’ไอไพรซ์’ เปิดโผ 7 สินค้าขายดีช่วงโควิด-19

’ไอไพรซ์’ เปิดโผ 7 สินค้าขายดีช่วงโควิด-19

เผยอุปกรณ์ป้องกัน-ฆ่าเชื้อโรคขายดีสุด บัตตาเลี่ยน สระว่ายน้ำเป่าลม จักรเย็บผ้า เข้าวินเป็นม้ามืด แต่ระยะหลังเริ่มขายไม่ออก สินค้าล้นสต็อก

ไอไพรซ์ (iPrice) รวบรวมเปอร์เซ็นของสินค้าที่ได้รับการค้นหามากที่สุดจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซกว่า 100 ร้านค้าที่ร่วมขายสินค้าบนเว็บไซต์ www.ipricethailand.com ช่วงระหว่างวันที่ 13 มี.. - 17 เม.. รวม 5 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลักดันให้สินค้าประเภทป้องกันและฆ่าเชื้ออย่างหน้ากากอนามัย, เจลล้างมือ, แอลกอฮอล์ และปรอทวัดไข้กลายเป็นสินค้ายอดฮิต

โดยนอกจากจะหาซื้อได้ยากแล้ว ราคายังพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัว แต่ที่น่าแปลกใจคือมีอีก 3 สินค้าที่เป็นม้ามืดได้แก่ บัตตาเลี่ยน,สระว่ายน้ำเป่าลม และจักรเย็บผ้า ที่ดูไม่น่าจะเป็นที่นิยมได้แต่กลับได้รับความสนใจอย่างมาก

ไอไพรซ์พบว่า บัตตาเลี่ยนเป็นสินค้าที่มีเปอร์เซ็นการค้นหาเพิ่มขึ้นจากปกติถึง 22,333% คนที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ขณะที่สระว่ายน้ำเป่าลมมียอดผู้ค้นหาสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 2,749% โดยเฉพาะช่วงต้นเดือนเม..ไปจนสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ไม่นานวันที่ 17 เม.. เหตุเพราะปีนี้ไทยงดจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลองต่างๆ สระว่ายน้ำเป่าลมจึงเป็นไอเท็มราคาถูกที่ช่วยผ่อนคลายความร้อนและสร้างความบันเทิงได้

สุดท้ายคือจักรเย็บผ้ามียอดการค้นหาเพิ่มขึ้น 2,540% เหตุเพราะไทยประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย ทั้งสำหรับคนทั่วไป รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้คนหันมาเย็บหน้ากากผ้าใช้เอง เพื่อจำหน่าย และบริจาคช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับช่วงวันที่ 17 เม.. - 1 .. 2563 หรือหลังจำนวนเคสใหม่ลดลงได้สองสัปดาห์ คนก็เริ่มสนใจสินค้าเหล่านี้น้อยลง สินค้าที่เคยขายดีก็กลายเป็นขายไม่ออก มีล้นสต็อก ทั้งสระว่ายน้ำเป่าลม จักรเย็บผ้า และบัตตาเลี่ยนเป็นของที่สามารถใช้ซ้ำได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มบ่อยๆ

โดยสรุปตัวเลขโดยเฉลี่ยของการค้นหาโดยรวมของสินค้า 7 อย่างนี้ลดลงมากถึง 97% สระว่ายน้ำเป่าลม หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือมียอดลดลงเป็นอันดับหนึ่งมากถึง 99% ตามติดมาด้วยจักรเย็บผ้า 98% ปิดท้ายด้วยบัตตาเลี่ยน ปรอทวัดไข้ และแอลกอฮอล์ที่มียอดการค้นหาลดลง 97%

158942078648 ’ไอไพรซ์’ เปิดโผ 7 สินค้าขายดีช่วงโควิด-19 เทียบเงินเยียวยารัฐบาลในภูมิภาค

เมื่อรัฐบาลในหลายประเทศประกาศ Lockdown และทำให้ประชาชนขาดรายได้ รัฐจึงได้มอบเงินเยียวยาให้แก่คนในประเทศมากน้อยตามผลกระทบที่ได้รับ โดยฮ่องกงนั้นให้มากที่สุดถึง 10,000 หยวน หรือ 41,000 บาท เพราะมีการระบาดหนักไม่แพ้กับจีน มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน 

รองมาเป็นประเทศไทย 5,000 บาท นาน 3 เดือน (หรืออาจเป็น 6 เดือนตามความรุนแรงของการระบาด) รวมเป็นเงิน 15,000 บาท แม้จะมีข่าวว่างบประมาณในส่วนนี้ยังคงกระจายไม่ทั่วถึงสำหรับคนทั้งประเทศ แต่คาดว่าในเร็ววันนี้อาจมีมาตรการช่วยเหลือที่ดีขึ้น 

ถัดมาคือประเทศสิงคโปร์ที่ประกาศมอบเงิน 600 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือราว 13,500 บาท ให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป และมอบคูปองส่วนลดซื้อของใช้จำเป็นบางส่วนเพิ่มเติม แม้จะมอบจำนวนเงินให้ไม่มาก แต่ด้วยความที่เป็นประเทศขนาดเล็กทำให้สามารถกระจายความช่วยเหลือได้ทั่วถึงมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค 

ส่วนประเทศเวียดนามก็ประกาศมอบเงินเยียวยาให้ 190 ดอลลาร์ หรือราว 6,100 บาท แม้จะไม่มีมาตรการเยียวยามากนัก แต่เพราะคนในประเทศตื่นตัวตั้งแต่ไวรัสแพร่ระบาดใหม่ๆ ประกอบกับรัฐบาลวางแผนป้องกันดีทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุดในภูมิภาค บางวันก็ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มเติม 

สำรวจความกังวลชาวต่างชาติ

ด้วยไอไพรซ์เป็นบริษัทที่มีพนักงานชาวต่างชาติจำนวนมาก จึงได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อให้พนักงานจำนวน 20 คน 20 สัญชาติสำรวจความกังวลของผู้คนในประเทศตนเองที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ช่วงเดือนมี..โดยมีข้อสรุปดังนี้

มีคนมากถึง 70% ที่คิดว่าคนป่วยเท่านั้นที่ควรใส่หน้ากากอนามัย และมีเพียง 30% เท่านั้นที่ยอมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโดยที่ตัวเองยังไม่ป่วย 

มีคนล้างมือบ่อยๆ เพียง 10% เท่านั้น ล้างสม่ำเสมอ 20%, ไม่บ่อย 5%, ไม่ค่อยบ่อย 45% และบางครั้งที่ 20%

แม้การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 จะลุกลามไปทั่วโลก แต่ยังมีประชาชนบางประเทศที่ไม่ค่อยกังวลถึงความร้ายแรงนี้ 55%, กังวลเล็กน้อย 15%, กังวล 20%, และกังวลมากเพียง 10% เท่านั้น เห็นได้ชัดเลยว่า ชาวต่างชาติไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองกันเท่าใดนัก

ด้านการเตรียมความพร้อมในเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภคนั้น ผู้คนในแต่ละประเทศให้ความสำคัญค่อนข้างมาก กว่า 30% ที่ตุนสินค้าก่อนรัฐบาลประกาศ Lockdown และกว่า 40% กักตุนตามปกติ เพราะซูเปอร์มาร์เก็ตยังคงเปิดอยู่ตลอด มีเพียง 15% ที่ไม่ค่อยกักตุน อีก 5% ไม่กักตุน และ 10% เลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แทน

แม้บางประเทศจะไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของไวรัส แต่เพราะผู้นำในหลายๆ ประเทศเริ่มที่จะเปลี่ยนการทักทายจากการสัมผัสร่างกายกันเป็นการไหว้ หรือกล่าวทักทายเฉยๆ ทำให้ประชาชนหลายประเทศปฏิบัติตาม นำมาสู่ผลการสำรวจที่มีเพียง 10% เท่านั้นที่ยังเลือกทักทายโดยการแตะเนื้อต้องตัว โดยที่อีก 90% เริ่มที่จะเปลี่ยนแล้ว 

จากการรณรงค์ที่เราเห็นในหลายประเทศในเอเชีย ที่หากพบว่าตัวเองเริ่มมีไข้ให้รีบพบแพทย์ทันที แต่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่กว่า 85% ยังเลือกที่จะทำตัวปกติก่อนสัก 1-2 วัน ก่อนไปพบแพทย์เหมือนสถานการณ์ปกติ ในขณะที่อีกกว่า 15% เลือกที่จะรักษาตัวเอง และกักตัวเอง 14 วัน