เอส เคิร์ฟ11โอกาสทองของสตาร์ทอัพ

 เอส เคิร์ฟ11โอกาสทองของสตาร์ทอัพ

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ตรวจหาสารเสพติด ตัวอย่างเทคโนโลยีสองทาง (Dual Use) ในอุตสาหกรรมด้านการป้องกันและความมั่นคง ที่สามารถต่อยอดสู่ภาคเอกชน เช่นเดียวกับเซนเซอร์ตรวจวิเคราะห์ภัยคุกคาม เทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้อากาศยานไร้คนขับ

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ตรวจหาสารเสพติด ตัวอย่างเทคโนโลยีสองทาง (Dual Use) ในอุตสาหกรรมด้านการป้องกันและความ
มั่นคง ที่สามารถต่อยอดสู่ภาคเอกชน เช่นเดียวกับระบบเซนเซอร์ตรวจวิเคราะห์ภัยคุกคามต่างๆ เทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้
อากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและไบโอแมทริกซ์

เทคโนโลยีสองทางด้านความมั่นคงนี้มีศักยภาพที่จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เอส เคิร์ฟ ลำดับที่ 11 รัฐบาลพยายามจะผลักดันให้ใช้งานได้เชิงพาณิชย์ไม่เฉพาะกองทัพเท่านั้น โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับกระทรวงกลาโหมผ่าน ทางสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มีนายกรัฐมนนตรี เป็นประธานการขับเคลื่อน

เทคโนฯความมั่นคง เอส-เคิร์ฟที่ 11

พลเอกนาวิน ดำริกาญจน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงกล่าวถึงอุตสาหกรรมนิว เอส เคิร์ฟ ลำดับที่ 11 ด้านการพัฒนาอุตฯ ป้องกันประเทศและความมั่นคงซึ่งมีมูลค่ากว่า1แสนล้านบาทว่า การพัฒนาต้องเริ่มจากการซ่อม เสริมและสร้างเทคโนโลยีเพื่อลดนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ พร้อมทั้งเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)

“แนวทางการพัฒนาจะทำให้นวัตกรรมใช้ได้สองทางทั้งทหารและพลเรือน จะโฟกัสเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยต้องการจุดแข็งและโอกาสความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คุ้มค่าในการลงทุน ไม่ใช่แค่ลดการนำเข้า แต่ต้องสามารถผลิตและส่งออก โดยเริ่มจากการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่มีอยู่ เสริมสร้างให้ดีขึ้น รวมทั้งสร้างขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่รับจ้างผลิต โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในฐานะพาร์ทเนอร์แทนที่จะลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งไม่ทันเวลา”

ขณะเดียวกันจะต้องเร่งสร้างระบบนิเวศให้เกิดขึ้น รวมทั้งสิทธิประโยชย์แก่ผู้สนใจเข้ามาลงทุนที่ทัดเทียมกับอุตฯอื่นหรืออาจ
มากกว่าในบางอย่างเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันประเทศจากภัยคุกคามที่มีหลากหลาย แต่หมายความว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นๆจะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งต้องใช้งบสนับสนุนและส่งเสริมมหาศาล เพื่อให้เกิดซัพพลายเชนในอุตฯ นี้ในไทย เช่นเดียวกับอุตฯ ชิ้นส่วนยานยนต์

สตาร์ทอัพสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแอพพลิเคชันให้กับหน่วยงานรัฐบาลและกองทัพ โดยเข้ามารับโจทย์เพื่อพัฒนา
เทคโนโลยี ระบบ นวัตกรรมที่ตอบโจทย์หน่วยงานนั้นๆ เพื่อทำการวิจัยพัฒนาต่อยอดสู่ตลาด การใช้งานจริงทั้งในกองทัพและ
อุตสาหกรรมซึ่งเป็นฝั่งของพลเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลความต้องการของในกองทัพ งบประมาณควบคู่กับกับการ
ศึกษาเทคโนโลยีและนวัตรรมจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ล่าสุดกำลังจะเดินทางไปดูงานที่อิสราเอล ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีป้องกันประเทศและความปลอดภัย คาดว่าหลังจากรวบรวมข้อมูลเสร็จจะสามารถนำเสนอนายกรัฐมนตรีได้ทันทีโดยจะใช้พื้นที่ในอีอีซีไอ อีอีซีดี และพื้นที่กองทัพในการวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีดังกล่าว

อี-โน้ส นำร่องนวัตกรรมสองทาง

ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า เทคโนโลยีแรกที่จะนำเสนอในอุตฯเป้าหมายเทคโนโลยีสองทางคือ“จมูกอิเล็กทรอนิกส์”ตรวจหาสารเสพติดเป็นความร่วมมือกับสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติคาดว่าอีก6เดือนจะได้ชิ้นงานต้นแบบที่มีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายง่ายและประสิทธิภาพทัดเทียมเทคโนโลยีต่าง ประเทศซึ่งราคาประมาณ 1 ล้านบาท ขณะที่เทคโนโลยีไทยมีราคาหลักหมื่น   

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการป้อนข้อมูลให้กับเครื่องในการจดจำกลิ่่นเป้าหมายให้ได้มากที่สุดเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการตรวจหาสารเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศระดับโลกและที่สำคัญสามารถใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ สถานีตำรวจโรงงานอุตสาหกรรมและโรงเรียน เป็นต้น”

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าตลาดมีความต้องการเทคโนโลยีจดจำกลิ่นนี้อย่างมากทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตฯ เป้าหมาย
เทคโนโลยีสองทางและในอนาคตสามารถพัฒนาเป็นเครื่องตรวจจับผู้เสพผ่านทางลมหายใจได้อีกด้วส่วนที่จะพัฒนาถัดไปอาจ เป็นการต่อยอดเทคโนโลยียานไร้คนขับ ไซเบอร์ซีเคียวริตี้และเซนเซอน์ เช่น การป้องกันระเบิด

"ในแง่การพัฒนาวิจัยและผลิต เราสามารถทำได้ไม่แพ้ใครในโลกแต่อาจติดปัญหาการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ จึงจำเป็นต้อศึกษาความต้องการตลาดก่อนลงทุน ซึ่งแนวคิดของนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ต้องการให้พัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าแบบข้ามชอต เพื่อที่จะเป็นผู้นำเทคโนโลยีอย่างแท้จริง มากกว่าที่พัฒนาตามกระแสความต้องการใน ปัจจุบัน ซึ่งในอีก 5ปี เทคโนโลยีเหล่านั้นล้าสมัยไปแล้วและไทยเรายังคงเป็นผู้ตามเหมือนเดิม” ศิวรักษ์ กล่าว