ออสเตรเลียอนุมัติ 'ยาอี' รักษาโรคจิตเวชครั้งแรกของโลก

ออสเตรเลียอนุมัติ 'ยาอี' รักษาโรคจิตเวชครั้งแรกของโลก

ออสเตรเลีย อนุมัติ ‘ไซคีเดลิค’ ยาหลอนประสาท หรือ ยาอี เป็นครั้งแรกของโลก เพื่อใช้ในการรักษาปัญหาสุขภาพจิต จากเหตุการณ์รุนแรงและภาวะซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษา

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงาน (30 มิ.ย.) ว่า ออสเตรเลียอนุมัติ MDMA และ ไซโลไซบิน หรือที่เรียกกันว่า 'ยาอี' และ เห็ดขี้ควาย ให้กกฎหมายเพื่อรักษาอาการป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรงและภาวะซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษา

สำนักงานบริหารเวชภัณฑ์ออสเตรเลีย (ทีจีเอ) หน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการบำบัดรักษาโรค เผยว่า ออสเตรเลียอนุมัติยาชนิดนี้ เนื่องจากอาการป่วยดังกล่าวไม่มีทางรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่มีข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่า ยาหลอนประสาท อาจมีคุณสมบัติเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย 

อย่างไรก็ดี ด้วยระเบียบการใช้ยามากมาย ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาหลอนประสาทได้ยาก เพราะมีเพียงจิตแพทย์ที่ผ่านการรับรองด้านจริยธรรมตาม ที่จำเป็นต่อการวิจัยทางคลินิก และผู้ที่ได้รับอนุญาตผ่านโปรแกรมผู้ให้บริการรักษาตามกฎระเบียบเท่านั้น จึงจะสามารถอนุมัติสั่งจ่ายยาดังกล่าวได้

ทีจีเอบอกว่า ออสเตรเลียเปิดรับสมัครรับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อมีสิทธิรักษาผู้ป่วยด้วยยาอีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นมา

"แดเนียล เพอร์กินส์" นักวิชาการวิจัยอาวุโส จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น คาดว่า

คอร์สรักษา รวมถึงการบำบัดด้วยไซคีเดลิค อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000-25,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 352,000-587,000 บาท

ทั้งนี้ การรักษาโรคทางจิตเวชด้วยยาหลอนประสาท ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัย ยังไม่ทราบผลประโยชน์และความเสี่ยงระยะยาว และยังไม่แน่ชัดว่า ผลการรักษาเบื้องต้นที่ดีขึ้น ในผู้ป่วยเบื้องต้นจำนวนมาก จะมีประสิทธิภาพได้นานเพียงใด

ออสเตรเลียอนุมัติ \'ยาอี\' รักษาโรคจิตเวชครั้งแรกของโลก

ตัวเปลี่ยนเกมทางจิตเวช

“ไมค์ มัสเกอร์” จิตแพทย์จาก กลุ่มศึกษาและวิจัยสุขภาพจิตและการป้องการฆ่าตัวตาย จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย และกรรมการที่ปรึกษาทางการแพทย์ของ บริษัท Goodmind Therapeutics ที่มีแผนเปิดรับรักษาด้วยยาหลอนประสาท บอกว่า ยาดังกล่าว เป็นตัวเปลี่ยนเกมทางจิตเวช ถือเป็นหนึ่งในวิวัฒนาการที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 70 ปี ยาหลอนประสาท ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์อย่างมาก และว่า ในการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเห็นอกเห็นใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ทั้งนี้ ในออสเตรเลียยังไม่มีสินค้ายาหลอนประสาทที่ได้รับการอนุมัติในออสตรเลีย ดังนั้น ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่ร่วมงานด้วย จะต้องนำเข้ายาหลอนประสาท แต่นอกเหนือจากระเบียบการใช้ยาหลอนประสาทเพื่อการแพทย์แล้ว MDMA และ เห็ดขี้ควาย ยังคงผิดกฎหมายในออสเตรเลีย