เปิดความเห็นอนุฯเทคโนโลยี ฉายฉากทัศน์ 5 เงื่อนไขดีลทรู-ดีแทค

เปิดความเห็นอนุฯเทคโนโลยี ฉายฉากทัศน์ 5 เงื่อนไขดีลทรู-ดีแทค

ตั้งสมมติฐานบนโมเดลมททางเทคโนโลยีทั้งหมด ว่า 5 ปีต่อจากนี้ ทั้งในด้านของ Supply และ Demand โดยกำหนดสูตรคำนวณตัวแปรต่างๆ และใช้สมมติฐานจากที่ระบุข้างต้นนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านของบริการ การรวมธุรกิจ และไม่ให้รวมธุรกิจ ในดีลทรู-ดีแทค

ผู้สื่อข่าวรายงาน อนุกรรมด้านเทคโนโลยี ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้คณะอนุกรรมการความเห็นด้านคณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี นำเสนอความเห็นด้านเทคโนโลยีในการขอรวมธุรกิจระหว่างบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) โดยได้นำเอากรณีศึกษาของต่างประเทศด้านเทคโนโลยีมาพิจารณา ดังนี้

1.การรวมธุรกิจระหว่างบริษัท T-Mobile และบริษัท Sprint ในประเทศสหรัฐอเมริกา 2.การรวมธุรกิจระหว่างบริษัท Rogers และบริษัท Shaw ในประเทศแคนาดา และ 3. การรวมธุรกิจระหว่าง Celcom และ Digi ในประเทศมาเลเซีย

ส่วนการรวมธุรกิจภายในประเทศที่ผ่านมา ได้แก่ การรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ที่โอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการรวมธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากกรณีการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ดังนั้น คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี จึงไม่ได้พิจารณากรณีศึกษาภายในประเทศนี้

โดยได้วิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี พิจารณากรณีศึกษาของต่างประเทศและในประเทศ และเปรียบเทียบบริการโทรคมนาคมของทรูและดีแทค แล้ว พบว่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการโทรคมนาคมที่มีผู้ประกอบการเพียง 4 ราย มีการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ซึ่งมีมูลค่าสูง และเลขหมายโทรคมนาคม
 

ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี จึงเห็นควรวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม 4 รายของไทย คือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที รวมถึง วิเคราะห์ในด้านของบริการ และเลขหมายโทรคมนาคมเพื่อจัดทำความเห็นเสนอ กสทช. ต่อไป

ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี มีดังนี้ 1.ตั้งสมมติฐานของรูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจและการครอบครองคลื่นความถี่ของแต่ละบริษัท ในระยะเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงคลื่นความถี่ที่หมดอายุ 2.คำนวณและวิเคราะห์เปรียบเทียบ Capacity ของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการแต่ละราย

ทั้งในด้านของ Supply และ Demand โดยกำหนดสูตรคำนวณตัวแปรต่างๆ และใช้สมมติฐานจากที่ระบุข้างต้นนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านของบริการ กรณีให้รวมธุรกิจ และไม่ให้รวมธุรกิจสิเคราะห์เกี่ยวกับเลขหมายโทรคมนาคม

เปิดความเห็นอนุฯเทคโนโลยี ฉายฉากทัศน์ 5 เงื่อนไขดีลทรู-ดีแทค

โดยผลพิจารณาผลการวิเคราะห์ในข้อ ขอเรียนเสนอความเห็น ดังนี้

กรณี "ไม่อนุญาต" ให้ทรูและดีแทครวมธุรกิจ

1.หากไม่อนุญาตให้ทรูและดีแทครวมธุรกิจ และไม่มีการประมูล คลื่นความถี่เพิ่มเติมอาจส่งผลให้บริษัทดีทีเอ็นมีคลื่นความถี่และความจุโครงข่ายต่าลง ซึ่งอาจส่งผลถึง ความสามารถในการรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ ทำให้ดีทีเอ็นจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของ คลื่นความถี่และโครงข่าย หากต้องการประกอบกิจการต่อไป

2. เพื่อเพิ่มความจุในการรับส่งข้อมูลให้สามารถรองรับความต้องการในอนาคตได้ ผู้ประกอบการอาจพิจารณาขยายโครงข่ายเพิ่มเติม ลงทุนเพิ่มเพื่อใช้เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นความถี่ได้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หรือเทคโนโลยีที่เปิดให้สามารถร่วมใช้คลื่นความถี่ข้ามผู้ประกอบการ เช่น เทคโนโลยี Multi-Operator Core Networks (MOCN) หรือ Multi-Operator Radio Access Network (MORAN) เป็นต้น

3.เพื่อให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคม สามารถบริหารจัดการความจุในการรับส่งข้อมูลเพื่อ รองรับการเติบโตในอนาคต กสทช. อาจเห็นสมควรให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมาย โดยเปิดให้ผู้ประกอบการต่างรายสามารถร่วมใช้คลื่นความถี่เดียวกันประกอบกิจการโทรคมนาคมได้

4.หากดีแทคมิได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการลงทุนพัฒนารูปแบบการให้บริการรูปแบบ อื่นๆ ต่อยอด โดยคงมีบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการพื้นฐานเพียงบริการเดียว ดีแทคก็อาจจะเกิด ข้อเสียเปรียบในการแข่งขันมากขึ้น

5.การเกิดนวัตกรรมหรือบริการในรูปแบบใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทพึงควรจะดาเนินการ เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาด หรือเป็นมาตรการที่ กสทช. ควรส่งเสริม ซึ่งมิได้ขึ้นอยู่กับการรวมธุรกิจแต่อย่างใด

กรณี "อนุญาต" ให้ทรูและดีแทครวมธุรกิจได้

1.การรวมธุรกิจในลักษณะที่เปิดให้ทียูซีและดีทีเอ็นสามารถร่วมใช้คลื่นความถี่ ได้จะช่วยบรรเทาการขาดแคลนความจุของโครงข่ายของดีทีเอ็น (เดิม) ได้ และอาจส่งผลให้ความต้องการ คลื่นความถี่ระยะสั้นลดลง ทาให้ไม่เกิดการใช้คลื่นความถี่อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม หากมีรูปแบบการประยุกต์ใช้งานใหม่ซึ่งทำให้สัดส่วนการใช้งานของประชากร (Activity Factor) สูงขึ้น จะส่งผลให้ความจุของโครงข่ายของทุกบริษัทไม่เพียงพอต่อการใช้งานในระยะยาว หากไม่มีการจัดสรร หรือประมูลคลื่นความถี่เพิ่มเติม รวมทั้งการขาดแคลนความจุคลื่นความถี่

2.การรวมธุรกิจกันระหว่างทรูและดีแทคโดยเปิดให้สามารถรวมทรัพยากร ที่ถือครองเดิมได้ จะส่งผลให้เกิดการประหยัดเชิงขนาด และลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน แต่จากกรณีศึกษาใน ต่างประเทศ จะไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผู้ประกอบการใหม่หลังจากการรวมธุรกิจจะมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อ เพิ่มคุณภาพการให้บริการต่อผู้บริโภค

จึงอาจมีความจำเป็นที่ กสทช. ต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการกากับ ดูแลให้มีการลงทุนเพิ่มเติมในการขยายโครงข่าย และยกระดับคุณภาพของการให้บริการ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้น ให้คู่แข่งในตลาดยกระดับการขยายโครงข่าย และคุณภาพของการให้บริการเพื่อให้สามารถแข่งขันกันได้

3.การรวมธุรกิจกันระหว่างทรูและดีแทคอาจเป็นการส่งเสริมศักยภาพการ แข่งขันในแง่ของรูปแบบการให้บริการอื่นของบริษัท NewCo เนื่องจากมีทรัพยากรพื้นฐาน (bandwidth) ที่ เพิ่มขึ้น และฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจาก Bundle services ในส่วนของดีแทคเดิม แต่ก็เป็นการลดทางเลือก ของผู้บริโภคในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ลง เพราะเหลือผู้ให้บริการเพียง 2 ราย

4.การรวมธุรกิจกันระหว่างทรูและดีแทคอาจเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ เกิดการพัฒนาและแข่งขันทางเทคโนโลยีและบริการใหม่ๆ ได้ โดยการกาหนดเป็นเงื่อนไขในการรวมธุรกิจว่า บริษัท NewCo ต้องเร่งดาเนินการลงทุนพัฒนาโครงข่ายให้สามารถรองรับเทคโนโลยีและบริการรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับรูปแบบการให้บริการในลักษณะการให้บริการ enterprise รวมถึง รูปแบบการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Edge Computing ได้ แต่มิใช่ปัจจัยหลักที่เกิดจากการวมธุรกิจ

5.ในกรณีที่การรวมธุรกิจโดยดำเนินการรวม Core Network ของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน ควรมีการกำหนดมาตรการส่งเสริม หรือสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยน SIM Card ให้เครื่องลูกข่ายทั้งหมด เชื่อมต่ออยู่บนโครงข่ายที่ใช้ Network Code เดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่เครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อเข้า กับ Core Network เดิมซึ่งถูกยกเลิกไปจะมีสถานะเสมือนเป็นลูกข่ายโรมมิ่ง (Roamer) และอาจได้รับคุณภาพ การให้บริการที่ต่ำกว่าลูกข่ายปกติ

โดย กสทช. อาจพิจารณากำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจัดทำแผนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว อย่างละเอียดและเป็นรูปธรรมเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้ใช้บริการให้มากที่สุด