7% YoY และเท่ากับคาดการณ์ของตลาด)

- EU: เงินเฟ้อเดือน เม.ย. ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ +7.5% YoY (Vs เดือน มี.ค. 7.4% YoY) เท่ากับคาดการณ์ของตลาด เป็นผลจากผลกระทบของราคา commodity ที่ปรับสูงขึ้นจากสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่วนเงินเฟ้อไม่รวมหมวดพลังงานเติบโต +4.2% YoY (Vs เดือน มี.ค. 3.4% YoY) และ Core Inflation +3.5% YoY (Vs เดือน มี.ค. 2.9% YoY)

- China: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) รายงานภาคการผลิตจีนเดือน เม.ย. หดตัวเป็นเดือนที่สองอยู่ที่ 47.4 (Vs เดือน มี.ค. 49.5 และคาดการณ์ 48) โดย หดตัวแรงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบำด COVID-19 ถ่วงกิจกรรมการผลิตและโรงงาน รวมถึงอุปสงค์ของตลาด (Output การผลิตเดือน เม.ย. ลดลง 5.41 จุด เป็น 44.4 และ New Orders ยอดสั่งซื้อใหม่ลดลง 6.2 จุด เป็น 42.6 จุด) ส่วนภาคบริการเดือน เม.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็น 41.9 (Vs เดือน มี.ค. 48.4) รับผลกระทบมาตรการล็อกดาวน์เมืองใหญ่ของจีน อาทิ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง

- China: Caixin เปิดเผยรายงานภาคการผลิตจีนเดือน เม.ย. ต่ำสุดรอบ 26 เดือนที่ 46 (Vs เดือน มี.ค. 48.1 และคาดการณ์ 47) โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 4 เดือนแรกของปีนี้ จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล โดย Output และ New orders หดตัวด้วยอัตราเร่งสูงสุดเป็นอันดับสอง นับตั้งแต่ต้นปี 2004 ขณะที่ Export Orders หดตัวสูงสุดรอบสองปี

- USA: กระทรวงพาณิชย์ รายงานเงินเฟ้อ PCE Price Index เดือน มี.ค. สูงสุดใหม่รอบ 40 ปี ที่ 6.6% YoY สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.พ. ที่ 6.3% YoY สะท้อนการเพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการ โดยหมวดพลังงาน +33.9% YoY ราคาอาหาร +9.2% YoY ส่วน Core PCE Price Index เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น +5.2% YoY

- USA: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI เขตชิคาโก เดือน เม.ย. ลดลงเป็น 56.4 (Vs เดือน มี.ค. 62.9 และคาดการณ์ 62) ต่ำสุดรอบ 1.5 ปี สะท้อนแนวโน้มกิจกรรมเศรษฐกิจชะลอลง

+/- USA: มหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 65.2 (Vs เดือน มี.ค. 59.4) แต่ลดลงเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งแรกที่ 65.7 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. ปีก่อน อยู่ที่ 88.3 โดย Inflation Expectation ปีหน้า อยู่ที่ 5.4% และเหลือ 3% ใน 5 ปีข้างหน้า

+ Coal: China ประกาศลดภาษีนำเข้า Import Duty จาก 3-6% เหลือ 0% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. (คาดมีผลบวกเชิงโมเมนตัม จากอุปสงค์ที่ยังคงมีสูง ส่วนผลบวกต่อ BANPU LANNA AGE คาดมีจำกัด เพราะการส่งถ่านหินจากอินโดนีเซียไปจีนไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ขณะที่ถ่านหินจากออสเตรเลียยังคงถูกห้ำมนำเข้ำจากจีน)

+ Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 14 +3,493 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +3,292 ล้านบาท) โดยซื้อสุทธิสะสม 14 สัปดาห์ อยู่ที่ +1129,631 ล้านบาท

+ Taiwan: S&P Rating ปรับเพิ่มเครดิตตราสารหนี้สกุลต่างประเทศเป็น AA+ จากเดิม AA โดย Outlook เปลี่ยนเป็น Stable จากเดิม Positive จากสถานะทุนสำรองที่แข็งแกร่งและการสนับสนุนจากเศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเฉพำะเซมิคอนดักเตอร์

+ Russia: ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 300 bps เป็น 14% เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ซึ่งดีกว่าตลาดคาดการณ์ว่าจะลดลง 200 bps. เนื่องจาก price & financial stability risks เริ่มชะลอตัวลง ช่วยหนุนตลาดหุ้นรัสเซียในวันศุกร์ปรับสูงขึ้น 2%

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดำห์: BLA ICHI SMT

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: ESSO BCP SEAOIL

Derivatives: ทยอยปิด Short S50M22 เพื่อทำกำไรทั้งหมด