มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมหลากหลาย คับคั่งไปด้วยผู้คน แม้จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะครอบคลุมในหลายพื้นที่ของเมือง แต่ก็มีปัญหาการจราจรติดขัดจากการใช้พาหนะส่วนบุคคล

การเดินเท้าจึงเป็นหนึ่งทางเลือก โดยทางเท้าที่ดีควรเข้าถึงสาธารณูปโภค - สาธารณูปการต่าง ๆ ภายในเมือง รวมถึงร้านค้ารายทาง ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ มีไฟส่องสว่างที่สร้างความปลอดภัย หรือมีต้นไม้คอยให้ร่มเงาตลอดเส้นทางเดิน ที่สำคัญทางเท้าต้องมีลักษณะทางกายภาพที่ดี

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

การผลักดันมาตรฐานทางเท้าใหม่ (GEN 4)

กรุงเทพมหานครนำมาตรฐานทางเท้าใหม่ (GEN 4) มาใช้ในการปรับปรุง หลังจากที่มีทางเท้ามาแล้ว 3 GEN ดังนี้

1. ทางเท้า GEN แรก ทางเท้าที่ปูด้วยอิฐตัวหนอน

2. ทางเท้า GEN 2 ทางเท้าที่ปูด้วยกระเบื้องแบบหนาเป็นพิเศษ

3. ทางเท้า GEN 3 ทางเท้าที่ปูด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่แบบบางที่พบได้ในปัจจุบัน (ฐานรากของทางเท้าเป็นปูนหนา 5 เซนติเมตร)

4. ทางเท้า GEN 4 ทางเท้าที่ปูด้วยกระเบื้องหรือแอสฟัลต์ (Asphalt) (ฐานรากจะต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหนา 10 เซนติเมตร) ที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงของทางเท้าได้ ซึ่งต่อไปนี้จะเห็นทางเท้า GEN 4 มากขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

ข้อดีข้อเสียของทางเท้า Asphalt

การใช้ Asphalt ในการปูทางเท้ามีข้อดีคือ ใช้งบประมาณและระยะเวลาก่อสร้างที่น้อยกว่าการใช้กระเบื้อง เมื่อต้องซ่อมแซมสามารถทำได้ง่ายรวดเร็ว ช่วงที่ซ่อมแซมใหม่ ๆ อาจจะมีความแตกต่างของสีบ้างแต่จะดูกลมกลืนขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ปัญหาน้ำขัง น้ำกระเด็นช่วงหน้าฝนจะไม่พบแน่นอน แต่ข้อเสียที่ควรระวัง คือ ความสวยงาม และ กทม. จะต้องเก็บข้อมูลปัญหาจากการปู Asphalt ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขและพัฒนาทางเท้าให้ถูกใจประชาชนคนกรุงฯ ต่อไป 

ทั้งนี้ ทางเท้าที่ปูด้วย Asphalt ทดแทนกระเบื้องแบบเดิม ปัจจุบันมีการใช้บนถนน 2 สาย คือ ถนนพุทธบูชาและถนนคุ้มเกล้าทั้งสองฝั่ง ซึ่งในอนาคตทางเท้าแบบนี้จะขยายสู่พื้นที่นอกเมืองที่คนใช้สัญจรน้อย โดยเส้นทางที่อยู่ในแผนการดำเนินการ คือ 1. ถนนทางรถไฟสายเก่า (ปากน้ำ) 2. ถนนพุทธมณฑลสาย 1 และ 3. ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

ปัจจุบันทางเท้าของ กทม. ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงทั้งเส้นทางประกอบด้วย 16 เส้นทาง เช่น ถนน ราชดำริ ถนนเพลินจิต อุดมสุข เป็นต้น และอยู่ในแผนเตรียมการพัฒนาอีกกว่า 30 เส้นทาง ที่สำคัญการปรับปรุงทางเท้ายังคำนึงถึงความสวยงามควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย เช่น ถนนเพลินจิตและราชดำริ เนื่องจากอยู่บริเวณกลางเมือง ฝาท่อระบายน้ำที่ใช้จะเป็นฝาท่อที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของย่าน เป็นการนำศิลปะมาใช้ตกแต่งฝาท่อ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาให้กลายเป็น 1 ในสัญลักษณ์ของเมือง หรือจะเป็นรางระบายน้ำท่วมขังบนถนนที่เปลี่ยนจากรูปแบบที่เป็นช่องระบายน้ำแนวตั้งติดกับทางเท้า มาเป็นรางระบายน้ำแนวนอนตลอดแนวถนน และเนื่องจากทางเท้าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่หลายหน่วยงานสาธารณูปโภคได้ขอขุดเจาะ เพื่อปรับปรุงระบบ หรือซ่อมแซมเป็นครั้งคราว ในส่วนนี้กรุงเทพมหานครได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อให้ทางเท้ามีการขุดซ้ำซากน้อยที่สุด โดยให้ทุกหน่วยงานขุดร่วมกันในคราวเดียว พร้อมกำชับผู้รับจ้างทั้งของหน่วยงานกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอกให้ระมัดระวังความปลอดภัย และประชาสัมพันธ์แก่ผู้สัญจร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบแก่ประชาชนให้น้อยที่สุด

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ

มาตรฐานทางเท้าใหม่ สะดวก ปลอดภัย ใส่ใจคนกรุงเทพฯ