10 ดีพเทคสตาร์ทด้านอวกาศและอากาศยานจากเอ็นไอเอ

10 ดีพเทคสตาร์ทด้านอวกาศและอากาศยานจากเอ็นไอเอ

เอ็นไอเอ เปิดรายชื่อ 10 ดีพเทคสตาร์ทด้านอวกาศและอากาศยาน ที่ผ่านมาคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการ Space Economy : Lifting Off 2023

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ประกาศ 10 ดีพเทคสตาร์ทอัพด้านเศรษฐกิจอวกาศ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Space Economy: Lifting Off 2023

เพื่อมาช่วยเติมเต็มความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยานของไทยให้เติบโตขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ (SpaceTech) และอากาศยาน (Aviation)

ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนถึงผู้ที่มีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งานหรือมีการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์แล้วใน 4 หัวข้อ คือ 1) Upstream  2) Downstream 3) Aerospace 4) Others เทคโนโลยีอื่นที่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยาน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า โครงการ Space Economy : Lifting Off ” เป็นโครงการที่ NIA ริเริ่มขึ้นร่วมกับโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium)

10 ดีพเทคสตาร์ทด้านอวกาศและอากาศยานจากเอ็นไอเอ

เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมอวกาศและอากาศยานของประเทศไทย ผ่านการบ่มเพาะพัฒนาขีดความสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกด้านอวกาศและอากาศยาน

รวมถึงเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการนำเอาทรัพยากรในอุตสาหกรรมอวกาศไปใช้อย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้เศรษฐกิจและสังคม

โครงการได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยดีพเทคสตาร์ทอัพทั้ง 10 ราย ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ได้แก่

1. ทีม AIRG​: WIG craft เครื่องบินลูกผสมระหว่างยานเบาะอากาศกับอากาศยานเพื่อการขนส่งระหว่างเกาะและชายฝั่ง (Albatross II) ด้วยปีก ประสิทธิภาพสูงและโครงสร้างที่เบาแต่แข็งแรง

2. ทีม DevDroneMapper (DDM): Land Credit ระบบประเมินที่ดินเกษตรเป็นสินเชื่อด้วยเทคโนโลยีอวกาศและ AI

3. ทีม CiiMAV​​: Multi Environtment UAS ชุดอากาศยานไร้คนขับเพื่อภารกิจหลากสภาพแวดล้อม

4. ทีม EarthMove​: ประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมโดยการบูรณาการเทคนิค GPS และ InSAR ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน เพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติ

10 ดีพเทคสตาร์ทด้านอวกาศและอากาศยานจากเอ็นไอเอ

5. ทีม iCreative Systems: ผู้ให้บริการครบวงจรโซลูชันและการรวบรวมข้อมูลดิจิทัลอย่างมืออาชีพ ทั้งทางภาคพื้นและอากาศ ผ่านระบบ UAS และ LiDAR

6. ทีม MUT Space Maker​​: MUT Sat In Space พื้นที่สร้างสรรค์เทคโนโลยีดาวเทียมขนาดเล็กร่วมกันสำหรับทุกคน ที่สามารถเลือกการเรียนรู้เฉพาะทาง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนา subsystem และดาวเทียม

7. ทีม Siam Airspace Innovation: การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจสอบสภาพแผงโซลาร์เซลล์ในระดับอุตสาหกรรม

8. ทีม Spacedox HAPs​​: พัฒนาการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์และ internet ผ่าน balloon

9. ทีม Ultimate Drone Solution: โดรนอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ใช้ AI ในการประมวลผลเส้นทางการบิน และ ในการประมวลผลลัพธ์ที่ได้จากการบิน

10.ทีม VEKIN: AI carbon auditor ตรวจวัดการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคโนโลยี satellites

ทั้งนี้ สตาร์ทอัพทั้ง 10 ทีม ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการบ่มเพาะ และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหน่วยงานพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอวกาศ ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน

ถือเป็นโอกาสสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ และเติมเต็มศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี โดยตลอดโครงการทุกทีมจะได้คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานหลักที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยและต่างประเทศ

รวมถึงได้รับคำแนะนำแบบทีมต่อทีมกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โอกาสทำงานและรับโจทย์จากหน่วยงานพันธมิตร

จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด และเชื่อมต่อกับนักลงทุนและภาคธุรกิจที่สนใจสร้างความร่วมมือ

ตลอดจนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ร่วมกันทั้งในประเทศและระดับสากล.