มารู้จัก "ไทย" เจ้าภาพ : APEC2022 ภายใน 3 นาที

มารู้จัก "ไทย" เจ้าภาพ : APEC2022 ภายใน 3 นาที

"ประเทศไทย" เจ้าภาพการจัดประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (เอเปค) ปี 2565 เป็นเวทีสำคัญให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจ 21 แห่งมารวมตัวกัน เพื่อหารือถึงความร่วมมือด้านการค้า จะทำให้ประชาชนไทย และสมาชิกกลุ่มความร่วมมือเอเปคได้รับผลประโยชน์

ประเทศไทย จะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพเอเปคตลอดปี 2565 ซึ่งจะเป็นเวทีสร้างโอกาสให้ประชาชนไทย “ตระหนัก เข้าใจ ใช้ประโยชน์ มีส่วนร่วม”  (Inform-Inspire-Integrate-Involve) ตลอดจนใช้โอกาสดังกล่าวในการแสดงศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทย

 

"เชิดชาย ใช้ไววิทย์" อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเน้นย้ำความสำคัญของการใช้ประโยชน์เอเปคซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือพหุภาคีที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกันเกินครึ่งหนึ่งของโลกเพื่อให้ไทยสามารถปรับตัวและทันกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมดิจิทัล (digitalization) ความยั่งยืน (sustainability) และมีความสามารถในการปรับตัว (resilience) 

อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ทุกภาคส่วนของไทยจำเป็นต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันแนวโน้มโลกข้างหน้า

"ธานี แสงรัตน์" อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ มองว่า สื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ประชาชน "ตระหนัก เข้าใจ ใช้ประโยชน์ มีส่วนร่วม” โดยไทยจะผลักดันความร่วมมือเอเปคได้สำเร็จยิ่งขึ้น ต้องอาศัยการปฏิบัติของภาคส่วนต่าง ๆ และประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไทยสูงสุด

 

มารู้จัก \"ไทย\" เจ้าภาพ : APEC2022 ภายใน 3 นาที

 

กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ที่ตรงกับผู้รับสารที่เป็นเป้าหมายแต่ละกลุ่มและให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน ได้แก่

1.ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ภาคเกษตร โดยเฉพาะผู้ประกอบการ MSMEs และ start-ups อีกด้วย 

2.ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

3. นักเรียน นิสิตนักศึกษา เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

4.สาธารณชน ภาคประชาสังคม และประชาชนไทย โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการประชุม 

5.ภาคเอกชน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจเอเปคและในประเทศที่เป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย