วิธีดีลคนเก่ง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ในสไตล์ ‘ชาร์ลี มังเกอร์’ มือขวานักธุรกิจ

วิธีดีลคนเก่ง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ในสไตล์ ‘ชาร์ลี มังเกอร์’ มือขวานักธุรกิจ

ไม่ว่าคุณจะเป็นมือหนึ่ง ม้าเบอร์รอง หรือคู่แข่งขัน นี่คือวิธีทำให้ประสบความสำเร็จเหมือน “วอร์เรน บัฟเฟตต์” รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับคนเก่งระดับซีอีโอ โดยไม่สูญเสียตัวตนไป

Key pionts

  • สำหรับผู้ถูกที่เรียกว่า ลูกคู่ คู่คิด หรือมือขวานักลงทุน ต้องมีความคิดเป็นอิสระ ยึดมั่นแนวทางถูกต้อง เข็มแข็ง และรักษาตัวตนของตนเองไว้    
  • เมื่อมองการทำงานร่วมกัน จะเห็นว่า มังเกอร์ไม่ใช่คู่แข่งหรือชิงดีชิงเด่นบัฟเฟตต์ แต่ทั้งสอง “ถ่วงดุล และเติมเต็ม” ระหว่างกัน ทั้งอุดมการณ์และการบริหารงาน

“จอห์น ฮิวจ์” ผู้บริหารไทม์ อิงค์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความลับนายเก่าของเขา “ชาร์ลี มังเกอร์” มือขวา วอร์เรน บัฟเฟตต์ พ่อมดนักลงทุน และประธานบริษัทเบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ ซึ่งนำมาเผยแพร่อีกครั้งทางบลูมเบิร์กว่า เหตุผลอะไรทำให้มังเกอร์ เป็นลูกคู่บัฟเฟตต์  ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับนักธุรกิจและลงทุนในเจนเนอเรชันต่อไป

ฮิวจ์พูดถึง “ความเป็นที่หนึ่ง” ของผู้ถูกเรียกว่า ลูกคู่ คู่คิด หรือมือขวานักลงทุน ซึ่งต้องมีความคิดเป็นอิสระ ยึดมั่นแนวทางถูกต้อง เข็มแข็ง และรักษาตัวตนของตนเองไว้    

มังเกอร์ รองประธานเบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2566 ขณะอายุ 99 ปี ซึ่งเขาได้รับการยกย่องว่า บริหารธุรกิจได้เฉียบแหลม มีวิสัยทัศน์ด้านการลงทุนและใช้ชีวิต โดยเฉพาะรักษามีความสัมพันธ์ที่มั่นคง ในฐานะเพื่อนสนิทและมือขวาบัฟเฟตต์ โดยทั้งสองได้ร่วมกันสร้างเบิร์กเชียร์ให้กลายเป็นกลุ่มบริษัทที่ประสบความสำเร็จ และทรงอิทธิพลระดับโลก

แม้หลายคนมองว่า มังเกอร์เป็นเบอร์สองรองบัฟเฟตต์ แต่คงไม่ถูกเท่าไรนัก เพราะเขาเป็นลูกคู่ที่ช่วยเติมเต็มความคิดการทำธุรกิจให้บัฟเฟตต์ จนทั้งสองพากันประสบความสำเร็จร่วมกันมากกว่า

สำหรับบทความที่ฮิวจ์เขียนนี้ มีขึ้นเมื่อปี 2534 ในครั้งนั้นบัฟเฟตต์ยังไม่ได้พูดถึงความสำคัญของการมีเพื่อนคู่คิดทางธุรกิจ ซึ่งเวลานั้นเขาถือครองหุ้นใหญ่ที่สุดในโคคา-โคล่า และแคปปิตอลซีตี้ ส่วนมังเกอร์ถือหุ้นใหญ่เป็นรองจากเขา 

“เชื่อว่า ซีอีโอจำนวนมากไม่ต้องการให้เบอร์สอง ขยับขึ้นใกล้ จนตีคู่กับเบอร์หนึ่ง เพราะถ้าอย่างนั้น หากพวกเขายืนหนึ่งกันหมด เรื่องราวก็จะไม่สนุกแน่นอน” ฮิวจ์บอก

เมื่อมองการทำงานระหว่างกัน จะเห็นว่า มังเกอร์ไม่ใช่คู่แข่งหรือชิงดีชิงเด่นบัฟเฟตต์ แต่ทั้งสอง “ถ่วงดุล และเติมเต็ม” ระหว่างกัน ทั้งอุดมการณ์และการบริหารงาน

มังเกอร์สนับสนุนพรรครีพับลิกัน ส่วนบัฟเฟตต์ฝ่ายพรรคเดโมแครต มังเกอร์เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ส่วนบัฟเฟตต์มักจะมองโลกในแง่ดีตลอด มังเกอร์เป็นคนที่มีคุณภาพ ขณะที่บัฟเฟตต์เป็นคนมีคุณค่า อย่างเคสที่มังเกอร์พูดตรง กัดแกมหยอกบัฟเฟตต์ แน่นอนพ่อมดนักลงทุนก็ใช้ไหวพริบเอาคืนอย่างรวดเร็ว

รักษาอัตตา เพื่อการตรวจสอบ

ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องขัดแย้ง หรือไม่ลงรอย แต่เป็นสิ่งที่ทั้งสองรักษาอัตตาตัวเองไว้

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการจากไปของมังเกอร์ จะเป็นการปิดตำนานสองนักธุรกิจเป็นทั้งเพื่อนและคู่คิด ได้จบลงไปอย่างน่าเสียดาย

ยิ่งในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างทุกวันนี้ เป็นเรื่องยากจะมองหาหุ้นส่วนที่มีมุมมองแตกต่าง แต่กลับสร้างทรัพย์สินมหาศาลร่วมกันได้

ดึงคนเห็นต่าง ร่วมงาน

ในทางกลับกัน ผู้นำไปจนถึงผู้บริหาร มักมองหาบุคคลที่รายล้อม ไปด้วยคนที่มีความคิดและการกระทำที่เหมือนกับเขา แทนที่จะกระจายอำนาจ เหมือนกับการเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้โชว์วิสัยทัศน์และบริหารงาน เพื่อให้องค์การก้าวรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นซีอีโอร่วมสมัยจะต้องไม่กังวลกับสิ่งเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์นอกตำราเรียนและภาวะความเป็นผู้นำของมังเกอร์ ได้สอนให้กับโลกธุรกิจ หากคุณต้องการประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ก็ต้องแสวงหาลูกคู่ที่เหมาะสมกับตนเอง

ที่มา : Bloomberg