นักวิจัยเตือน ประชากรโลกอาจป่วยเป็นโรคเบาหวาน 1,300 ล้านคน ภายในปี 2050

นักวิจัยเตือน ประชากรโลกอาจป่วยเป็นโรคเบาหวาน 1,300 ล้านคน ภายในปี 2050

ผลวิจัยคาดการณ์ใหม่เตือน จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก อาจเพิ่มขึ้น 2 เท่า สู่ระดับ 1,300 ล้านคน ภายในปี 2050 ผลมาจากนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติ การรับประทานอาหารของมนุษย์เปลี่ยนไป และช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ

สำนักข่าวเอเอฟพี อ้างอิงบทวิเคราะห์ที่ครอบคลุมที่สุดของข้อมูลคาดการณ์ทั่วโลกจนถึงปี 2050 ระบุว่า ทุกประเทศทั่วโลก อาจมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าประชากร 529 ล้านคน อาจป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของสาเหตุการเสียชีวิตและความพิการ

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสาร Lancet ระบุว่า ประชากร 95% ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเพิ่มขึ้นมากถึง 1,300 ล้านคน ภายในเวลาไม่ถึง 30 ปี

ทั้งนี้ ดัชนีมวลกายสูง หรือเกณฑ์ชี้วัดว่าน้ำหนักเกิน มีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุการเสียชีวิตและพิการจากเบาหวานมากกว่าครึ่งหนึ่ง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ป่วยเป็นเบาหวาน ได้แก่ อาหาร, การออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

“เหลียน อ๋อง” หัวนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จากสถาบันชี้วัดและประเมินสุขภาพ (IHME) และผู้เขียนวิจัยคนแรกของหนึ่งในการวิจัยโรคเบาหวาน บอกว่า หนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ป่วยเป็นโรคเบาหวานคือ การรับประทานอาหารเปลี่ยนไป

ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ เปลี่ยนนิสัยการกินแบบดั้งเดิม อาจทานผักและผลไม้มากขึ้น ทานผักใบเขียวเพื่อสุขภาพมากขึ้น ไปจนถึงทานอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น

การวิจัยคาดว่า ภายในปี 2045 ประชากรผู้ใหญ่ 3 ใน 4 ของประเทศรายได้ปานกลางและประเทศรายได้ต่ำ อาจเป็นโรคเบาหวาน แม้แต่ในประเทศร่ำรวยอย่างสหรัฐ อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานของชนกลุ่มน้อยสูงขึ้นเกือบ 1.5 เท่า อาทิ คนดำ,ชาวฮิสแปนิก, เอเชีย หรือคนพื้นเมืองอเมริกัน

“ลีโอนาร์ด เอเกเด” ผู้ร่วมเขียนวิจัย จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งวิสคอนซิน กล่าวว่า นโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติ เช่น การแยกที่อยู่อาศัย ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของผู้คน การเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพและเพียงพอ รวมถึงบริการด้านสุขภาพ

รายงานยังระบุด้วยว่า โลกประสบความล้มเหลวในการสร้างความเข้าใจธรรมชาติทางสังคมของโรคเบาหวาน และประเมินขนาดและภัยคุกคามของโรคเบาหวานต่ำไป

“โรคเบาหวานจะเป็นโรคประจำตัวในห้วงศตวรรษนี้” รายงาน เตือน

อ๋องแนะนำว่า การต่อสู้กับโรคเบาหวาน ต้องมีแผนระยะยาว มีการลงทุน และได้รับความสนใจจากนานาประเทศทั่วโลก