เปิดเอกสาร 'กฤษฎีกา' 5 หน้า ยืนตามเดิมไม่ออกความเห็น "ดีลทรูดีแทค"
กฤษฎีกาคณะ 1 ร่อนเอกสารลับ 5 หน้า ยืนตามเดิม ระบุข้อคำถาม 6 ประเด็นที่สนง.กสทช.ขอให้ตีความดีลทรู-ดีแทค ไม่อาจให้ความเห็นได้ เพราะการใช้ดุลยพินิจ-อำนาจ กำหนดมาตรการเงื่อนไขเป็นอำนาจ กสทช.เอง ลุ้นดีลควบรวมทรู-ดีแทคได้ไปต่อหรือไม่ 5 ต.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 ก.ย.) มีเอกสารลับบันทึกสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง อำนาจดำเนินการของ กสทช. ในการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ส่งถึงนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการกสทช.ลงนามโดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการกฤษฎีกา จำนวน 5 หน้า
โดยมีใจความระบุว่า ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ลับ ลงวันที่ 5 กันยายน 2565 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาและเห็นชอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ก. และบริษัท ข. ตามที่สำนักงานกสทช. ร้องขอรวม 6 ประเด็น
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักงาน กสทช. โดยมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการแช่งขันทางการค้า และผู้แทนสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ชี้แจงขัอเท็จจริงแล้ว เห็นว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้มี กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุทรทัศน์ และกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม
โดยในการกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้น พระราซบัญญัติตังกล่าวและพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้ กสทช. มีหน้าที่ และอำนาจกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม แต่ข้อที่หารือมานี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายของ กสทช.
ดังนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่อาจให้ความเห็นในส่วนที่เป็น การใช้ดุลพินิจรวมทั้งการกำหนดมาตรการหรือเงื่อนไขต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่และอำนาจของ กสทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระได้ อนึ่ง โดยที่ข้อเท็จจริงปรากฎตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักงาน กสทซ. ว่า ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม กสทช. ได้ยกประกาศ ฉบับ 5 คือ
(1) ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (ประกาศฉบับปี 2549)
(2) ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถืหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (ประกาศฉบับปี 2553)
(3) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2557 (ประกาศฉบับปี 2557) และ
(4) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศฉบับปี 2561) ซึ่งประกาศฉบับปี 2553 นั้น ได้กำหนดให้การรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับอนุญาตจาก กสาช. ก่อน แต่ต่อมาในปี 2561 กสทช. ได้ออกประกาศ ฉบับปี 2561 ขึ้นโดยยกเลิกประกาศฉบับปี 2553 และกำหนดให้การรวมธุรกิจกระทำได้โดยจัดทำรายงานส่งให้ กสทช.
ซึ่งมีทั้งกรณีที่ต้องรายงานก่อนล่วงหน้าและที่รายงานหลังจากรวมธุรกิจแล้วซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 77 วรรค3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่บัญญัติว่ารัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จำเป็น
นอกจากนี้ เพื่อกำกับดูแลมีให้การรวมธุรกิจ มีผลเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม จึงให้อำนาจ กสทช. ที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับเพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ดังที่ปรากฏตามข้อ 12 ของประกาศฉบับปี 2563
หรือในกรณีที่การรวมธุรกิจนั้นมีลักษณะรวมธุรกิจแล้วตามข้อ 8 ของประกาศฉบับปี 2549 ข้อ 9 ของประกาศฉบับปี 2561 ที่ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นการขออนุญาตไปในตัวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ควบรวมธุรกิจที่จะได้ไม่ต้องยืนคำขอช้ำซ้อนเพราะในกรณีที่เข้าข่ายตามข้อ 8 ของประกาศฉบับปี 2549 กสทช. ก็มีอำนาจอนุญาตตามข้อนั้นได้อยู่แล้ว ดังนั้น การดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการรวมธุรกิจจึงต้องดำเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการใช้อำนาจดังกล่าว กสทช.จะต้องคำนึงถึงความได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคกับการพัฒนากิจการโทรคมนาคมด้วย
ทั้งนี้ ตามข้อ 8 การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน โดยการเข้าซื้อหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อควบคุมนโยบายหรือการบริหารธุวกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อมผ่านตัวแทนจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
โดยผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะเข้าไปถือครองธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่แจ้งแก่คณะกรรมการเพื่อขออนุญาตตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาว่าการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันตามวรรคหนึ่งอางส่งผลให้เกิดการผูกขาต หรือลด หรือจำกัดการแบ่งขันการให้บริการโทรคมนาคม คณะกรรมการมีอำนาจสั่งห้ามได้
ด้านนายไตรรัตน์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (21 ก.ย.) ที่มีการประชุมบอร์ดนั้น คงยังไม่มีการลงมติเรื่องนี้เพราะบอร์ดบางท่านยังติดภารกิจที่ต่างประเทศ และบอร์ดทุกคนเคยระบุไว้แล้วว่าจะต้องอ่านหนังสือจากกฤษฎีกาด้วยตัวเองก่อนจะพิจารณาลงมติใดๆ
"โดยในวันที่ 28 ก.ย.จะไม่มีการประชุมบอร์ดเพราะนายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานบอร์ด นายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ และตัวผมต้องเดินทางไปประชุมต่างประเทศ ดังนั้น การพิจารณาตัดสินดีลนี้น่าจะเกิดขึ้นต้นเดือนต.ค.หรือวันที่ 5 ต.ค.นี้ เพราะความเห็นส่วนตัวไม่จำเป็นต้องนัดประชุมวาระพิเศษ ให้เป็นการประชุมตามรอบปกติ แต่ในท้ายที่สุดบอร์ดจะอนุญาตให้เกิดการควบรวมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคำตัดสินของบอร์ดที่จะเกิดขึ้น" นายไตรรัตน์ กล่าว