‘ยิบอินซอย’ ไขรหัสดิจิทัล รับมือวิถีใหม่ ‘โลกธุรกิจ’

‘ยิบอินซอย’ ไขรหัสดิจิทัล รับมือวิถีใหม่ ‘โลกธุรกิจ’

ใช้เทคโนโลยีช่วยปรับเปลี่ยนหรือสร้างโมเดลธุรกิจเชิงรุก

นอกจากนี้ ผนวกกับการใช้เครื่องมือบูรณาการสื่อสาร(Collaboration Tools) เช่น การประชุมแบบเสมือนผ่านเทคโนโลยีเว็บคอนเฟอเรนซ์ หรือ วีดิโอ คอนเฟอเรนซ์ โซลูชั่นฝึกอบรม และเว็บเทรนนิ่งสำหรับพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยเฉพาะทักษะด้านไอทีซึ่งจำเป็นต่อธุรกิจที่ต้องการไปต่อในยุคนิวนอร์มอล

ปัจจุบัน ช่องทางการค้าและบริการออนไลน์กลายเป็นโมเดลเชิงรุกยุคชีวิตวิถีใหม่ที่องค์กรธุรกิจเลือกใช้ในการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อต่อยอดธุรกิจในปัจจุบัน หรือแทนที่บางสายธุรกิจซึ่งไม่สามารถไปต่อด้วยวิธีเดิมๆ ซึ่งไม่เพียงช่วยชดเชยรายได้ที่หายไปช่วงวิกฤตโควิด-19 ยังสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่เพิ่มโอกาสเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ หรือขยายตลาดได้กว้างไกลกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจเชิงรุก คือ การปรับใช้โครงสร้างเดิมไปเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการใหม่ๆ

อย่างไรก็ดี โมเดลธุรกิจเชิงรุกจำต้องมีโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายและข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการทำงานผ่านคลาวด์ทุกประเภท การรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาจากการใช้งานเอไอ แมชีนเลิร์นนิ่ง ไอโอที ตลอดจนการพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตน (Authentication)ในการขอเข้าใช้งานระบบหรือร้องขอข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยไซเบอร์ และมาตรฐานจริยธรรมทางเทคโนโลยีที่โปร่งใสตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability)

'อไจล์ มายเซ็ต' เพิ่มทางรอด

นครินทร์ ประเมินว่า นับวันกลยุทธ์ด้านลูกค้าสัมพันธ์(ซีอาร์เอ็ม) ยิ่งมีความจำเป็นต่อการนำมาใช้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี หรือสร้างความรู้สึกผูกพันกับสินค้าและบริการ(Customer Engagement) และเมื่อผสมด้วยกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและการสื่อสารแบบออมนิแชนแนลในการเข้าถึงตัวลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายในทุกช่องทางสื่อสารทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียจะยิ่งสร้างกิจกรรมส่งเสริมการขายหลายรูปแบบ

“เพราะการตัดสินใจซื้อของลูกค้าจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพเพียงอย่างเดียว แต่มีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ที่มีต่อสินค้าและบริการนั้นๆ ซึ่งทำให้กลยุทธ์การตลาดที่เกี่ยวพันกับการสร้างความพึงพอใจหรือประสบการณ์ที่ดียิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต”

ท้ายที่สุด องค์กรธุรกิจควรเร่งยกระดับตัวเองสู่การเป็นองค์กรแบบอไจล์ (Agile) ให้พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง โอกาส และความท้าทายใหม่ๆ ที่รออยู่ข้างหน้า

โดยความสำเร็จจะมาจากการบ่มเพาะ “ชุดความคิดแบบอไจล์(Agile Mindset)” ควบคู่กับ “ชุดความคิดแบบดิจิทัล (Digital Mindset)” ทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน เพราะการกระตุ้นให้บุคลากรทุกระดับตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำงานเป็นทีม รวมถึงพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีส่วนสำคัญต่อการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดได้อย่างรวดเร็วในทุกสถานการณ์