'โภชนบำบัด' ดีไซน์เฉพาะบุคคล เทรนด์ใหม่ ผลักดันวงการอาหาร

'โภชนบำบัด' ดีไซน์เฉพาะบุคคล  เทรนด์ใหม่ ผลักดันวงการอาหาร

อาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน มีการคาดการณ์ว่า ปี 2568 มูลค่าตลาดทั่วโลกอาจแตะ 96,820 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 12.0%

KEY

POINTS

  • โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะ “โรคไต” ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด
  • อาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต สุขภาพ และพันธุกรรมในแต่ละบุคคล 
  • ปี 2568 คาดการณ์มูลค่าตลาด Personalized Food ทั่วโลกอาจแตะ 96,820 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 12.0% ขณะที่ ประเทศไทย คาดจะอยู่ที่ 54,603 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 14.2%

 

อาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน มีการคาดการณ์ว่า ปี 2568 มูลค่าตลาดทั่วโลกอาจแตะ 96,820 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 12.0%

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะ “โรคไต” ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด มีผู้ป่วยไตเรื้อรังกว่า 11 ล้านคน และมีแนวโน้มฟอกไตเพิ่มขึ้นราว 50,000 คนต่อปี มีผู้ป่วยไตระยะวิกฤตที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟอกไตถึง 82,463 คน ส่งผลให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณในการฟอกไตกว่า 12,271 ล้านบาทต่อปี

 

ขณะเดียวกัน การรักษาผู้ป่วยไม่ว่าจะเบาหวาน ไต ไขมัน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ นอกเหนือจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว “อาหาร” และการปรับพฤติกรรม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะอาหารเป็นส่วนสำคัญ ในการดูแลสุขภาพและรักษาโรค หรือที่เรียกกันว่า “อาหารเป็นยา” คือ การทานให้เหมาะสมตาม สัดส่วนที่ควรจะเป็น

 

เทรนด์ Personalized Food

อาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food) ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS อธิบายว่า Personalized Food คือ อาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต สุขภาพ และพันธุกรรมในแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และยังหมายรวมถึง อาหารบุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ควบคุมน้ำหนัก กลุ่มนักกีฬา กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

\'โภชนบำบัด\' ดีไซน์เฉพาะบุคคล  เทรนด์ใหม่ ผลักดันวงการอาหาร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

Personalized Food แบ่งได้เป็น อาหารสำเร็จรูปสำหรับบุคคลเฉพาะกลุ่ม , อาหารสำเร็จรูปสำหรับเฉพาะบุคคล , ร้านอาหารสำหรับบุคคลเฉพาะกลุ่ม และ ร้านอาหารสำหรับเฉพาะบุคคล ตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น บริษัท Verdify เป็น FoodTech ของเนเธอร์แลนด์ ออกแบบอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลเฉพาะกลุ่ม อาทิ กลุ่มผู้ที่ทานอาหารที่มี เกลือต่ำ หรือ คาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือ ร้านอาหาร Vita Mojo ใน UK ร่วมมือกับ DNA fit (ผู้เชี่ยวชาญด้าน HealthTech) นำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้บริโภคเลือกทานอาหารที่เหมาะสมกับพันธุกรรม (DNA) เป็นต้น

 

คาดปี 2568 มูลค่า 9.6 หมื่นล้านดอลลาร์

สำหรับในประเทศไทยเอง เรื่องของการออกแบบอาหารเฉพาะบุคคล เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่ป่วยแต่รักสุขภาพ หรือผู้ที่ป่วยแล้ว มีการคาดการณ์การเติบโตตลาด Personalized Food ทั่วโลก ปี 2568 มูลค่าอาจแตะ 96,820 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 12.0% ขณะที่ ประเทศไทย ปี 2568 คาดจะอยู่ที่ 54,603 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 14.2%

 

ปัจจัยดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของ บริษัท กรีน แอนด์ ออแกนิค จำกัด ในการรุกตลาด “อาหารเฉพาะโรคเฉพาะรายบุคคล” (Personalized Food) ผลิตอาหารเฉพาะโรคพร้อมทานรายบุคคลโดยนักโภชนาการ สำหรับผู้ป่วยโรคไต โรคมะเร็ง และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พร้อมให้คำปรึกษาโดยนักโภชนาการ

 

\'โภชนบำบัด\' ดีไซน์เฉพาะบุคคล  เทรนด์ใหม่ ผลักดันวงการอาหาร

 

ชลกานต์ วิสุทธิพิทักษ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีน แอนด์ ออแกนิค จำกัด เผยว่า สำหรับอาหารเฉพาะโรคเฉพาะรายบุคคลแบบพร้อมทาน จะเน้นอาหารไทยเป็นหลัก ใช้วัตถุดิบสดใหม่ และตามฤดูกาลรวมถึงสมุนไพรไทยช่วยชูรสชาติมีให้เลือกมากกว่า 200 เมนู

 

ปัจจุบันมีผู้ป่วยใช้บริการออกแบบอาหารเฉพาะรายบุคคลพร้อมส่งถึงบ้านแล้วราว 70,000 มื้อต่อปี แบ่งเป็น ผู้ป่วยโรคไต 80% และผู้ป่วยโรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคความดัน 20% ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าต่างจังหวัด 70% และ 30% เป็นลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

 

“เชฟและนักกำหนดอาหารจะทำงานร่วมกัน ได้อาหารที่เป็น “โภชนบำบัด” ใช้ความรู้ทางโภชนาการ ปรุงอาหารให้อร่อย โดยเบื้องต้นต้องประเมินสภาวะผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคอะไร ทานอะไรได้หรือไม่ได้ ดูแลตั้งแต่วันแรก และจัดอาหารส่งถึงบ้าน และสามารถสอบถามนักโภชนาการได้ตลอด โดยที่ผ่านมา มีการร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช วิจัยผลของการบริโภคลดเค็ม ต่อการทำงานของไต”

 

ตลาด Personalized Food ที่ผ่านมาคาดว่าน่าจะโตราว 30% แม้จะเป็นตลาดที่ยังเล็ก แต่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะ Gen Z เป็นกลุ่มที่ยินดีจ่ายมากที่สุด รวมถึงการซื้อให้พ่อแม่ทาน และการเติบโตของตลาดผู้สูงอายุ ดังนั้น อนาคตของเราก็จะโตตามไปด้วย

 

\'โภชนบำบัด\' ดีไซน์เฉพาะบุคคล  เทรนด์ใหม่ ผลักดันวงการอาหาร

 

ผลักดัน การเข้าถึงในวงกว้าง

ชลกานต์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับภาครัฐ โดยร่วมกับกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา นำเสนอร่างนโยบาย ป้องกันก่อนรักษา เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาของประเทศ และในปี 2567 นี้ ยังคงมุ่งเน้นเรื่องความร่วมมือกับภาครัฐในการผลักดันนโยบายให้แพทย์จ่ายอาหารเป็นยา เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมการบริโภคและปรับให้เคยชินกับรสชาติอาหารโซเดียมต่ำ ลดหวานมันเค็ม

 

อีกทั้ง มีการทำงานร่วมกับ กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิต ในการจัดอาหารสุขภาพ โภชนาการเหมาะสมถูกต้อง บริการให้กับงานอบรมสัมมนา ภายในกระทรวงสาธารณสุข และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในการเสนอแนะร่างหลักสูตรอบรมต่างๆ ด้านส่งเสริมป้องกันสุขภาพ นอกจากนี้ ยังร่วมกับรัฐวิสาหกิจ จัดโภชนคลีนิคสัญจร บริการนักโภชนาการประจำสำนักแพทย์ ให้กลุ่มข้าราชการรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมทางหลวงแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

ท้ายนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะขยาย ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ ที่เฉพาะทางมากขึ้น รวมถึง ขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ และเครื่องปรุงรส ไปในประเทศแถบตะวันออกกลางในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567