ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

เมื่อพูดถึงงานแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติ ‘อาร์ต จาการ์ตา’ (Art Jakarta) ถือเป็นหัวขบวน ด้วยความมุ่งมั่นเป็นอาร์ตแฟร์เดียวของเอเชียที่เน้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้เป็นปีที่ 13 ยิ่งนานวันยิ่งคึกคัก

อาร์ต จาการ์ตา ปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ  JIEXPO กลางกรุงจาการ์ตา หากมองย้อนไปตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดในปี 2552 อาร์ต จาการ์ตา มีพัฒนาการมาโดยตลอด การย้ายสถานที่จัดมาสู่ศูนย์ประชุม JIEXPO ก็เพื่อรองรับผู้ร่วมชมงานที่มากขึ้น ปีนี้ 35,578 คน เทียบกับปี 2565 ซึ่งเป็นปีแรกที่กลับมาจัดงานได้หลังโควิด-19 ระบาด จำนวนผู้ร่วมชมงาน 32,779 คน 

ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’ จำนวนผู้จัดแสดงงานมากกว่าปีก่อนเช่นกัน แกลเลอรีรวม 68 แห่ง จากอินโดนีเซีย 40 แห่ง และต่างประเทศ 28 แห่ง ทั้งจากมาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และออสเตรเลีย นำผลงานชิ้นล่าสุดของศิลปะมาอวดโฉม เมื่อทุกอย่างยิ่งใหญ่กว่าเดิม บรรยากาศย่อมคึกคัก ที่น่าประทับใจคือพ่อแม่จูงลูกมาเสพศิลปะ วัยรุ่นจับกลุ่มมาดูผลงาน การใช้ความงามหล่อหลอมคนรุ่นใหม่ การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ย่อมทำได้ไม่ยาก 

กรุงเทพธุรกิจมีโอกาสพูดคุยกับฮิลมาร์ ฟาริด อธิบดีกรมวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม เทคโนโลยีและการวิจัยของอินโดนีเซีย ถึงบรรยากาศโดยรวมของอุตสาหกรรมศิลปะในอินโดนีเซีย สรุปได้ว่า แวดวงนี้กำลังเติบโตทุกขณะ   ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

(ฮิลมาร์ ฟาริด ซ้ายสุดของภาพ)

"ถ้ามองในแง่ของผลผลิต มีศิลปินจำนวนมากผลิตผลงานสร้างสรรค์มากมาย และเข้าร่วมงานศิลปะหลากหลายระดับโลก รวมถึงงานอาร์ต จาการ์ตา  อย่างที่คุณเห็นความหลากหลายของทัศนศิลป์ ถ้ามองในแง่เม็ดเงิน เราไม่มีตัวเลขว่ามีการซื้อขายงานกันจำนวนเท่าใด แต่สิ่งที่ผมเห็นคือการเติบโตต่อเนื่องปีแล้วปีเล่า ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคนที่เข้ามาชมงาน จำนวนแกลเลอรีทั้งในอินโดนีเซียและจากต่างประเทศ เหล่านี้เป็นตัวชี้วัดการเติบโตที่ดี" อธิบดีกล่าวพร้อมอธิบายเพิ่มเติมถึงความสำคัญของศิลปะในการสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ประเทศใหญ่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

"เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญมากครับ แน่นอนว่าศิลปะก็สำคัญมากเช่นกัน ทุกอย่างเป็นเรื่องของศิลปะที่ไม่ใช่แค่ทัศนศิลป์  แต่ยังมีเรื่องของดีไซน์ ผมถึงได้บอกไงครับว่าสำคัญมาก ในแง่ที่ศิลปะเป็นเซกเตอร์ย่อยของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy)"

อธิบดียอมรับตรงๆ ว่า ความสำคัญของศิลปะต่อเศรษฐกิจของประเทศยังไม่มากเท่ากับที่รัฐบาลอยากให้เป็น แต่เชื่อว่าอินโดนีเซียยังมีศักยภาพมากในแง่นี้ เห็นได้จากงานจากอินโดนีเซียถูกซื้อขายในต่างประเทศจำนวนมาก อินโดนีเซียจึงพยายามให้ความสำคัญและจับตลาดศิลปะ  ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ทุกคนตระหนักคือเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัว และนั่นส่งผลต่ออุตสาหกรรมศิลปะ อธิบดีเห็นด้วยว่า เมื่อสองปีก่อน ปี 2021-2022 การระบาดของโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่กันลดลง การจัดงานศิลปะลดจำนวนลง ส่งผลต่อการเข้าถึงตลาดงานศิลป์ 

“แต่ตอนนี้คุณได้เห็นคนมาร่วมงานจำนวนมาก กระแสกำลังฟื้นตัวกลับไปเป็นเหมือนอย่างที่เคยเป็นก่อนโควิด”  อธิบดีกล่าวซึ่งก็จริงตามนั้น  สองปีที่อาร์ต จาการ์ตากลับมาจัดงานอีกครั้งหลังโควิด ความคึกคักเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แล้วอย่างนี้อธิบดีในฐานะตัวแทนรัฐบาลอินโดนีเซีย พอจะมีคำแนะนำต่อรัฐบาลอื่นๆ ที่อยากสนับสนุนงานศิลปะให้มากขึ้นเหมือนอินโดนีเซียบ้างหรือไม่  

"แน่นอนครับ ศิลปะเป็นสากล เป็นวิถีสากลในการแสดงออกหรือแสดงความรู้สึก คุณสามารถเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างผ่านงานศิลปะ จุดนี้สำคัญมาก ผมหวังว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนจะทำแบบเดียวกันอย่างน้อยๆ ก็จัดงานนิทรรศการศิลปะให้มากขึ้นครับ" 

จากปากคำของอธิบดีที่ถือเป็นข้อมูลจากภาครัฐ สู่ข้อมูลจากแกลเลอรีที่มาร่วมงาน อย่างที่กล่าวแล้วว่า แกลเลอรีจากต่างประเทศมาร่วมงานอาร์ต จาร์กาตา มากมาย หนึ่งในนั้นคือวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี (Warin Lab Contemporary) จากประเทศไทย  สุคนธ์ทิพย์ นาคเกษม ผู้ก่อตั้งนั่งประจำบูธคอยแนะนำงานศิลปะด้วยตนเอง เริ่มต้นด้วยการแนะนำวารินแล็บ  แกลเลอรีตั้งอยู่ในโอพีการ์เดน ที่เคยเป็นบ้านของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล แพทย์ นักเขียน ช่างภาพ ผู้เขียนหนังสือคลาสสิกเกี่ยวกับนกในประเทศไทย ทั้งยังเป็นกระบอกเสียงในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า  ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

"เมื่อวารินแล็บได้มาอยู่ในที่ของคุณหมอจึงคิดว่าโปรแกรมที่ทำทั้งหมดควรเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้วารินแล็บ จึงแตกต่างจากแกลเลอรีอื่น" สุคนธ์ทิพย์กล่าวและว่านอกจากจัดแสดงนิทรรศการในเมืองไทยแล้ว วารินแล็บยังจัดแสดงในต่างประเทศด้วย อย่างงานอาร์ต จาการ์ตาที่มาเป็นประจำทุกปี ปีนี้จัดแสดงงานชื่อ Testimonial Objects ของ  Maharani Mancanagara ศิลปินอินโดนีเซีย สร้างงานจากไม้ลังรีไซเคิล ซึ่งเป็นลังไม้ใส่สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ลังนี้ทำจากไม้สน นำมาตัดด้วยมือแล้ววาดด้วยถ่าน บอกเล่าเรื่องราวสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้กวาด กระป๋อง ถังน้ำ ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

“นอกจากใช้วัสดุรีไซเคิลแล้ว ศิลปินยังพูดถึงสารที่ตนสนใจว่าคนเราต้องมีความคิดที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมยั่งยืน ทุกคนต้องมีความรู้ เข้าใจได้ด้วยตนเอง”   ยลซอฟต์พาวเวอร์อินโดนีเซีย  ชมงานศิลปะ‘อาร์ตจาการ์ตา’

หากให้เปรียบเทียบบรรยากาศศิลปะระหว่างอินโดนีเซียกับไทย สุคนธ์ทิพย์มองว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก เศรษฐกิจต่างกับประเทศไทยมาก 

“ต้องบอกเลยว่าอินโดนีเซียเป็นแชมเปี้ยนในการผลักดันเรื่องศิลปะร่วมสมัย คนมีเงินซื้อและผลักดันศิลปะ เวทีเขาใหญ่เพราะประชากรเยอะ เงินเยอะ ส่วนในประเทศไทย คนเริ่มเข้ามาซื้อศิลปะไปไว้ในบ้านราว 20 ปีที่แล้วที่เรามีนิตยสารตกแต่งบ้านออกมา” 

สิ่งที่เห็นชัดเจนคือตอนนี้คนที่สร้างความคึกคักให้กับตลาดศิลปะไทยคือคนที่ไม่เคยซื้องานอาร์ตมาก่อน เช่น กลุ่มคนที่สนใจการ์ตูน อาร์ตทอย  ตลาดศิลปะในประเทศไทยจึงเป็นขาขึ้น เห็นได้จากมีแกลเลอรีเกิดขึ้นใหม่เยอะ 

“บ้านเราไม่มีโซนให้พวกเขาอยู่รวมกันจึงมองไม่ค่อยเห็น แต่คนในวงการจะรู้ว่ามีแกลเลอรีเยอะมากขายงานศิลปะ มีคนซื้อเยอะ เม็ดเงินหมุนเวียนปริมาณมาก เรียกได้ว่ามีตลาด”  

ส่วนการจะทำให้ตลาดศิลปะบ้านเราคึกคักเท่าอินโดนีเซีย สุคนธ์ทิพย์มองว่า ทำให้เท่าไม่ได้ในแง่ของเม็ดเงิน แต่ในแง่บรรยากาศ คนในแวดวงศิลปะไทยทำกันอยู่แล้ว 

“เนื่องจากเราไม่เหมือนบางประเทศที่มีทุนช่วยเหลือด้านศิลปะให้ศิลปิน ก่อนรัฐบาลชุดนี้ศิลปะไม่เคยถูกนำมาชู ตอนนี้เขาจะพูดเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ ก็คงเห็นแบบอย่างจากบางประเทศที่ขายวัฒนธรรมแล้วทำให้เศรษฐกิจอย่างอื่นเฟื่องฟูไปด้วย รัฐบาลเราก็เริ่มไปทิศทางนั้น” ผู้ร่วมก่อตั้งวารินแล็บกล่าวถึงซอฟต์พาวเวอร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในขณะนี้ พร้อมให้ข้อเสนอแนะในฐานะคนจากวงการศิลปะ 

“เมื่อชูวัฒนธรรมแล้วก็ต้องทำความเข้าใจในแต่ละเซคเตอร์ของวัฒนธรรมด้วย เช่น อาหาร การแสดง ดนตรี ศิลปะ ภาครัฐต้องให้คนที่มีความเข้าใจในแต่ละเซคเตอร์มาช่วยคิดว่าจะทำอย่างไร เพราะภาครัฐมองภาพกว้างจากข้างบน ต้องมีคนตัวเล็กมาช่วยมองในรายละเอียด” สุคนธ์ทิพย์กล่าวทิ้งท้าย