เปิดตัว “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์ไทย เจ้าภาพ APEC2022 อย่างเป็นทางการ

เปิดตัว “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์ไทย เจ้าภาพ APEC2022 อย่างเป็นทางการ

กระทรวงการต่างประเทศ เปิดตัวและเผยความหมาย “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์เอเปค ในปีที่ไทยเป็นเจ้าภาพตลอดทั้งปี 2565

เปิดตัว “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์ไทย เจ้าภาพ APEC2022 อย่างเป็นทางการ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน เปิดตัวสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค ในปี 2022   โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมด้วย  

นายดอน กล่าวว่าการประชุมเอเปคครั้งนี้ เป็นการพบปะที่มีความหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่หารือกัน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วม ก็เป็นระดับประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี จึงถือเป็นเรื่องดี และน่าภาคภูมิใจ ของไทย หลังจากที่เคยได้นับเกียรติเป็นเจ้าภาพครั้งสุดท้าย เมื่อ 18 ปีที่แล้ว  

 

 

สำหรับการเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ ประเทศไทยเลือกใช้สัญลักษณ์ คือ  "ชะลอม" เครื่องจักสานของไทยที่เป็นสัญลักษณ์ ของการค้าขายมาแต่โบราณ เส้นตอกไม้ไผ่ ที่สอดประสานกันทั้งแข็งแรง และยืดหยุ่นเหนียวแน่นและคงทน ช่วยโอบอุ้มเศรษฐกิจภูมิภาค ให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยที่เน้นให้ประชาชนไทย "ตระหนัก เข้าใจ ใช้ประโยชน์ มีส่วนร่วม" 

เส้นตอก 3 สี น้ำเงิน สื่อถึง Open การเปิดกว้าง  ชมพู สื่อถึง Connect การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสีเขียว สื่อถึง Balance ความสมดุล  

 

เปิดตัว “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์ไทย เจ้าภาพ APEC2022 อย่างเป็นทางการ

เปิดตัว “ชะลอม” ตราสัญลักษณ์ไทย เจ้าภาพ APEC2022 อย่างเป็นทางการ การประชุมแรกของเอเปค 2565 จะจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคมนี้ และจะมีการประชุมอื่น ๆ กว่าร้อยการประชุมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศตลอดปีหน้า ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกพื้นที่ 

หลังเสร็จงาน นายดอน ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนการเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ถือเป็นเปิดโอกาสให้ไทย ที่จะนำเสนอเรื่อง หรือวาระการประชุมตามที่ไทยเห็นสมควร และเป็นโอกาสที่เหมาะสม ที่จะสะท้อนถึงแนวคิดความสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำของประเทศไทยได้ โดยในสถานการณ์ โควิด-19 เราจะพยายามที่จัดในรูปแบบการประชุมปกติ ทางกายภาพ มากกว่าจัดการประชุมแบบออนไลน์ ซึ่งหวังว่าผู้นำ ทั้งหลายจะมีโอกาสได้มาเยือนประเทศไทย และสร้างพลวัตที่ดีร่วมกัน