'ผู้หญิง' เป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง 8 มีนาคม 'วันสตรีสากล'

'ผู้หญิง' เป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง 8 มีนาคม 'วันสตรีสากล'

ประธานเหมา เจ๋อ ตุง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เคยกล่าวถึงความสำคัญของสตรี ซึ่งกลายเป็นวาทะอันเลื่องลือว่า "ผู้หญิงเป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง"

วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี คือ "วันสตรีสากล" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และรำลึกถึงความเสียสละในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สตรี

ความเป็นมาของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากผู้ใช้แรงงานหญิงใน รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ก่อขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิในการทำงาน เนื่องจากนายจ้างได้กระทำการกดขี่ข่มเหง และไม่ให้ความเป็นธรรมแก่สตรี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) มีผู้เสียชีวิต 119 คน เพราะว่ามีคนลอบวางเพลิงในโรงงานที่พวกเธอกำลังชุมนุมกันอยู่ หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส

เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

\'ผู้หญิง\' เป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง 8 มีนาคม \'วันสตรีสากล\'

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ คลารา เซทคิน และเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลก ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดี

ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ

1.ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง
2.ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง
3. อีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน

พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิง ให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย


\'ผู้หญิง\' เป็นผู้แบกฟ้าอยู่ครึ่งหนึ่ง 8 มีนาคม \'วันสตรีสากล\'

รวมทั้ง ยังได้รับรองข้อเสนอของ คลารา เซทคิน โดนการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล!