"ดาวเทียมแห่งชาติ" ของเล่นใหม่ หรือ ของต้องมี ?

"ดาวเทียมแห่งชาติ"  ของเล่นใหม่ หรือ ของต้องมี ?

ดาวเทียมดวงนี้ จะเป็นกาสร้างดาวเทียมขึ้นใหม่แล้วยิงเข้าสู่วงโคจร ที่ประชุมให้คณะทำงานฯส่งแผนภายใน 60-90 วัน หรือภายในไตรมาส 3 นี้ หลังจากนั้นจะเป็นการพิจารณางบประมาณว่าจะใช้เท่าไร และเป็นดาวเทียมประเภทใด

ทันทีที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ที่มี “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานการประชุมคระกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติครั้งที่ 1/2565 ลงมติให้ตั้งคณะทำงานจัดทำนโยบายการดำเนินงานดาวเทียมแห่งชาติ โดยมีภารกิจเร่งด่วนลำดับแรกคือ สร้าง "ดาวเทียมแห่งชาติ" ต่อไป

โดยรองนายกฯ ระบุถึงความจำเป็นว่า ปัจจุบันข้อมูลดาวเทียมประเภทต่างๆ มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดทิศทางทั้งการจัดสร้างเพื่อให้ประเทศมีดาวเทียมเป็นของตนเอง การสร้างความร่วมมือในการใช้งานข้อมูลดาวเทียม เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ

คาดไตรมาส3ได้เห็นไฟนอล

ด้าน นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ข้ออมูลดาวเทียมตามประเภทของดาวเทียมได้ 5 ประเภท ได้แก่ 1.ดาวเทียมสื่อสาร 2.ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร 3.ดาวเทียมระบุพิกัด 4.ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (พยากรณ์อากาศ) และ 5.ดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบื้องหลังภารกิจส่ง "ผัดกะเพรา" ขึ้นฟ้า และวันข้างหน้าของ "ไทย" ในอวกาศ

ส่วนโครงการดาวเทียมแห่งชาติ คณะทำงานฯจะต้องจัดทำนโยบาย และแผนการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมแต่ละประเภท เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ และส่งเสริมการพัฒนาประเทศ โดยมองว่าประโยชน์จะเกิดในด้านการศึกษาทางการไกล การเกษตร การเฝ้าระวังภัยพิบัติ ซึ่งคณะทำงานฯมีเดดไลน์ 60-90 วัน หรือภายในไตรมาส 3 จะต้องได้ข้อสรุปว่าดาวเทียมนี้ จะเป็นดาวเทียมระยะต่ำ กลาง หรือ ประจำที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด

"ตอนนี้เราให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) รับไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) และไทยคม 6 หลังจากที่บมจ.ไทยคมสิ้นสุดสัมปทาน ดังนั้น ดาวเทียมแห่งชาติต้องมาสรุปว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งให้เอ็นทีดูอีกดวง หรือเปิดการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือPPP)"

\"ดาวเทียมแห่งชาติ\"  ของเล่นใหม่ หรือ ของต้องมี ?

  • รู้จักดาวเทียมที่อยู่บนอวกาศ

โดยปกติดาวเทียมจะแบบออกเป็น 3 ประเภทตามตามระยะความสูงจากโลก หรือตำแหน่งวงโคจร (Orbit) ดังนี้ 

1. วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) อยู่ที่ความสูงประมาณ 500-2,000 กิโลเมตรจากโลก กำลังเป็นที่นิยมเพราะให้บริการสื่อสาร อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่ถูกลง 

2. วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit : MEO) ระยะห่างจากโลก 7,500 กิโลเมตร 

3. วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit : GEO) อยู่สูงจากโลกประมาณ 36,000 กิโลเมตรเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับโลกเคลื่อนที่รอบตัวเอง เราจึงเรียกดาวเทียมนี้ว่าดาวเทียมวงโคจรประจำที่ ซึ่งก็คือไอพีสตาร์ ไทยคม 6 ไทยคม 7 และไทยคม 8

  • ไทยถือสิทธิ "วงโคจร" 14 ไฟลิ่ง

ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า ไทยยังเหลือ 3 ไฟลิ่งที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิวงโคจร ได้แก่ วงโคจร 50.5 องศา 2 ไฟลิ่ง และ 120 องศาตะวันออก อีก 1 ไฟลิ่ง จากทั้งหมดที่มี 14 ไฟลิ่ง ซึ่งไทยคมใช้อยู่ 11 ไฟลิ่ง ได้แก่ วงโคจร 78.5 องศา ใช้ 6 ไฟลิ่ง ใช้กับดาวเทียมไทยคม 5,6,8 วงโคจร 119.5 องศาใช้ 2 ไฟลิ่งกับดาวเทียมไทยคม 4 และวงโคจร 120 องศาตะวันออก ใช้ 3 ไฟลิ่งกับดาวเทียมไทยคม 7

สำหรับตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 119.5 องศาตะวันออก หรือ ดาวเทียมไทยคม 4 ที่จะหมดสัญญาในปี 2566 จึงจะต้องเปิดประมูลเพื่อต่อสัญญาไฟลิ่งไม่ให้ไทยเสียสิทธิในวงจร แต่ในเมื่อขณะนี้เหลือเวลาอีก 1 ปีเศษ จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงมาก ที่การรักษาวงโคจรจะใช้วิธีขอเช่าดาวเทียมจากต่างประเทศที่อยู่ในวงโคจรใกล้เคียงลากมาไว้ในตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออกไปพรางก่อน

  • ดาวเทียมแห่งชาติจำเป็นจริงหรือ

แหล่งข่าวจากกสทช. กล่าวว่า สาเหตุของการสร้างดาวเทียมแห่งชาติก็เพราะต้องการมีดาวเทียมไปอยู่ในไฟลิ่งวงโคจรที่ไม่มีดาวเทียม เพราะการเสียสิทธิวงโคจรนั้นถึงแม้ไม่เท่ากับการเสียอธิปไตยในภาคพื้น แต่ก็คือการเสียสิทธิพื้นที่ในอวกาศ

ส่วนอีกประเด็นคือ รัฐบาลเริ่มมองเห็นความสำคัญในการมีดาวเทียมเพื่อความมั่นคงเอาไว้ใช้งานเอง โดยจะมีผู้ร่วมดำเนินการคือ ดีอีเอส กลาโหม และกองทัพอากาศ 

ดังนั้น คำถามว่า การมีดาวเทียมแห่งชาติเป็นของตัวเองก็ยังไม่สามารถตอบได้อย่างฟันธงว่าจะคุ้มหรือไม่ เพราะต้องดูว่าโมเดลการสร้างดาวเทียมจะเป็น LEO หรือ GEO เพราะถ้าเป็นวงโคจรต่ำก็น่าจะใช้เงินหลัก 100-250 ล้านบาท แต่หากเป็นดาวเทียม GEO ที่มีความเสถียรมากที่สุดต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท 

"เราได้เห็นข่าวการโจมตียูเครนจากรัสเซียโดยถล่มสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานรวมถึงระบบโทรคมนาคมในประเทศ ทำให้รมว.ดิจิทัลยูเครนได้ร้องขอให้อีลอน มัสก์ ส่ง LEO บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่ให้บริการได้ในทุกพื้นที่มาให้แก่ประชาชนยูเครน นี่อาจจะทำให้เป็นตัวเร่งในการสร้างดาวเทียมแห่งชาติก็ได้" 

\"ดาวเทียมแห่งชาติ\"  ของเล่นใหม่ หรือ ของต้องมี ?

  • บทพิสูจน์ฝีมือ NT (อีกครั้ง)

หลังจากที่ ทีโอที และ แคท เทเลคอม รวมกันเป็น NT นั้น เดิม แคท เทเลคอมให้บริการสื่อสารดาวเทียม 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ บริการถ่ายทอดสัญญาณ (Broadcasting) และด้านการสื่อสาร ให้บริการถ่ายทอดสดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในประเทศไปยังต่างประเทศ อาทิเช่น, การแข่งขันกีฬา , การประกวดมิสยูนิเวิร์ส โดยมีรถรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมอย่าง DSNG ไปคอยให้บริการถ่ายทอดสัญญาณ พร้อมกันนี้ยังรองรับการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศและกระจายสัญญาณสู่สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ผ่านสถานีดาวเทียมหลัก เช่น สถานีดาวเทียมนนทบุรี, สถานีดาวเทียมศรีราชา

แต่ในอนาคตเมื่อการใช้งาน 5G แพร่หลายมากขึ้น และเข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรม ดาวเทียม GEO ที่อยู่ระยะไกลทำให้การเดินทางของคลื่นมีความหน่วงของการรับ-ส่งสัญญาณมาก ไม่เหมาะที่จะรองรับระบบ 5G ได้

แต่ระบบดาวเทียมแบบ LEO นี้ อยู่ใกล้พื้นดินและยังมีรูปแบบวงโคจรหมุนรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ จึงทำให้การบริการมีได้ทั่วถึงทุกมุมโลก ซึ่งดาวเทียมชนิดนี้เองจะมาช่วยให้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ทำงานเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยปัจจุบันมีการยิงดาวเทียม LEO สู่วงโคจรมากกว่า 8,000 ดวงแล้ว และหากเอ็นทีสามารถทำให้เห็นว่าบริหารงานได้ นอกเหนือไอพีสตาร์ และไทยคม 6 ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก