อย่าปล่อยผ่านเรื่องนี้ !!! เปิด 10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ 'ChatGPT ในองค์กร'

อย่าปล่อยผ่านเรื่องนี้ !!! เปิด 10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ 'ChatGPT ในองค์กร'

การมาของ Chat GPT หรือแชทบ็อทอัจฉริยะ ที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง Chat GPT สร้างกระแสตื่นตัวไปยังแวดวงไอทีทั่วโลก หลายคนเคยคุยกับ ChatGPT หลายองค์กรเริ่มใช้ บางคนชอบ หลายองค์กรยังตั้งคำถาม ETDA เปิด 10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ ChatGPT สำหรับองค์กร

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA เปิด10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ ChatGPT แนวปฏิบัติเบื้องต้นในการใช้ ChatGPT สำหรับองค์กร

 

10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ 'ChatGPT ในองค์กร

1. คำตอบจาก ChatGPT อาจไม่ถูกต้อง 100% แม้ว่าโดยส่วน ใหญ่แล้วข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ ChatGPT ตอบกลับมาจะดูสมเหตุสมผลได้อย่างน่าทึ่งก็ตาม ประเด็นหลักที่ควรคำนึง คือ การที่ ChatGPT ให้คำตอบเหมือนกับเป็นมนุษย์ที่มี คลังข้อมูล ความรู้เทียบเท่ากับสารานุกรมโลก อาจทำให้ผู้ใช้หลงคิดว่า ข้อมูลที่ได้นั้นน่าจะถูกต้องเชื่อถือได้

ดังนั้น ผู้ใช้ ควรตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาอีกครั้งจากแหล่งอ้างอิงอื่นด้วย [จากข้อมูลของ Australian National University ได้ทำการ ประเมินว่า ChatGPT ตอบคำถามแบบคาดเดากว่า 15 - 21%

2. เวอร์ชันปัจจุบันของ ChatGPT ยังไม่สามารถระบุ แหล่งที่มาของข้อมูลได้ จึงไม่ควรนำคำตอบที่ได้ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะในงานที่ต้องการความถูกต้องของข้อมูลอย่าง สูง เช่น งานทางด้านวิชาการ เป็นต้น

อย่าปล่อยผ่านเรื่องนี้ !!! เปิด 10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ \'ChatGPT ในองค์กร\'

3. จากข้อมูลของผู้พัฒนา ChatGPT คือ บริษัท OpenAI แจ้งไว้ว่า ข้อมูลที่นำมาใช้พัฒนา ChatGPT ถึงปี 2021 ดังนั้น ควรตระหนักว่าคำตอบจะไม่ครอบคลุมข้อมูลที่ เกิดขึ้นหลังปี 2021

4. การพัฒนา ChatGPT เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น บทความ หนังสือ วิกิพิเดีย ไปจนถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ มาสอนระบบ AI ของ ChatGPT จึงไม่สามารถการันตีได้ ว่า คำตอบที่ได้จะไม่มีอคติ(Bias) และนำไปสู่การเลือก ปฏิบัติหรือสร้างความไม่ยุติธรรม ผู้ใช้จึงควรตรวจสอบ คำตอบว่ามีประเด็นที่เป็น Bias หรือไม่

5. การให้บริการ ChatGPT มีทั้งแบบเสียเงินและใช้ฟรีซึ่ง แน่นอนว่าการใช้แบบเสียเงินจะได้รับคำตอบที่รวดเร็วกว่า ในเวลาที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กัน และสามารถใช้งานฟังก์ชัน ใหม่ๆ ได้ ผู้ใช้ควรคำนึงถึงเงื่อนไขการใช้งานด้วยว่า ควร จะใช้บริการ ChatGPT แบบใดที่เหมาะกับงานและความคุ้ม ค่าที่จ่ายไป

6. การตั้งคำถาม (Prompts) เพื่อให้ ChatGPT ตอบ ถ้าไม่กำหนดกรอบคำถามให้ชัดเจนแล้ว ผู้ใช้อาจจะได้ คำตอบที่กว้างมากจนไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ผู้ใช้ ควรตั้งคำถามที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คำตอบที่ตรงกับความ ต้องการ เช่น เลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย ให้รายละเอียดที่ ชัดเจน ใช้ตัวอย่างช่วยถาม เลี่ยงคำกำกวม ใช้คำเดียวกัน เหมือนกันทุกข้อความ เป็นต้น

7. เนื่องจาก ChatGPT เป็นการใช้Language model ดังนั้น สิ่งที่ ChatGPT สร้างขึ้นมาเป็น response เกิดจาก การใช้ Language model ซึ่งควรตระหนักว่าอาจจะไม่มีส่วนที่ สะท้อนความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบุคคล

8. จากที่ผู้พัฒนา ChatGPT แจ้งว่ามีการใช้ข้อมูลภาษาไทย ในการพัฒนา ChatGPT ในอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบ กับภาษาอังกฤษ จึงทำให้การตั้งคำถามโดยใช้ภาษาไทย อาจจะได้คำตอบที่ไม่ครบถ้วน จึงแนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษ ในการตั้งคำถาม

9. การใช้ ChatGPT โดยการป้อนข้อมูลสำคัญขององค์กร หรือเอกสารส่วนตัวของผู้ใช้เองเพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องหรือขอค าแนะนำเพื่อปรับปรุงเอกสารนั้น ผู้ใช้ควร ระวังในการให้ข้อมูลที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ระบบ เช่น ข้อมูล ส่วนบุคคล หรือข้อมูลความลับขององค์กร จึงไม่ควรใช้ ChatGPT กับข้อมูลในลักษณะนี้เด็ดขาด

10. การพัฒนา ChatGPT ที่ผ่านมา มีการอัพเดต ความสามารถของระบบและเงื่อนไขในการใช้งานอยู่ ตลอดเวลา ผู้ใช้ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

 

 

ที่มา : ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ โดย สพธอ. (AI Governance Clinic by ETDA) https://www.etda.or.th/th/Our-Service/AIGC/index.aspx