การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

จากภาพรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย

การเตรียมพร้อมระดับองค์กรกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

เริ่มจากภาพรวมโครงสร้างลำดับของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ไปจนถึง ประกาศหน่วยงานกำกับดูแล (คธอ. ฯลฯ) สรุปได้ว่า กฎหมายสำคัญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ/ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ/การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบไปด้วยกฎหมาย 6 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

1. กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction Law) 

2. กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer-related Crime Law) 

3. กฎหมายระบบการชำระเงิน (Payment System Law) 

4. กฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy and Society) 

5. กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Law) 

6. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Law)

ซึ่งมีรายละเอียด ดังรูปที่ 3

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

โดยเมื่อปลายเดือน พ.ค. 2562 มีการประกาศกฎหมายใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากบทความที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงรายละเอียดของพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับไปแล้ว หากแต่เรายังไม่มีรายละเอียดในการเตรียมพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายในระดับองค์กร ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง ภาพรวมแนวทางดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามลำดับ

ภาพรวมแนวทางดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

แนวทางดำเนินการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติ มีแนวความคิดมาจาก กรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของสหรัฐ (NIST Cybersecurity Framework) โดยจะเห็นปรากฏอยู่ในมาตรา 13 ของ พ.ร.บ. 

ดังนั้น แนวทางในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ควรจะสอดคล้องกับ NIST Cybersecurity Framework ดังกล่าว ควรมี Key Activities ดังต่อไปนี้ 

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

การกำหนดแนวทางการกำกับดูแลด้านไซเบอร์ (Cybersecurity Governance & Cyber Resilience) กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกรอบการดำเนินงาน/กรอบมาตรฐานการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Framework) การกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงด้านภัยคุกคามไซเบอร์(Cybersecurity Risk Assessment, Cybersecurity Maturity Assessment) 

การกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้ให้บริการ Supply Chain Risk Management การทดสอบด้านความมั่นคงปลอดภัย การตรวจสอบช่องโหว่และทดสอบเจาะระบบสำคัญ การตรวจสอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Audit) การพัฒนา วิธีปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงานและการเฝ้าระวัง (ในภาวะปกติและในภาวะฉุกเฉิน) การสร้างความตระหนักภัยคุกคามไซเบอร์ การเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จัดให้มีระบบเฝ้าระวังและจัดการภัยคุกคามไซเบอร์

การพัฒนาแผนบริหารจัดการเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ (Cybersecurity incident response plan) การพัฒนาแผนรองรับภัยคุกคามไซเบอร์ระดับไม่ร้ายแรง ระดับร้ายแรง ระดับวิกฤติ การกำหนดกรอบการประสานกับ Thai-CERT, TB-CERT, Sector-based CERT หน่วยงานกำกับดูแล ฯลฯ การแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ เพื่อประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ไปยังสำนักงาน การแจ้งรายชื่อและข้อมูลการติดต่อของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครอง ผู้ดูแลระบบ (หลังจากมีประกาศฯ)

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

ภาพรวมแนวทางในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีแนวคิดมาจาก หลักการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล OECD Privacy Principles ทั้ง 8 ข้อ และ กฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป 

ดังนี้องค์กรควรมีการจัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) มีการจัดทำแนวปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติ) ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรควรสอดคล้องกับหลักการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล OECD Privacy Principles ทั้ง 8 ข้อ ได้แก่

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด

2. คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล 

3. การระบุวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม

4. ข้อจำกัดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้

5. การรักษาความมั่นคงปลอดภัย

6. การเปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนินการแนวปฏิบัติ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล 

7. การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูล 

8. ความรับผิดชอบของบุคคลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมข้อมูล  

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

การดำเนินการตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควรมี Key Activities ดังต่อไปนี้ 

การแนวทางการกำกับดูแลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โครงสร้างการกำกับดูแล นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกรอบการดำเนินงาน การกำ หนด “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” “ตัวแทน”  “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (DPO Data Protection Officer)  “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล “ตัวแทน” 

การพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ของธนาคาร เพื่อกำหนด “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ประกาศบังคับใช้ การพัฒนากรอบการกำกับดูแลและบริหารจัดการข้อมูลระดับองค์กร (Data Governance, Data Management, Data Protection) กรอบการบริหารความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy/Data Protection Impact Assessment, Risk Assessment)

การกำหนด Business Owner, Data Owner, Data Protection Officer การพัฒนาวิธีปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติ คู่มือการปฏิบัติงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สร้างความตระหนัก การเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน กรอบการประสานกับหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานความร่วมมืออื่นๆ 

การเตรียมองค์กร สอดรับกม.ไซเบอร์

ผู้เขียนแนะนำว่า การเตรียมพร้อมกับ พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ ควรรีบเตรียมการตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่หน่วยงานกำกับจะเริ่มดำเนินการตรวจสอบ หรือ ก่อนที่จะมีเหตุไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในองค์กรของเรา