รู้จักทางหลวง กัลกัตตา - กรุงเทพฯ เชื่อมคมนาคมอินเดีย ไปถึงไทย

รู้จักทางหลวง กัลกัตตา - กรุงเทพฯ เชื่อมคมนาคมอินเดีย ไปถึงไทย

ทางหลวงกัลกัตตา - กรุงเทพฯ หนึ่งในตัวเปลี่ยนเกมเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลเพื่อความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจหลายภาคส่วน หรือ BIMSTEC และเป็นทางหลวงไตรภาคีเชื่อมต่ออินเดียไปจนถึงไทย ซึ่งเตรียมเปิดใช้ใน 4 ปีข้างหน้า

รัฐมนตรีพาณิชย์ และผู้แทนจากประเทศสมาชิกบิมสเทค ประกอบด้วยบังกลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา ไทย ภูฏาน และเนปาล กล่าวระหว่างการประชุมร่วมกับหน่วยงานเอกชน และหอการค้าอินเดีย ซึ่งต่างยืนยันว่า ถนนทางหลวงสายนี้พร้อมเปิดใช้งานในอีก 3 - 4 ปีข้างหน้า

ทางหลวงไตรภาคีแห่งนี้ มุ่งเชื่อมต่อคมนาคมที่ไร้รอยต่อระหว่างอินเดียและไทย ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคครอบคลุมหลายประเทศ  มุ่งยกระดับ และปฏิวัติศักยภาพโลจิสติกส์และการค้า ซึ่งคาดว่า ถนนทางหลวงกัลกัตตา - กรุงเทพฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับทุกประเทศที่ถนนแห่งนี้ผ่าน 

ทางหลวงไตรภาคีขนาดใหญ่แห่งนี้ เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ และครอบคลุมเมืองต่างๆ เช่น สุโขทัย แม่สอดของไทย ไปยังมัณฑะเลย์ ย่างกุ้ง กะเลวา และตามูในเมียนมา รวมทั้งเมืองต่างๆ ของอินเดีย ซึ่งจะผ่านเมืองโคอิมา โมเรห์ ศรีรัมปุระ กูวาฮาติ โกลกาตา และสิลิกูรี โดยครอบคลุมระยะทางรวมประมาณ 2,800 - 2,820 กิโลเมตร ซึ่งถนนทางหลวงสายนี้ มีระยะทางยาวมากที่สุดในอินเดีย และระยะทางสั้นที่สุดในไทย 

*ตัวเปลี่ยนเกมเชื่อมโยงระดับภูมิภาค

การก่อสร้างถนนทางหลวงกัลกัตตา - กรุงเทพฯ ถือเป็นก้าวสำคัญในความพยายามยกระดับเชื่อมโยงและกระชับสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดีย - ไทย รวมทั้งเครือข่ายถนนหนทางขนาดย่อยมากที่สุด และเมื่อไฮเวย์แห่งนี้สร้างเสร็จแล้ว จะเปิดโอกาสการขนส่งมากมาย เพื่อส่งเสริมการค้า และการท่องเที่ยวในภูมิภาค

*เชื่อมการค้า - หนุนเติบโตทางเศรษฐกิจ

เมื่อถนนทางหลวงกัลกัตตา-กรุงเทพฯ สร้างเสร็จสมบูรณ์ คาดสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการค้า และเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างมาก ขณะเดียวกัน ยังช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าลงอย่างมาก นอกจากนี้ ช่วยส่งเสริมการค้าทวิภาคีระหว่างอินเดียและไทย ถือเป็นการยกระดับการค้าการลงทุนข้ามพรมแดน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ 

*อีก 4 ปีเปิดใช้ไฮเวย์เชื่อมไทย - อินเดีย

ตามรายงานล่าสุด ถนนทางหลวงกัลกัตตา - กรุงเทพฯ จะเปิดให้บริการแก่สาธารณชนภายในสี่ปีข้างหน้า ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งมือเต็มสูบให้แน่ใจเสร็จทันเวลา 

*ส่งเสริมท่องเที่ยว แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

ทางหลวงสายกัลกัตตา - กรุงเทพฯ ไม่เพียงแต่เป็นผู้เปลี่ยนเกมทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพมหาศาล ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่เชื่อมต่อกันด้วย เมื่อการเดินทางสามารถเข้าถึงได้ และสะดวกสบายมากขึ้น คาดว่าการท่องเที่ยวระหว่างอินเดีย และไทยจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ทางหลวงสายนี้จะอำนวยความสะดวกในการสำรวจภูมิประเทศที่หลากหลาย สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และสมบัติทางวัฒนธรรม ส่งเสริมความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และความชื่นชมระหว่างกัน

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์