สวทช.เดินหน้าบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี

สวทช.เดินหน้าบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี

สวทช.เดินหน้าบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีต่อเนื่อง เผยปัจจัยแวดล้อมเอื้ออำนวย เตรียมรับมือแรงงานขาดและต่างชาติเข้ามาฮุบกิจการไทย

สวทช.เดินหน้าบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีต่อเนื่อง เผยปัจจัยแวดล้อมเอื้ออำนวย เตรียมรับมือแรงงานขาดและต่างชาติเข้ามาฮุบกิจการไทย ซอฟต์แวร์พาร์คสั่งลุยพัฒนาคนเร่งด่วนรองรับ เชื่อธุรกิจในโครงการบ่มเพาะเติบโตกว่า 200 ล้านบาท พร้อมประกาศดันธุรกิจเทคโนโลยี ไทยเข้าสู่ AEC

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบันการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แต่สถานะของไทยต่อการบ่มเพาะธุรกิจได้เติบโตขึ้นอย่างมาก เพราะขณะนี้สภาวะแวดล้อม หรือ ecosystem ทางด้านนี้แทบจะมีองค์กรและปัจจัยสนับสนุนเกือบครบทุกด้าน ขณะที่ลักษณะของธุรกิจนวัตกรรมก็มีความหลากหลาย ศูนย์บ่มเพาะต่างๆ ได้เร่งสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อเกิดเป็นทางเลือกให้นักพัฒนาได้นำ ไปเลือกส่งเสริมกิจการของตนเองได้ รวมถึงการเข้าถึงเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจนี้จะ มากขึ้น ส่งผลดีทั้งในเชิงจุลภาคและมหภาค การอยู่รอดของธุรกิจนวัตกรรมจะมีเปอร์เซ็นต์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

“การอยู่รอดของธุรกิจ นวัตกรรมไทยที่มากขึ้น จะส่งผลต่อการนำนวัตกรรมใหม่ๆ ไปปรับใช้ในธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ส่งผลให้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมง่ายและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลังในการทำธุรกิจเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวต่อเศรษฐกิจของประเทศ” ดร.ณรงค์ กล่าวและว่า

ด้านปัจจัยที่สำคัญใน รอบสองปีที่ผ่านมาในประเทศไทยจะพบว่ามีการเกิดกลุ่มใหม่ที่เป็นผู้ สนับสนุนให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีและไอที หรือปัจจุบันเรามักเรียกว่า Start up company ทั้งในส่วนของ การบ่มเพาะเทคโนโลยีผสานกับการบ่มเพาะธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Telecommunication operator รายใหญ่ในประเทศ ซึ่งนอกจากบทบาทการบ่มเพาะแล้ว ยังเป็นทั้งผู้ใช้และตลาดในการรองรับนวัตกรรมนั้นๆ ของเหล่า Start up ด้วย, Co-Working pace ซึ่งเป็นธุรกิจอำนวยความสะดวกของสถานที่ทำงาน และเน้นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้รับบริการ โดยการแข่งขันของธุรกิจ Co-working space ต้อง การสมาชิกเข้ากลุ่มของตนเอง เพื่อช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์และทีมงานที่มีความสามารถซึ่งอาจเป็น ทรัพยากรหรือ resource ที่สามารถถ่ายโอนได้ในกลุ่ม Start up ที่ทำงานในพื้นที (location) เดียวกันได้ และกลุ่มนักลงทุนต่าง ๆ ที่มีเงินทุนเพื่อให้เริ่มต้นธุรกิจ สานต่อความฝันจากความคิดให้เกิดเป็นธุรกิจ และยังอาจเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย หากธุรกิจของ Start up น่าสนใจและมีโอกาส สูงในตลาด

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ ต้องกังวลต่อจากนี้ก็คือ 1. การเกิดของธุรกิจใหม่ ๆ จำนวนมาก จะนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานของธุรกิจนวัตกรรมในช่วงสั้น และระยะกลาง ซึ่ง ณ เวลานี้แรงงานด้านนี้ก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว และหากไม่สามารถแก้ไขเรื่องปัญหาแรงงานได้ อาจทำให้การแข่งขันของไทยในธุรกิจขาดความ สามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศในระยะยาวต่อไปได้ 2. การไหลของผู้ผลิตนวัตกรรมไทยออกไป สู่ ต่างประเทศในช่วงเริ่มต้นจะมีสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากรูปแบบการลงทุนที่เปลี่ยนไป หากแนวทางการ ลงทุนของไทยยังไม่ได้เปลี่ยนไป ทำให้บริษัทเทคโนโลยีของไทยที่โดดเด่นจะกลาย เป็นบริษัทเทคโนโลยี ของต่างประเทศไปในที่ สุด

ดังนั้นสิ่งที่งานบ่ม เพาะธุรกิจของไทยต้องปรับตัวต่อจากนี้ไปคือ 1. การสร้างจุดเด่นที่แตกต่าง และการส่งเสริมให้มีความเป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัว มากขึ้น เพื่อสร้างความจงรักภักดี (Royalty) และเครือข่ายหรือ Connection ของผู้ประกอบการ ในแบบที่เน้นหนักมากขึ้น 2. และการสร้างเครือข่ายการสนับสนุนที่ครอบ คลุมกว้างไกลกว่าเฉพาะในประเทศ ต้องเร่งสร้างพันธมิตรในเวทีสากลมากขึ้น เพราะรูปแบบการสนับสนุนในต่างประเทศจะมีความหลากหลายและปรับเปลี่ยน ไปอย่างรวดเร็ว การอาศัยโครงสร้างภายในประเทศอาจไม่เพียงพอกับความต้องการ และการออกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการ 3.การวางเป้าหมายสนับสนุนตามกลุ่มผู้ประกอบ การต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยต้องหันมาเน้นกลุ่มเทคโนโลยีในเชิงลึก หรือ vertical มากขึ้น เช่น ด้านพลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อมเป็นต้นดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางยุทธศาตร์ใหม่

การเปลี่ยนแปลงทั้ง หลายนี้ทำให้ สวทช.ที่มี ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ต้องกลับมาทบทวนและวางยุทธศาสตร์ใหม่ และเชื่อมั่นว่าจะสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ วันนี้ศูนย์บ่มเพาะของสวทช.ได้ทำทั้งงานวิชาการ ศึกษายุทธศาสตร์การทำธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน สร้างเครือข่ายการตลาดที่จะทำให้ผู้คิดค้นนวัตกรรมจากไทยสามารถ ต่อยอดได้ทันที รวมถึงการสร้างเครื่องมือการตลาดใหม่ๆ เช่น การส่งผลงานที่โดดเด่นจากผู้คิดค้นชาวไทยไปแข่งขันในเวทีต่างๆ ทั่วโลก เพื่อทำให้ตลาดยอมรับ และขณะเดียวกันก็สร้างคู่ค้าด้วยความเชื่อมั่นไปด้วยในตัว

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาศูนย์บ่มเพาะของซอฟต์แวร์พาร์คหรือ BIC ได้อบรมบ่มเพาะธุรกิจให้ผู้สนใจจัดตั้ง ธุรกิจเทคโนโลยีแล้วกว่า 970 ราย เกิดรายได้และการลงทุนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่า 900 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานจากการขยายกิจการของผู้ประกอบการมากกว่า 1,300 คน จากเดิมที่การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีทำเฉพาะการบ่มเพาะผู้ประกอบการ ใหม่ที่จัดตั้งบริษัทแล้วไม่เกิน 3 ปี แตกแขนงเป็นโครงการต่าง ๆ ให้เหมาะกับระยะเวลาการเริ่มต้นธุรกิจ อายุ วุฒิภาวะของธุรกิจ มาจนถึงปัจจุบันจากประสบการณ์ทำให้ BIC มีกระบวนการบ่มเพาะที่เข้มแข็ง

จากผลงานของ BIC สามารถจัดประเภทการบ่มเพาะได้ถึง 4 ระยะ 6 โครงการ ประกอบด้วย 1.การเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจ หรือ Pre-Incubation Program โดย BIC มีโครงการรองรับ 2 โครงการ คือ โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ หรือ NEC และโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสองโครงการนี้มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมบุคคลทั่วไป หรือนิสิตนักศึกษาที่อยากประกอบธุรกิจให้มีความรู้พื้นฐานในการจัด ตั้งธุรกิจ และมีแผนธุรกิจที่ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด

2. การบ่มเพาะธุรกิจ หรือ Incubation Program เป็นโครงการที่สนับสนุนผู้ประกอบการที่จัดตั้งบริษัทใน ระยะแรก ไม่เกิน 3 ปี ช่วยในการประเมินตนเองด้วยการที่เราเข้าไปวินิจฉัยธุรกิจ ให้คำปรึกษาแนะนำในจุดสำคัญที่ต้องปรับเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและ เติบโต ที่สำคัญการสนับสนุนให้เข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายและประสานแหล่งทุน 3. การสนับสนุนให้เติบโตแบบก้าวกระโดด หรือ Post Incubation Program การสนับ สนุนผู้ประกอบการที่จบการบ่มเพาะแล้ว ให้สามารถเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

“ภาระกิจอันสำคัญ ประการหนึ่งที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจตระหนักมาโดยตลอด คือ การเชื่อมโยง “โอกาส” ให้ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงโอกาสด้านการ ตลาด ผ่านงานนิทรรศการ, delegation, การจับคู่ ธุรกิจ และกิจกรรมอื่นๆที่เข้ามาในวาระต่างๆ และจากประสบการณ์ ที่ผ่านมานั้นเราพบว่า ผู้ประกอบการเมื่อไปอยู่ท่ามกลางโอกาสต่างๆ ไม่ว่าสินค้าจะดีแค่ไหนก็อาจได้รับความสนใจน้อยหากผู้ประกอบการรายนั้นอยู่ ในประเภทไร้ชื่อ หรือ No Name นอกจากคุณจะโดดเด่นหรือ Super outstanding จริงๆ” นายเฉลิมพลกล่าว

ดังนั้นศูนย์บ่มเพาะ ธุรกิจ จึงมีแนวทางในการสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านการประกวดในเวทีต่าง ๆอีกช่องทางหนึ่ง โดยเราสนับสนุนการประกวดที่สอดคล้องกับโครงการที่ศูนย์ฯดำเนินการอ ยู่ ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศนั้นเริ่มตั้งแต่ผู้มีไอเดียธุรกิจและกำลังเริ่มต้นธุรกิจ ส่วนนี้เรามีผู้ประกอบการในโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneur Creation: NEC) ได้รับ รางวัลNEC Awards จากอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวง อุตสาหกรรม 2 ปีติดกันคือปี 2555 ได้แก่ Mathbright และในปี 2556 ได้แก่ LNW Shop ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงการได้ รางวัล NEC Awards แสดงถึงการเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีการวาง ระบบธุรกิจอย่างมั่นคงและมีโอกาสเติบโตสูงมีความโดดเด่นในการบริหาร จัดการให้บริษัทในขวบปีแรกสามารถสร้างรายได้และยืนได้เร็ว

ในส่วนของรางวัลการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ดีเด่นและมีกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานทางด้าน ICT ได้แก่รางวัล Thailand ICT Awards ซึ่งในปีนี้จาก 16 หมวดของซอฟต์แวร์โดยไม่รวมหมวดซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยนิสิต/นักศึกษา และนักเรียนมัธยมนั้นผู้ประกอบการในโครงการของ BIC ได้รางวัลชนะเลิศถึง 6 หมวด และรองชนะเลิศถึง 4 หมวด ซึ่งผู้ชนะเลิศก็จะมีโอกาสเข้าไปประกวดในเวทีเอเชียแปซิฟิค หรือAPICTA Awards ต่อไป

ด้านการประกวดต่าง ประเทศส่วนใหญ่เป็นการประกวดความเป็นเลิศทางนวัตกรรมและเป็น Trade Fair ไปในตัวด้วยซึ่งนอกจากเป็นการ แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมที่ โดดเด่นยังเป็นช่องทางธุรกิจในการออกตลาดต่างประเทศและการได้ พันธมิตรต่างชาติอีกด้วย นอกจากนั้นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการประกวด ในขณะเดียวกันก็ยินดีบ่มเพาะผู้ประกวดที่ได้รางวัลจากเวทีต่าง ๆ เข้ารับการบ่มเพาะอีกเช่นเดียวกัน เช่น การประกวด NSC Samart Innovation Awards, True Innovation Awards, Samsaung Galaxy Developers Academy, รางวัลเจ้าฟ้าไอที, TICTA

สำหรับแนวทางการ ดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช. ในปี 2557 นั้น จะเน้นหนักการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ 1. มุ่งเน้นการเข้าถึงงานวิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เป็นจุดแข็งของ สวทช. ประกอบด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ Biotechnology, อิเล็กทรอนิกส์, Material Technology และ Nano-technology เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้กับผู้ ประกอบการในโครงการบ่มเพาะธุรกิจด้วยนวัตกรรม รวมทั้งการต่อยอดวิจัยร่วมไปกับ สวทช. ในขณะเดียวกันก็จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดส่วนของการวิจัย พัฒนาภายในองค์กรของผู้ประกอบการเองด้วยกลไกต่างๆของ สวทช. อาทิ การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การลดภาษี 200% ในงานวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน การให้คำปรึกษาและเสาะหาเทคโนโลยีด้วยกลไก iTAP การวิเคราะห์ทดสอบ เป็นต้น

2. การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในโครงการบ่มเพาะ ให้สอดรับกับ Start up Ecosystem ทั้งด้านการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องการร่วมทุน หรือการร่วมทางไปกับนักลงทุนหรือ Investor, การส่งต่อผู้ประกอบการในโครงการบ่มเพาะ ให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือ และแหล่งสนับสนุนต่าง ๆ ได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อบริษัทให้มากที่สุด, เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายใน AEC ได้อย่างเป็นรูปธรรมจากเครือข่ายของ สวทช. ดังต่อไปนี้ 1) ASEAN Co-Incubation Alliance หรือ ASCIA ซึ่งเป็นข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนผู้ประกอบ การในโครงการบ่มเพาะธุรกิจ และการสนับสนุนพื้นที่ทำงานในแต่ละประเทศสมาชิกของศูนย์บ่มเพาะ ธุรกิจอีกด้วย ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 4 องค์กร ประกอบด้วย Mad Incubator ประเทศมาเลเซีย Center of Entrepreneurship and Business Incubator Development, Bogor ประเทศอินโดนีเซีย Bandung Digital Valley ภายใต้ธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศ อินโดนีเซีย และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีของประเทศฟิลิปปินส์ปัจจุบันกำลัง จัดทำแผนกิจกรรมในด้าน Cross Incubatee เพื่อส่งต่อผู้ประกอบการให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรม กฎ ระเบียบด้านกฎหมายในการทำธุรกิจและการเข้าถึงคู่ค้าท้องถิ่นหรือ local partner ในแต่ละประเทศ โดยคาดว่าภายในกลางปี 2557 จะเริ่มมีการดำเนินกิจกรรมนี้ระหว่างประเทศสมาชิก

2) ASEAN Business Incubation Network (ABI Net) ซึ่งเป็นเครือข่ายของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีใน 10 ประเทศอาเซียนโดยในปีนี้มีแผนการกระชับ network ในกลุ่มศูนย์บ่มเพาะธุรกิจทั้ง 10 ประเทศและการจัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการในโครงการบ่มเพาะธุรกิจ ร่วมกัน อาทิ การจัด business matching หรือ networking activities 3) ความร่วมมือกับประเทศกลุ่ม ASEAN Plus ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี มีศักยภาพในการขยายตลาดไปทั่วโลก ในปีนี้สวทช.มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท Global Business Consulting Inc. (GBS) ประเทศ เกาหลีใต้และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของ National Taiwan University of Science and Technology (NTUST) ประเทศ ไต้หวันในการร่วมบ่มเพาะ และการสนับสนุนการเปิดธุรกิจระหว่างประเทศเกาหลีใต้-ไทย และไต้หวัน-ไทย อีกด้วยซึ่งในปี 2557 จะเป็นปีที่ทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมุ่งหวังจะให้เกิดการเริ่มเปิดตลาด ASEAN plus ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของผู้ประกอบการในโครงการที่ BIC ดูแลอยู่

3. ทำงานร่วมกับพันธมิตรต่อยอดการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีแบบไร้ตะเข็บจากการที่ มีผู้สนับสนุนให้เกิด Start up มากมาย หรือโครงการประกวดความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาใหม่ อาทิ โครงการ Galaxy Developers Academy ของซัมซุง หรือ โครงการ IBM Academic Initiative ที่จัดการประกวดนวัตกรรมนั้น ทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจได้มีการตกลงอย่างเป็นการทางกับพันธมิตรในการ ส่งต่อผู้ผ่านการประกวดที่มีความจริงจังอยากทำธุรกิจเข้าสู่โครงการ บ่มเพาะธุรกิจของ สวทช. ได้แบบ Fast track

BIC หวังว่าในปี 2557 จะสามารถให้การอบรมบ่มเพาะธุรกิจกับผู้สนใจและจริงจังในการทำธุรกิจไม่ต่ำ กว่า 100 คน สนับสนุนให้ผู้ประกอบการในโครงการต่าง ๆ ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสามารถจัดตั้งธุรกิจขึ้นได้อย่างเป็นระบบ และเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยรายได้ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท เกิดการลงทุนในการวิจัยพัฒนาไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และเริ่มออกสู่ตลาด AEC ได้อย่าง เป็นรูปธรรม

อนึ่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้จัดตั้งหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี หรือ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ภายใต้การกำกับของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สวทช. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยได้ทำการบ่มเพาะ ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมสาขาซอฟต์แวร์และไอทีเพียงอย่างเดียว ต่อมาในปี 2550 ได้เปิดศูนย์บ่มเพาะ ธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยีอื่น ๆเช่น Biotechnology, Sensor อิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น ที่ผ่านมาถือว่าผลงานของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ได้รับการยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการว่า เป็นหน่วยงานที่เป็นพี่เลี้ยงแรก ให้กับบรรดาผู้คิดค้นนวัตกรรมทั้งผลงานทางด้านเทคโนโลยีและไอที ให้สามารถสร้างเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐานที่มั่นคงให้คำแนะนำผู้ประกอบ การให้สามารถปั้นโมเดลทางธุรกิจ และวางแผนธุรกิจที่สามารถทำรายได้และมีโอกาสเข้าถึงตลาดได้สูง รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงเคียงคู่ไปกับนักพัฒนานวัตกรรมได้ตลอดเส้นทาง ไม่ว่าจะมีผู้บ่มเพาะหรือนักลงทุนรายใหม่กระโดดเข้ามาอุ้มชูธุรกิจ นวัตกรรมนั้นๆ ในช่วงต่อมาก็ตาม จุดเด่นเช่นนี้ยากที่จะเลือนหายไปเพราะนอกจากจะเป็นพี่เลี้ยงในการแนะนำการ เริ่มต้นวางแบบแปลนการวางธุรกิจเทคโนโลยีของแต่ละ Tech start up แล้วยังร่วมสร้าง ร่วมสานการเติบใหญ่ของธุรกิจด้วยเครือข่าย และ Connection ที่มีทั้งกับพันธมิตรในภาคส่วนต่าง ๆ และผู้ประกอบการทุกรุ่นเรื่อยมา ยิ่งทำยิ่งเหนียวแน่น และลึกซึ้ง สร้างเครือข่ายใหญ่ขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากแต่ปัจจัยที่ เปลี่ยนไป ตั้งแต่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ความต้องการของตลาดที่หลากหลาย รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมในแบบจิ๊กซอว์ โดยเลือกทำเฉพาะในส่วนที่ตนเองเก่งแล้วไปร่วมงานกับคนอื่นเพื่อประกอบร่าง ของสินค้าหรือบริการ ลักษณะการลงทุนในสมัยนี้สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดี เนื่องจากเป็นการลงทุนในนวัตกรรมขนาดเล็ก ระยะการลงทุนสั้นหวังผลเร็ว รูปแบบของความต้องการของการทำงานในกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นรูปแบบองค์กรเล็ก มีคนทำงานจำนวนน้อย ๆ ขณะเดียวกันก็สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้เร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของ ตลาด การที่ตลาดเปิดและเป็นสากล รวมถึงเทคโนโลยีที่สามารถขยายตลาดของมันได้เอง ง่ายและเร็วกว่าเทคโนโลยีเก่าที่ผ่านมา หลายปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐไทยต้องกลับมาทบทวนอีกครั้งในการ ผลักดันการขยายตัวของการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี

ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช. พบเห็นในขณะนี้ คือ จำนวนผู้ที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจนวัตกรรมมีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ยังไม่เข้าใจลักษณะ ธุรกิจนี้เท่าไรนัก โดยผู้ประกอบการใหม่ จะเน้นการสร้างความคิดและขายความคิดนั้นในรูปแบบของ การนำเสนอความคิดและต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องมุ่งมั่นสร้างผลิตภัณฑ์ตามความคิดของตนเองให้ทันกับเวลา ในการออกตลาด ดังนั้นการต้องแบ่งเวลามาศึกษาวิธีทำธุรกิจให้อยู่รอด โดยที่รูปแบบองค์กรส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก กำลังคนน้อย ผู้บริหารต้องทำทุกอย่างทั้งหมด ถือเป็นภาระใหญ่และต้องจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันบริษัทที่โตขึ้นมาหน่อยก็ต้องการคนมีฝีมือมาช่วย เพื่อก้าวให้ทันต่อ Demand ที่เปลี่ยนแปลงและหนีคู่แข่งให้ได้