WHO เปิดจุดเสี่ยง - อาการ - รักษาระยะเริ่มต้น “ฝีดาษลิง”

WHO เปิดจุดเสี่ยง - อาการ - รักษาระยะเริ่มต้น “ฝีดาษลิง”

"โรคฝีดาษลิง" ได้กลับมาระบาดในคนอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ ติดเชื้อรายแรกในคองโก ล่าสุดองค์การอนามัยโลก เผยจุดเสี่ยงติดเชื้อ แต่ข่าวดีคือ ยาฆ่าเชื้อทั่วไปรักษาในระยะเริ่มต้นได้

การกำจัดไข้ทรพิษทั่วโลกเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการสาธารณสุข ในการเอาชนะโรคนี้ที่เป็นสาเหตุการตาย ตาบอด และแผลตามร่างกายที่คุกคามมนุษยชาติมาอย่างน้อย 3,000 ปี

แม้การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ โรคอีสุกอีใส รวมถึงโรคฝีดาษลิงจะสิ้นสุดลงแล้วในหลายแห่งทั่วโลก ขณะที่ การแพร่เชื้อจากสัตว์ไปสู่มนุษย์ในแอฟริกาพบบ่อยเพิ่มมาก นับขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 

เมื่อเร็วๆ นี้ โรคฝีดาษลิงได้จุดการระบาดในยุโรปและอเมริกาเหนือ แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าเชื้อที่แพร่ระบาดในประเทศหนึ่งสามารถกลายเป็นปัญหาระดับนานาชาติได้

*จุดค้นพบโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 เมื่อมีการระบาดของโรคคล้ายฝีดาษในลิงที่เก็บไว้เพื่อการวิจัย ซึ่งลิงอ่อนไหวต่อเชื้อไวรัสที่ชื่อ Orthopoxvirus  เช่นเดียวกับมนุษย์  รวมถึงไวรัส variola ต้นเหตุไข้ทรพิษ ซึ่งนำไปใใช้ในวัคซีนไข้ทรพิษ และไวรัสฝีดาษ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยข้อมูลว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อน้อยกว่าไข้ทรพิษ แต่อาการจะรุนแรงกว่า ผู้ป่วยไข้ทรพิษประมาณ 30% เสียชีวิต ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคฝีในลิงในช่วงเวลาไม่นานนี้อยู่ที่ประมาณ 3 - 6 %

*จุดเริ่มอาการโรคฝีดาษลิง 

หลังจากระยะฟักตัวโดยปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเริ่มมีอาหารไข้ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า และมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่อื่นๆ โรคไข้ทรพิษลิงทำให้เกิดอาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองต่างจากไข้ทรพิษอื่นๆ 

ภายในไม่กี่วันหลังมีไข้ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้น มักเริ่มที่ใบหน้าแล้วลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แผลจะผุดตามร่างกายเป็นตุ่มหนอง จากนั้นจะตกสะเก็ด หากเกิดรอบดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอ้างข้อมูล WHO ระบุว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อตั้งแต่เริ่มมีอาการจนตกสะเก็ด พบว่า ผู้ป่วยบางรายมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ และผื่นที่คล้ายกับซิฟิลิส หรือเริม โรคงูสวัด และการติดเชื้ออื่นๆ

*จุดเสี่ยงติดโรคฝีดาษ

ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุว่าเชื้อไว้มาจากไหนที่ชัดเจน อาจพบในอ่างเก็บน้ำหรือพาหะหลักของโรคฝีดาษ แม้ว่าจะสงสัยว่าหนูมีส่วนในการแพร่เชื้อก็ตาม

ในการพบการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงครั้งแรกในมนุษย์ ในปี 1970 ในเด็กชายชาวคองโก วัย 9 ขวบ ตั้งแต่นั้นมาก็พบการติดเชื้อในมนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นผู้อาศัยในพื้นที่ป่าดิบชื้นของภาคกลางและแอฟริกาตะวันตก

ต่อมาในปี 2003 มีการระบาดครั้งแรกนอกแอฟริกาเกิดขึ้นในสหรัฐ และเชื่อมโยงกับสัตว์ที่นำเข้าจากกานาไปยังเท็กซัส ซึ่งต่อมาติดเชื้อในตัวแพรรีที่นำไปเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในครั้งนั้นพบผู้ป่วยหลายสิบราย

*โรคฝีดาษลิงแพร่เชื้ออย่างไร

WHO ระบุ โรคฝีดาษลิงไม่แพร่กระจายเชื้อระหว่างคนง่ายๆ แต่การสัมผัสกับไวรัสจากสัตว์ คน หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเป็นช่องทางหลักที่ทำให้ติดเชื้อได้ 

"ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่แห้งแตก หรือทางเดินหายใจ หรือเยื่อเมือกในตา จมูก หรือปาก" ข้อมูล WHO ระบุ

สิ่งสำคัญในระยะแรกการติดเชื้อเริ่มต้น ยาฆ่าเชื้อทั่วไปในบ้านสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโรคฝีดาษลิงได้