'นวัตกรรมเตียงสนามพลาสติก' เครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

'นวัตกรรมเตียงสนามพลาสติก' เครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

'ไออาร์พีซี' ส่ง เตียงสนามพลาสติก POLIMAXX PP และ HDPE คุณสมบัติแข็งแรงทนทาน กันสารคัดหลั่งทำความสะอาดฆ่าเชื้อได้นานต่อเนื่องถึง 2 ปี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สู่โรงพยาบาลสนาม

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่เพียงแต่กระแสน้ำใจของคนไทยทุกภาคส่วนต่างหลั่งไหลเข้ามาช่วยเหลือและให้กำลังใจกันอย่างต่อเนื่อง หากยังรวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพื่อให้เหมาะสมต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยเฉพาะการพัฒนาเตียงสนามในรูปแบบต่างๆ 

นวัตกรรมเตียงสนามในรุ่นแรกๆ ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ เตียงสนามกระดาษซึ่งผลิตจากกระดาษรีไซเคิล ใช้ระยะเวลาในการผลิตรวดเร็ว เหมาะกับการใช้งาน ในโรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้น

เตียงสนามกระดาษ ถือเป็นนวัตกรรมซึ่งเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2011 โดยเตียงกระดาษทำมาจากวัสดุลังกระดาษและพัฒนาขึ้นเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ขณะที่ประเทศไทย เริ่มใช้เตียงกระดาษ สำหรับผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติในหลายเหตุการณ์ เนื่องจากมีจุดเด่นที่สามารถประกอบง่าย ใช้เวลารวดเร็ว ทำให้ตอบสนองความต้องการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที

ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19  มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมาก และประสบปัญหาขาดแคลนเตียง  ซึ่งการผลิตนวัตกรรมเตียงกระดาษที่รวดเร็วสามารถเข้ามาบรรเทาความเดือดร้อนและความต้องการเตียงสนามในจำนวนมากได้

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกับพันธมิตรพัฒนา “นวัตกรรมเตียงสนามพลาสติก” เพิ่มคุณสมบัติพิเศษรองรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีเขียว เสริมความทนทานรองรับน้ำหนักได้มาก ป้องกันสารคัดหลั่งสำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้บ่อยครั้งสำหรับการสับเปลี่ยนหมุนเวียนของผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว

เตียงสนามพลาสติก POLIMAXX  ผลิตจากเม็ดพลาสติก PP และ HDPE มีคุณสมบัติพิเศษ แข็งแรง กันสารคัดหลั่ง สามารถรองรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากถึง 200 กิโลกรัม และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดได้นานต่อเนื่องถึง 2 ปี  สามารถ recycle ได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เตียงสนามพลาสติกยังออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานที่ศูนย์พักคอย และโรงพยาบาลสนาม เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวก ประกอบง่ายใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที สะดวกกับการใช้งานในโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอย

ที่ผ่านมา IRPC ภายใต้โครงการ “We Care by IRPC เราขอเป็นส่วนเล็กๆ ของสังคมไทย ส่งกำลังใจให้คนไทยฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน” ร่วมกับพันธมิตรประกอบด้วย บริษัท ซัคเซส พลาส จำกัด บริษัท อาร์เอ็มซี อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด บริษัท อีสเทิร์น โพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (EPG)  บริษัท โมเดิร์น เฟอร์นิเจอร์ จำกัด และบริษัท ฮาตาริอีคอมเมิร์ซ จำกัด ได้ส่งมอบเตียงสนามพลาสติกและสิ่งของจำเป็น ร่วมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยไปแล้วทั้งสิ้น 7 แห่ง รวมกว่า 700 เตียง

โดยอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักคอยเทศบาลตำบลเชิงเนิน ตำบลบ้านแลง ตำบลเพ และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักคอยเขตบางพลัด เขตพระนคร เขตตลิ่งชันและโรงพยาบาลสนามครบวงจรกลุ่มปตท. และมีแผนส่งมอบให้พื้นที่โซนสีแดงอื่นๆต่อไป

สำหรับสถานการณ์อัตราการครองเตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ข้อมูล จากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข วันที่29 สิงหาคม2564  พบว่ายังมีความต้องการเตียงในรูปแบบต่างๆจำนวนมาก

โดย ห้อง ไอซียู ความดันลบ เตียงทั้งหมด 313เตียง ครองเตียง 340เตียง เตียงว่าง ไม่มี ติดลบ 27เตียง อัตราของเตียงคิดเป็น ร้อยละ 108.6

ห้องดัดแปลงความดันลบ เตียงทั้งหมด 590เตียง ครองเตียง 946ตียง  ไม่มีเตียงว่าง ติดลบ356เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ160.3

ห้องไอซียูรวม เตียงทั้งหมด 576 เตียง ครองเตียง 709เตียง  เตียงว่างไม่มี  ติดลบ133เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ123.1

ห้องแยกโรค  เตียงทั้งหมด 4,725เตียง ครองเตียง 4,628 เตียง  เตียงว่าง97เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ97.9

ห้องสามัญ เตียงทั้งหมด 12,555 เตียง ครองเตียง12,350เตียง  เตียงว่าง205 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ98.4

ส่วน ฮอลพิเทล เตียงทั้งหมด 17,329 เตียง ครองเตียง 14,572 เตียง เตียงว่าง เหลือ 2,757 เตียง  อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละร้อยละ84.1

เตียงสนาม มีเตียงทั้งหมด 5,795 เตียง ครองเตียง 3,728 เตียง เตียงว่าง 2,517 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละ 56.6

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความต้องการเตียงสนามในทุกรูปแบบยังคงมีอีกมากและเชื่อว่า ท่ามกลางวิกฤติ คนไทยไม่ทิ้งกัน ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ให้หายจากอาการเจ็บป่วยได้ในเร็ววัน