แหล่งผลิตอาเซียนปรับตัว ‘ดึงดูด-รักษา’แรงงานหนุ่มสาว

แหล่งผลิตอาเซียนปรับตัว ‘ดึงดูด-รักษา’แรงงานหนุ่มสาว

แหล่งผลิตอาเซียนปรับตัว ‘ดึงดูด-รักษา’แรงงานหนุ่มสาว ขณะที่ไนกี้ ผู้ผลิตรองเท้ากีฬาส่วนใหญ่ในเอเชียประกาศในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายด้านแรงงานแพงขึ้น

เว็บไซต์วอลล์สตรีท เจอร์นัล นำเสนอรายงานว่าด้วยเรื่องการเร่งปรับตัวของโรงงานผลิตในเอเชีย เพื่อรับมือกับช่วงขาลงของการเป็นโรงงานผลิตขนาดใหญ่ของโลก ที่มีต้นทุนแรงงานถูก โดยระบุว่า ขณะนี้บรรดาโรงงานผลิตในประเทศต่างๆทั่วภูมิภาคเอเชียพยายามดึงดูดแรงงานหนุ่มสาวให้เข้าไปทำงานด้วย โดยใช้กลยุทธ์และแรงจูงใจต่างๆ แต่เรื่องนี้ในอีกมุมหนึ่ง ก็ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้บริโภคตะวันตกที่คุ้นชินกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ราคาถูกจากเอเชีย           

เช่นโรงงานผลิตแห่งหนึ่งที่่ติดกระจกใส ตั้งแต่เพดานถึงพื้น พร้อมุมนกาแเล็กๆ ฟที่เสิร์ฟชาเขียรสชาติดี  มีการฝึกโยคะฟรี และห้องสอนการเต้นรำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และทุกๆเดือน  พนักงานจะมารวมตัวกันเพื่อสังสรรค์ด้วยการดื่มเบียร์ ,เล่นโก-คาร์ท ,โยนโบว์ลิ่ง และพูดคุยกันถึงเรื่องการสร้างทีม 

อย่าเข้าใจผิดว่าที่บรรยายมาทั้งหมดคือ สภาพแวดล้อมภายในบริษัทกูเกิล ไม่ใช่  แต่เป็นโรงงานผลิตสิ่งทอแห่งหนึ่งในเวียดนาม

เอเชีย ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตของโลกและแหล่งสินค้าที่ผู้บริโภคชาวอเมริกันนิยมซื้อหามากที่สุด กำลังเจอปัญหาใหญ่ คือ คนหนุ่มสาวที่ถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่อยากทำงานในโรงงาน       

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดโรงงานผลิตสิ่งทอจึงพยายามปรับปรุงโรงงานผลิตให้มีความน่าสนใจและดึงดูดใจบรรดาแรงงานหนุ่มสาว และทำไมจึงเป็นเหมือนสัญญาณเตือนไปยังบรรดาบริษัทตะวันตกที่พึ่งพาแรงงานราคาถูกของภูมิภาคให้ผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภคทั่วโลกในราคาที่เอื้อมถึง  ทำให้ชาวอเมริกันที่คุ้นเคยกับเสื้อผ้าแฟชันและทีวีจอแบนราคาไม่แพงเตรียมเจอกับสินค้าทั้งสองประเภทที่แพงมากขึ้น       

"ไม่เหลืออะไรในโลกที่สามารถให้สิ่งที่คุณต้องการได้ ผู้คนต่างก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตัวเอง และแบรนด์ก็ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน” พอล นอริส นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้ร่วมก่อตั้ง UnAvailable โรงงานผลิตสิ่งทอในเวียดนามที่มีฐานดำเนินงานอยู่ในโฮจิมินห์ ซิตี้ กล่าว

นอริส กล่าวด้วยว่า คนงานในวัย 20 ซึ่งเป็นแรงงานทั่วไปในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเพิ่งเข้ามาทำงานได้แค่สองปี ไม่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของบริษัท ซึ่งนอริส หวังว่า การปรับปรุงที่ทำงานให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายและอยากทำงานมากขึ้นจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

“ทุกคนอยากเป็นคนดังในอินสตาแกรม ช่างภาพ สไตลิสต์ หรือทำงานที่คอฟฟีช็อป”นอริส กล่าว

ในการตอบสนองต่อวิกฤติที่เกิดขึ้น โรงงานผลิตในเอเชียต้องเพิ่มค่าแรงและใช้กลยุทธ์บางกลยุทธ์ที่บางครั้งก็เพิ่มต้นทุนให้บริษัทเพื่อรักษาแรงงานเอาไว้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ว่ามีตั้งแต่ปรับลดค่าอาหารในโรงอาหารไปจนถึงสร้างโรงเรียนสอนและดูแลเด็กให้แก่บรรดาพนักงานที่มีลูก

เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานหนุ่มสาวไว้กับโรงงาน  UnAvailable ได้จัดตั้งร้านกาแฟ พร้อมทั้งเสนอการฝึกโยคะและเปิดคลาสสอนเต้นรำโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่พนักงานทุกคน 
 

 ส่วน ฮาสโบร บริษัทผลิตเกมและของเล่น กล่าวว่า ปัญหาขาดแคลนแรงงานในปีนี้ทั้งในเวียดนามและในจีนมีส่วนอย่างมากทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้น ส่วนแมทเทล ผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ ซึ่งฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียด้วยเหมือนกัน ก็ยอมรับว่า กำลังรับมือกับปัญหาต้นทุนแรงงานสูงขึ้น

บริษัทผลิตของเล่นทั้งสองแห่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้า เช่นเดียวกับ ไนกี้ ซึ่งผลิตรองเท้ากีฬาส่วนใหญ่ในเอเชีย ก็ประกาศในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายด้านแรงงานแพงขึ้น

“สำหรับผู้บริโภคสหรัฐที่เคยชินกับการซื้อสินค้าราคาตายตัว ไม่แพงมากและสอดคล้องกับรายได้ที่คงที่ของพวกเขา อาจต้องคิดใหม่และจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น”มาโนช ปราทาน นักเศรษฐศาสตร์ในกรุงลอนดอน และเป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือชื่อ  “The Great Demographic Reversal.” กล่าว

ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 จีนและประเทศอื่นๆในเอเชียต่างเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมและมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก เปลี่ยนชาติที่ยากจนหลายชาติให้กลายเป็นโรงงานผลิต สินค้าคงทนเช่น ตู้เย็นและโซฟา กลายเป็นสินค้าราคาไม่แพงที่ใครๆก็หาซื้อได้

แต่ตอนนี้ ประเทศที่เป็นโรงงานผลิตของโลกเหล่านั้น กำลังประสบปัญหาด้านแรงงานที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านเจเนอเรชัน แรงงานหนุ่มสาวจะได้รับการศึกษาสูงกว่าคนรุ่นพ่อแม่ของพวกเขา และคนที่เชี่ยวชาญในการใช้อิสตาแกรม ติ๊กต็อกและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆมักจะตัดสินใจว่าชีวิตการทำงานของพวกเขาไม่ควรถูกจำกัดอยู่เฉพาะในโรงงานผลิตเท่านั้น  

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศึกษาก็มีบทบาทสำคัญ คนหนุ่มสาวในเอเชียมีลูกน้อยกว่าคนรุ่นพ่อแม่  ซึ่งหมายความว่าจะมีแรงกดดันน้อยกว่าในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในช่วงอายุ 20 เช่นงานบริการต่างๆ ทั้งงานในตำแหน่งเสมียนในห้างสรรพสินค้าและงานรีเช็ปชันในโรงแรม ที่มีทางเลือกให้ออกจากงานหรือเปลี่ยนงานได้ง่ายกว่า