'แคสเปอร์สกี้' เปิด KUMA บล็อกภัยไซเบอร์โจมตีไทย

'แคสเปอร์สกี้' เปิด KUMA บล็อกภัยไซเบอร์โจมตีไทย

แต่ละปี “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งตัวเลขการตรวจจับอาจมีลดลง ทว่าความรุนแรงไม่เคยแผ่วลงแม้แต่น้อย...

KEY

POINTS

  • ปี 2566 ไทยถูกโจมตีภัยคุกคามทางเว็บมากกว่า 12.92 ล้านรายการ หรือ เฉลี่ย 35,400 รายการต่อวัน
  • การติดมัลแวร์จากอุปกรณ์ออฟไลน์มี 22.26 ล้านรายการ เฉลี่ย 61,000 รายการต่อวัน
  • อันตรายจากฟิชชิง การหลอกลวง การละเมิดข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจทางภูมิศาสตร์การเมือง ยังคงมุ่งเป้าหมายไปที่องค์กรและบุคคลทั่วไป

แต่ละปี “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งตัวเลขการตรวจจับอาจมีลดลง ทว่าความรุนแรงไม่เคยแผ่วลงแม้แต่น้อย...

แต่ละปี “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งตัวเลขการตรวจจับอาจมีลดลง ทว่าความรุนแรงไม่เคยแผ่วลงแม้แต่น้อย...

แคสเปอร์สกี้ เผยถึงภัยคุกคามที่มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทยว่า ปี 2566 สามารถบล็อกภัยคุกคามทางเว็บได้มากกว่า 12.92 ล้านรายการ หรือ เฉลี่ย 35,400 รายการต่อวัน และบล็อกการติดมัลแวร์จากอุปกรณ์ออฟไลน์ได้ 22.26 ล้านรายการ เฉลี่ย 61,000 รายการต่อวัน

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เผยว่า เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แม้แต่ระบบปฏิบัติการที่ปลอดภัยที่สุดก็อาจถูกบุกรุกได้ เนื่องจากผู้ก่อภัยคุกคามอย่าง APT พัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องและค้นหาจุดอ่อนใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์

อย่างที่ไม่ต้องคาดเดาสำหรับปีนี้ภัยไซเบอร์ยังคงทวีความรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้คาดการณ์ว่า ภาพรวมภัยคุกคามจะได้รับแรงผลักจากความเคลื่อนไหวด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภูมิภาค

แคสเปอร์สกี้พบว่า ส่วนใหญ่มาจากอันตรายจากฟิชชิง (phishing) การหลอกลวง (scams) การละเมิดข้อมูล (data breaches) และการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitically-motivated cyberattacks) และยังคงมุ่งเป้าหมายไปที่องค์กรและบุคคลทั่วไป

\'แคสเปอร์สกี้\' เปิด KUMA บล็อกภัยไซเบอร์โจมตีไทย เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ผู้ก่อภัยคุกคามใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้นในการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายที่ซับซ้อน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถตรวจสอบกิจกรรมเครือข่าย จัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยของระบบ

รวมไปถึง การจัดหาเครื่องมือล่าสุดให้กับพนักงานและทีมเทคนิคเพื่อจดจำและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น พร้อมสำหรับการแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที

ล่าสุด แคสเปอร์สกี้ ประกาศเปิดตัวโซลูชันซอฟต์แวร์ครบวงจรที่ประกอบด้วยชุดฟังก์ชันสำหรับการติดตามและจัดการเหตุการณ์คุกคามทางไซเบอร์ “Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform” หรือ “KUMA” เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ปลอดภัยในโลกไซเบอร์สเปซที่สอดคล้องกับการเปิดรับดิจิทัลไลเซชัน

หวังว่าจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในการจัดการเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนด้วยการตรวจจับและการตอบสนองที่ไม่มีใครเทียบได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของไซเบอร์สเปซของประเทศไทย

ย้อนกลับไปในเดือนมิ.ย. ปี 2566 ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้ค้นพบแคมเปญ APT (Advanced Persistent Threat) บนมือถือ ขณะเดียวกันก็ตรวจสอบการรับ-ส่งข้อมูลเครือข่าย Wi-Fi ของแคสเปอร์สกี้โดยใช้ KUMA

จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม นักวิจัยของบริษัทพบว่าผู้ก่อภัยคุกคามกำหนดเป้าหมายอุปกรณ์ไอโอเอสของพนักงานหลายสิบคน โดยกระจายช่องโหว่แบบซีโร่คลิกผ่าน iMessage เพื่อเรียกใช้มัลแวร์ควบคุมอุปกรณ์และข้อมูลผู้ใช้อย่างสมบูรณ์

รายงานเรื่อง eConomy SEA 2023 คาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะสร้างรายได้ 1 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้

ในแง่ของมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ระหว่างปี 2566 ถึง 2573 โดยคาดว่ามูลค่า (GMV) จะสูงถึง 100 - 165 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 49 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 และ 36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566