หารือการค้า‘ อินโด-แปซิฟิก’ ไม่คืบ แม้ใกล้ประชุมซัมมิตเอเปค

หารือการค้า‘ อินโด-แปซิฟิก’ ไม่คืบ แม้ใกล้ประชุมซัมมิตเอเปค

สหรัฐเตรียมโชว์ผลคืบหน้าเจรจาIPEF ที่สหรัฐเป็นผู้ริเริ่ม นอกรอบประชุมเอเปคในสัปดาห์นี้ แต่สื่อชี้อาจไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากบางประเทศขอสงวนความตกลงไว้ก่อนเรื่อง 'สิ่งเเวดล้อม' และ 'แรงงาน'

การประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐ กำลังจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า ซึ่งสหรัฐต้องการแสดงให้เห็นว่ามีความคืบหน้าในการเจรจาข้อตกลงการค้าอีกกรอบที่สหรัฐเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งเรียกว่า "กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก" (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) หรือ IPEF

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ความตั้งใจในเรื่องนี้ของสหรัฐอาจไม่เป็นไปตามคาด เนื่องจากบางประเทศขอสงวนความตกลงกับสหรัฐในประเด็น "สิ่งเเวดล้อม" และ "แรงงาน" 

“เวนดี คัตเลอร์” หัวหน้าศูนย์เอเชีย โซไซตี้ โพลิซี ที่กรุงวอชิงตันและอดีตเจ้าหน้าที่เจรจาการค้าสหรัฐ ให้ความเห็นว่า สหรัฐจะใช้โอกาสนี้แสดงให้เห็นว่ากำลังดำเนินการอย่างแข็งขันมากขึ้น ผ่าน APEC และ IPEF และประกาศว่า สหรัฐกลับมามีบทบาทในเอเชียอีกครั้งแล้ว ทั้งยังคงเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดทางเศรษฐกิจต่อภูมิภาคนี้ต่อไป 

รัฐบาลชุดก่อนของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รัฐบาลสหรัฐถอนตัวออกจากกรอบการค้าเสรี TPP (Trans-Pacific Partnership) ต่อมารัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้ ได้ริเริ่ม IPEF ขึ้น

หากเทียบกับ TPP ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การลดสิ่งกีดขวางทางการค้า IPEF เป็นกรอบการเจรจาที่มีความจำเพาะเจาะจงมากกว่า โดยมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยการค้า สายการผลิตและระบบห่วงโซ่อุปทาน การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การต่อสู้กับคอร์รัปชันและการเลี่ยงภาษี

หารือการค้า‘ อินโด-แปซิฟิก’ ไม่คืบ แม้ใกล้ประชุมซัมมิตเอเปค

 

ประเทศที่ร่วมเจรจากรอบการค้า IPEF มี 14 ประเทศ คือสหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน ฟิจิ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เวียดนาม และไทย โดยอินเดียและฟิจิไม่ได้อยู่ในกลุ่ม APEC แต่ร่วมหารือกรอบ IPEF

ตอนนี้ประเทศคู่เจรจาเห็นพ้องร่วมกันในเนื้อหาฉบับสมบูรณ์ของความตกลงที่เกิดขึ้นในเดือนพ.ค. ในเรื่องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบห่วงโซ่อุปทานเท่านั้น

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรับหน้าที่การเจรจาเรื่อง การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การต่อสู้กับคอร์รัปชันและการเลี่ยงภาษี ซึ่งคาดว่าน่าจะมีบทสรุปที่ชัดเจน ซึ่งสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่าน่าจะมีแถลงการณ์เกี่ยวกับ 2 หัวข้อนี้ในสัปดาห์หน้า

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าว 3 รายบอกกับรอยเตอร์ว่า เสาหลัก IPEF เรื่องการค้าเป็นหัวข้อที่ยากที่จะให้เกิดความเห็นพ้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยหลายประเทศยังไม่เต็มใจตอบรับข้อเรียกร้องของสหรัฐ หรือขอเวลาพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม